สถาบันพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program: NTP) ทุ่มเงินกว่า $25 ล้าน หรือประมาณ 885 ล้านบาท กับเวลา 2 ปีครึ่งในการค้นหาว่าสัญญาณมือถือมีผลกระทบต่อเซลล์มะเร็งหรือไม่ ซึ่งผลสรุปที่ได้คือ “สัญญาณมือถือสามารถก่อให้เกิดมะเร็งแก่มนุษย์ได้จริง ซึ่งยืนยันผลโดยการศึกษาจากหนูทดลอง”
ทดสอบกับหนูทดลองวันละ 9 ชั่วโมง
NTP ร่วมมือกับสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างคลื่นสัญญาณวิทยุที่อุปกรณ์มือถือปล่อยออกมา กับการเติบโตของเซลล์มะเร็งในหนูทดลอง โดยทีมวิจัยทดลองกับหนูที่ตั้งท้องซึ่งอาศัยไว้ในห้องที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ หลังจากที่คลอดลูกแล้ว คลื่นสัญญาณวิทยุจากมือถือจะถูกปล่อยไปยังหนูเหล่านั้นทุกวัน วันละ 9 ชั่วโมง (เปิดปิดสลับกันทุกๆ 10 นาที เป็นเวลา 18 ชั่วโมง)
พบมีแนวโน้มเกิดเนื้องอกสูง
นักวิจัยพบว่า หนูตัวผู้ที่ถูกปล่อยคลื่นสัญญาณวิทยุใส่นานๆ มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดเนื้องอกในสมองประเภท Glioma และเนื้องอกหัวใจประเภท Schwannoma ซึ่งหาได้ยากและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ที่น่าตกใจคือ ในรายงานกลับระบุว่า หนูตัวเมียไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ต่อคลื่นสัญญาณวิทยุ
จากการทดลองนี้ สรุปได้ว่า เมื่อหนูทดลองได้รับคลื่นสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์มือถือเป็นจำนวนเทียบเท่ากับที่มนุษย์ได้รับ ความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งบนหนูทดลองจะเพิ่มสูงขึ้น โดยสำหรับในมนุษย์ ถ้าใช้งานเป็นระยะเวลาครึ่งชั่วโมงต่อวัน ต่อเนื่องทุกวันนาน 10 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งสูงขึ้น (Credit: https://www.facebook.com/techtalkthai/posts/1292091417487502?comment_id=1292308824132428) ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายงานการวิจัยฉบับเต็มได้ที่ http://biorxiv.org/content/biorxiv/early/2016/05/26/055699.full.pdf