Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

AIS 5G Business is NOW: อนาคตของ 5G และ IoT ในการพัฒนาองค์กรดิจิทัล

องค์กรส่วนใหญ่ต่างทราบถึงความจำเป็นของการทำ Digital Transformation (DX) ด้วยเหตุนี้เองหลายบริษัทจากธุรกิจดั้งเดิมจึงก้าวเข้าสู่เข้าสู่ถนนสายเทคโนโลยี ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อธุรกิจทั้งสิ้น ซึ่ง 5G เองกำลังจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว มาดูกันว่าแนวโน้มของ 5G และ IoT จะรวมพลังเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในธุรกิจได้อย่างไร

Digital Transformation เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

คุณนิติ เมฆหมอก  นายกสมาคมไทยไอโอที

สมาคม Thai IoT เกิดขึ้นจากพันธกิจที่ต้องการสร้างให้เกิดความตื่นตัวทางด้าน IoT ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารให้ภาคธุรกิจเข้าใจถึงประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างผู้รู้จากการส่งต่อองค์ความรู้ในด้าน IoT รวมถึงจับมือกับพันธมิตรต่างๆทั้ง ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อผลักดันให้เกิดการนำใช้ IoT ในภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นจริง ท้ายที่สุดแล้วทางสมาคมมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากสถานการณ์การถูก Disrupt จากเทคโนโลยี โดยในวันนี้คุณนิติ เมฆหมอก  นายกสมาคมไทยไอโอที มาเป็นผู้บรรยายในหัวข้อนี้ พร้อมกับกล่าวถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ท่ามกลางการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน เชื่อแน่ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ต่างไขว่คว้าหนทางที่จะสามารถขยายอาณาจักร หรือหาหนทางรอดในอนาคต อย่างไรก็ดีทุกจุดประสงค์ต่างเริ่มต้นด้วยทางเดียวกัน นั่นก็การเปิดธุรกิจสู่โลกดิจิทัลหรือเปลี่ยนวิธีการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ให้เป็น Digital Transformation(DX) อย่างแท้จริง ทั้งนี้เองอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันก็คือการวางกลยุทธ์ที่เหมาะกับธุรกิจ ซึ่งต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าท่ามกลางเทคโนโลยีที่หลั่งไหลเข้ามามากมายนั้น มีสิ่งใดที่สามารถนำเข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของธุรกิจได้อย่างตรงจุด

โอกาสในประเทศไทยที่มาพร้อมเทคโนโลยีกำเนิดใหม่

นอกจากการก้าวให้ทันเทคโนโลยีและการนำมาใช้อย่างเหมาะสมแล้ว การมาถึงของ 5G จะยิ่งช่วยให้การเติบโตของ IoT มีแต่จะได้รับผลประโยชน์มากขึ้น โดยคาดว่าในปี 2025 การใช้งาน IoT ในระหว่างธุรกิจสู่ธุรกิจ จะมีมูลค่าแตะถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยกตัวอย่างของผลประโยชน์ที่เกื้อกูลกันเช่น การตรวจสอบผิวเครื่องบินด้วยกล้องระดับ 4K ที่สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นจากการมาถึงของ 5G ทำให้ลดต้นทุนและเวลาได้เป็นอย่างมาก ในส่วนของประเทศไทยเองคุณนิติ ได้เผยถึงโอกาสใหม่ๆที่น่าจับตาดังนี้

1.) ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ยังมีปัญหาอีกมากที่เราสามารถพัฒนา IoT มาช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้

2.) แนวโน้มการใช้งานหรือยอดจองรถ EV กำลังพุ่งสูงขึ้น ดังนั้นในระยะเริ่มต้นใหม่นี้คือโอกาสที่อาจจะมีโซลูชัน IoT ที่สามารถเพิ่มศักยภาพตอบโจทย์ตลาดผู้ใช้รถ EV 

3.) ประเทศไทยมีเมืองที่มีความพร้อมในการเป็นฐานด้าน Workation หลายแห่ง แต่ยังไม่มี Innovation Hub เกิดขึ้นได้กระจายตัวเพียงพอ ดังนั้นยังมีพื้นที่ใหม่ๆ ที่ผู้คิดค้นนวัตกรรมสามารถเปิดตลาดได้อีกมาก

4.) ในมุมของ Bio-Circular Economy หรือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีของเสียน้อยที่สุด ซึ่งของเสียนั้นสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้ ยังมีปัญหาอีกมากที่สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยการประยุกต์ใช้ IoT 

เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาทดแทนการทำงานของมนุษย์ แต่เพียงแค่ช่วยรับและประมวลผลข้อมูล โดยยังจำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ ซึ่ง Journey ของอนาคตสู่ปี 2030 คือการที่คนต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีว่าจะทำอย่างไรให้สร้างประโยชน์ได้สูงสุด” — ดร. เจษฎา ศิวรักษ์ ที่ปรึกษานายกสมาคมไทยไอโอที กล่าว

ดร. เจษฎา ศิวรักษ์ ที่ปรึกษานายกสมาคมไทยไอโอที

ในมุมของ 5G ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีดังนี้

1.) จะช่วยให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น

2.) เกิดความเป็น Mobility ทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัว

3.) สามารถตอบสนองได้อย่างไม่มีดีเลย์ เหมาะสมกับการให้บริการบางประเภทที่มีความสำคัญ เช่น การทำงานที่เกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น

4.) ทำงานได้จากทางไกล ตอบโจทย์การทำงานจากทุกหนแห่ง

5.) แอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากเรื่องความเร็วและความหน่วงต่ำ

6.) สร้างความเป็นอัตโนมัติให้แก่การปฏิบัติงานของธุรกิจและอุตสาหกรรม

7.) เปลี่ยนมุมมองของธุรกิจจาก Productive เป็น Service

8.) สามารถใช้ข้อมูลตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ

และเมื่อประกบภาพของ 5G เข้ากับ IoT ในการนำไปใช้ในสภาพธุรกิจจริงแล้ว จากภาพประกอบเราจะเห็นมุมมองต่างๆ ได้อย่างชัดเจนว่า 5G สามารถยกระดับเรื่องของ

  • Connectivity – จากเดิมโรงงานมักยึดติดอยู่กับการเดินสาย เมื่อใช้ 5G แล้ว จะมีความสะดวกในการย้ายที่อย่างมาก
  • IoT – ทำงานได้ดีขึ้นในการให้กำเนิดข้อมูล และ 5G เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่ระบบ AI เช่นเดียวกันเมื่อ AI ต้องการพลังประมวลผลสูง เทคโนโลยี Cloud และ Edge จึงเข้ามามีบทบาท และอีกครั้งที่ 5G คือหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงระบบทั้งหมดไว้ ในมุมของผู้ให้บริการเครือข่ายเมื่อข้อมูลเกิดขึ้นมหาศาล อาจจะนำไปสู่โครงข่ายที่เชื่อมโยงแบบไร้ขีดจำกัด และอาจต้องสนับสนุนโมเดลในการคิดราคาใหม่ เพื่อสนับสนุนในการใช้งาน IoT
  • Security – นอกจากในมุมมองของภาคธุรกิจที่ว่ามีมาตรฐานต่างๆ แล้วยังมองไปถึงว่าข้อมูลสำคัญของธุรกิจที่เชื่อมต่อในระบบจะรั่วไหลออกไปไหม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นของ Edge จะช่วยสกัดกั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อมูลให้อยู่ในวงจำกัด
  • Digital Twin – การเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และดิจิทัลจะทำให้สามารถปฏิบัติงานแบบรีโมตได้
  • Recognition – ปัจจุบันผู้คนยังมองภาพการปฏิบัติงานจำกัดอยู่แค่การรับรู้ทางสายตาและเสียง แต่ในอนาคตเมื่อ 5G เข้ามาแล้วการเพิ่มระบบสัมผัสด้วย Sensor เพื่อให้ความสมจริงจะเกิดขึ้นได้
  • Sustainability – 5G อาจจะทำให้เกิดแอปพลิเคชันหรือกรณีศึกษาต่างๆเกิดขึ้นได้มากมาย แต่เช่นกันไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้พลังงานมากขึ้นแต่อาจจะมีมุมของการพัฒนาเทคโนโลยีให้กินไฟน้อยลงอยู่ร่วมกันได้กับธรรมชาติ

สุดท้าย ดร.เจษฎา ยังเผยว่า 5G จะสร้างให้เกิดตำแหน่งงานและธุรกิจใหม่ ซึ่งหลายประเทศได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้วและพยายามนำมาใช้อย่างเต็มที่เพื่อสร้างประโยชน์ให้อุตสาหกรรม นอกจากนี้วิธีการเรียนหรือทำงานของผู้คนผสมผสานร่วมกันระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนมากขึ้น แต่เช่นกันธุรกิจก็ยังมองหาวิธีการใช้ข้อมูลอย่างมั่นคงปลอดภัยควบคู่กัน

AIS Business ในฐานผู้ให้บริการ 5G, IoT, Cloud และ Cyber Security มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรในเทคโนโลยีต่างๆ มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาแก่ภาคธุรกิจขององค์กรที่สนใจโซลูชัน หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของคุณ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ business@ais.co.th

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว