
เมื่อไม่นานมานี้ Microsoft ได้ปล่อยบริการใหม่ที่ชื่อ Windows 365 Cloud PC ออกมา ซึ่งประกาศจุดยืนในเรื่องของความง่ายในการใช้งาน อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ Microsoft ก็มีบริการ Windows Virtual Desktop ที่ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น Azure Virtual Desktop ดังนั้นองค์กรหลายแห่งจึงอาจสับสนระหว่าง 2 บริการดังกล่าว ทาง AIS Business ซึ่งพันธมิตรรายใหญ่และให้บริการโซลูชันทางธุรกิจของ Microsoft จึงได้จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อคลายข้อสงสัยถึงแนวคิดและไอเดียของการใช้งานบริการทั้งสองมาให้ผู้สนใจได้รู้กันชัดๆไปเลย

ภายหลังจากการถือกำเนิดขึ้นของโลก Virtualization ได้ก่อให้เกิดโซลูชันที่เรียกว่าเป็น Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ซึ่งในห้วงเวลานั้น Vendor ต่างๆได้ชี้นำให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะทำให้การใช้งานในองค์กรเป็นไปตามมาตรฐานและข้อบังคับได้ แต่ความจริงแล้วต้นทุนของโซลูชันนี้เมื่อเทียบกับการซื้อเครื่อง อาจไม่ได้ถูกกว่าการใช้เครื่องจริง เพียงแต่แลกมาด้วยความมั่นคงปลอดภัยที่สามารถควบคุมการตั้งค่าของเครื่องได้จากศูนย์กลาง ภายหลังเมื่อ Cloud ถือกำเนิดขึ้น Microsoft Azure มองเห็นว่าจะดีกว่าไหมที่จะย้ายระบบ On-premise VDI มารันบนโครงสร้างพื้นฐานของ Azure ที่วางแผนค่าใช้จ่ายได้ ยืดหยุ่นกว่า เริ่มต้นได้รวดเร็วกว่าด้วยข้อดีมากมายของ Cloud ที่เราเข้าใจกันดี ท้ายที่สุดจึงเป็นที่มาของ Windows Virtual Desktop หรือ Azure Virtual Desktop ในปัจจุบัน
ในขณะที่โลกการใช้งานขององค์กรเปลี่ยนจากโรคระบาดโควิดเกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่กลับกลายเป็นว่าทุกภาคส่วน หน่วยงาน และทีมงานต้องริเริ่มกับการทำงานแบบ Hybrid อย่างฉับพลัน และรูปแบบการทำงานแบบใหม่นี้คงจะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้เอง Microsoft จึงได้นำเสนอบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ในลักษณะของ Personal Desktop ของพนักงาน ที่สามารถเข้าถึงจากที่ใดก็ได้ ให้ประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับมีเครื่องส่วนตัวของตนในองค์กรอย่างที่แล้วมา แต่สอดคล้องกับบริบทการทำงานในรูปแบบ Hybrid โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรขนาดเล็กถึงกลางที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ความต้องการใช้แอปพลิเคชันไม่ได้ซับซ้อน หรือแม้กระทั่งอาจไม่มีทีมงาน IT และนี่เองคือไอเดียตั้งต้นของ Windows 365 Cloud PC ที่ออกมาเมื่อไม่กี่เดือนก่อน
Windows 365 Cloud PC vs Azure Virtual Desktop
อันที่จริงแล้ว Windows 365 Cloud PC และ Azure Virtual Desktop นั้นอาศัยเทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกันที่อยู่บน Microsoft Azure ซึ่งทั้งสองได้เข้ามาตอบโจทย์เรื่อง Hybrid Workforce ทั้งคู่ เพราะไม่ว่าผู้ใช้งานจะใช้เครื่องด้วยแพลตฟอร์มอะไรขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งานเครื่องบน Cloud ได้ ทำลายข้อจำกัดของสถานที่การทำงาน ให้สอดคล้องกับการทำงานยุคใหม่อย่างแท้จริง โดยทั้งสองบริการผู้ใช้งานจะสามารถเลือกระหว่าง Windows 10 และ Windows 11 และแน่นอนว่าด้วยข้อดีของบริการ Cloud ผู้ใช้งานจะสามารถปรับเพิ่ม/ลด การใช้งานได้ตามความต้องการ วางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมตามการใช้งาน อีกทั้งยังบริหารจัดการควบคุมได้จากศูนย์กลาง

อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเดียวกัน แต่วิธีการใช้งานและกลุ่มผู้ใช้งานนั้นค่อนข้างต่างกันอย่างชัดเจน โดยแนวคิดของ Windows 365 Cloud PC จะมองไปที่การใช้งานเครื่องส่วนตัวซึ่งมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ Business และ Enterprise ความแตกต่างก็คือ Enterprise จะเหมาะกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่กว่า ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันกับโซลูชันระดับองค์กรของ Microsoft เช่น Microsoft Defender, Endpoint Manager และอื่นๆ รวมถึงมีสเป็คให้เลือกหลากหลายกว่า ภายในอนาคตอาจจะรองรับการทำงานที่ต้องการพลังประมวลผลสูง เช่น งานที่ต้องการการ์ดจอมาช่วยประมวลผลด้านกราฟฟิค หรืออื่นๆ
มุมมองของ Windows 365 Cloud PC คือการที่ทีมงาน Microsoft ได้จัดการคอนฟิคสิ่งต่างๆที่จำเป็นให้แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเริ่มต้นการทำงานได้อย่างรวดเร็ว การสร้างเครื่องตั้งพร้อมใช้งานได้ภายในเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง พร้อมกับมีการอัปเดตเวอร์ชันและดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นให้ รวมถึงยังครอบคลุมกับความต้องการด้าน Security พื้นฐานและหากท่านมี License เดิมของ Windows Professional หรือสูงกว่าก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง Windows 365 Cloud PC จึงเหมาะสมกับองค์กรขนาดเล็กที่มีความต้องการใช้งานทั่วไปมากกว่า เช่น งานเอกสาร อีเมลหรือแอปพลิเคชันทั่วๆไป

Azure Virtual Desktop เหมาะกับรูปแบบการทำงานในลักษณะขององค์กร เช่น แอปพลิเคชัน SAP หรืออื่นๆที่ต้องการทำ Remote Application เพื่อแชร์การทำงาน หรือการปรับแต่ง Customize Windows Image ให้เหมาะสมและตามกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ รวมถึงการบังคับใช้ Policy ให้ตรงกับ Compliance ของธุรกิจ นอกจากนี้ผู้ใช้งาน Virtual Desktop ค่ายอื่นเช่น Citrix หรือ VMware Horizon ก็สามารถนำ License มา Implement บน Microsoft Azure ได้

มุมมองของ Azure Virtual Desktop คือการบริหารจัดการกลุ่มของผู้ใช้งาน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วได้ภาพเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ใน Call Center ที่ไม่ได้ต้องการเครื่องส่วนตัวแต่ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน มี Security สูง ด้วยเหตุนี้เอง Azure Virtual Desktop จึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่มัผู้ใช้งานจำนวนไม่มาก เพราะลงทุนสูงกว่าและต้องมีทีมงาน IT เข้ามาบริหารจัดการ
สรุป

บริการทั้งสองสามารถนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์การทำงานของ Hybrid Workforce ได้ทั้งคู่ เพียงแต่ว่า Cloud PC เปรียบเสมือนเครื่องส่วนตัวมากกว่าเหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก ที่มีความต้องการไม่สูงนักไม่ต้องตั้งค่ามากมาย แม้กระทั่งไม่มีไอทีเลยก็เริ่มต้นได้ ในขณะที่ Azure Virtual Desktop จะเหมาะสมกับองค์กรที่มีไอทีดูแลระบบเอง มีการควบคุมสูง เช่น ข้อจำกัดด้าน Compliance ต้องการทำรีโมตแอปพลิเคชันหรือปรับแต่งค่าต่างๆได้อิสระ แต่ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมีทักษะ ทั้งนี้วิธีการคิดค่าบริการทั้งสองยังต่างกันด้วย โดย Cloud PC ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่อง ในขณะที่ Virtual Desktop ขึ้นกับปริมาณทรัพยากรทั้งหมดที่ต้องการ
และแม้ว่า Windows 365 Cloud PC และ Azure Virtual Desktop จะมีการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานคนละจุดประสงค์ แต่ในทางปฏิบัตินั้นองค์กรขนาดใหญ่อาจจะมีความต้องการตรงกับทั้งสองรูปแบบ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับองค์กรที่สนใจบริการ Windows 365 จาก AIS Business ท่านสามารถเลือกแพ็กเกจที่ตอบโจทย์ในการใช้งานทั้งในส่วน Windows 365 Cloud PC, Microsoft 365 รวมถึงบริการ Azure Virtual Desktop หรือ Cloud VDI มาเพื่อตอบสนองความต้องการในการทำงานรูปแบบใหม่ในแบบ Hybrid ที่มาพร้อมกับบริการที่ช่วยแนะนำและให้คำปรึกษาในการใช้งานที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการเลือก License การออกแบบโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย และบริการหลังการขายโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคนไทย เพื่อให้ท่านพร้อมทำงานได้ทันที ทั้งนี้ AIS คือผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่มีระบบเชื่อมต่อโดยตรงกับศูนย์ข้อมูลของไมโครซอฟท์เพื่อการให้บริการคลาวด์ จึงทำให้เครือข่ายของเอไอเอสมอบทั้งความคุ้มค่าสูงสุดและประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยมที่สุดให้กับลูกค้า โดยสามารถติดต่อทีมงาน AIS Business เพื่อเข้าไปประเมินความต้องการและออกแบบโซลูชันได้ที่ เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/solution/Windows-365.html หรืออีเมล businesscloud@ais.co.th รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารหรือบริการที่น่าสนใจจาก AIS Business ได้ทาง Facebook AIS Business Digital Enabler