AWS เปิดตัว Amazon MemoryDB for Redis แบบ GA

AWS เปิดตัว Amazon MemoryDB for Redis บริการ In-memory Database แบบ General Availability แล้ว

Amazon MemoryDB for Redis เป็นบริการ In-memory database ที่เน้นประสิทธิภาพการทำงานระดับสูง ออกแบบมาเพื่อแอพพลิเคชันแบบ Microservices โดย Amazon MemoryDB นั้นรองรับการเชื่อมต่อรูปแบบเดียวกับ Redis ซึ่งเป็น Open Source Datastore ที่ได้รับความนิยม ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน Data Structure, API หรือคำสั่งต่างๆ หากมีการใช้งาน Redis อยู่แล้ว โดยระบบจะทำการจัดเก็บฐานข้อมูลบนหน่วยความจำ สามารถสร้างและขยาย Cluster สูงสุด 500 nodes เก็บข้อมูลสูงสุด 100TB ทำให้มีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ระดับ Microsecond และการเขียนข้อมูลระดับ Millisecond นอกจากนี้ยังรองรับการกระจาย Transaction log แบบ Multiple Availability Zones (AZ) เพื่อช่วยในการทำ Failover, Database Recovery และ Node Restart อีกด้วย

ปัจจุบัน Amazon MemoryDB ได้เปิดให้งานแล้วในบาง Region ได้แก่ US East (N. Virginia), EU (Ireland), Asia Pacific (Mumbai) และ South America (Sao Paulo)โดยมีแผนจะเปิดให้บริการใน Region อื่นๆเพิ่มในอนาคต

ที่มา: https://aws.amazon.com/about-aws/whats-new/2021/08/amazon-memorydb-redis/


About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนมือใหม่ผู้หลงใหลใน Enterprise IT และซูชิ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน