การมีกลยุทธ์ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะแนวปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรมีกรอบที่จะเป็นไป ให้อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงของกระแสเทคโนโลยี ในมุมของ Software Engineering การ์ทเนอร์ได้แนะนำ 6 กลยุทธ์ไว้ดังนี้
จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่าการ์ทเนอร์มีการแบ่งแนวทางเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย การส่งเสริมทีมนักพัฒนา AI และ การช่วยเพิ่มขนาดของการพัฒนาซอฟต์แวร์
1.) InnerSource
เป็นการนำแนวคิด วิธีการ และวัฒนธรรมของการทำงานแบบโอเพ่นซอร์ส มาปฏิบัติกับการพัฒนาโปรเจ็คแบบปิด (Proprietary) ไอเดียสำคัญก็คือการเปิดกว้างให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและช่วยในการพัฒนาโปรเจ็คได้ ตัดวงจรแบบตัวใครตัวมัน ลดการทำงานซ้ำซ้อน ด้วยการนำโซลูชันเดิมมาแก้ปัญหาที่คล้ายกัน ไม่ต้องสร้างโซลูชันใหม่โดยไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากขึ้น (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ GitLab)
2.) Developer Experience
ประสบการณ์ที่การ์เนอร์หมายถึงไม่ใช่แค่การมีเครื่องมือที่ดี แต่นับรวมการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดในการทำงานเช่น แพลตฟอร์ม กระบวนการ ผู้คนที่ทำงานร่วมกัน ตลอดจนเหลือเวลาที่จะไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สิ่งที่มีคุณค่า ที่สำคัญคืออิสระที่กล้าทดลองได้โดยไม่ต้องกลัวความล้มเหลว
3.) AI-Augmented Software Engineering Teams
นำเทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การสร้างและนำส่งแอปพลิเคชัน ช่วยลดปริมาณงานต่างๆ
4.) AI-Empowered Applications
เพิ่มศักยภาพของแอปพลิเคชันด้วยความสามารถของ AI และข้อมูลที่องค์กรมีเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจ ทั้งยังสร้างการปฏิบัติโดยอัตโนมัติได้
5.) Platform Engineering
เป็นระเบียบในการสร้างและปฏิบัติการแพลตฟอร์มนักพัฒนาภายในแบบที่ดูแลตนเองเพื่อนำส่งซอฟต์แวร์และบริหารจัดการวงจรการทำงานได้ ดังนั้นการค้นหา จัดการ การสร้างความมั่นคงปลอดภัยก็ยังเป็นไปได้แม้ระบบไอทีมันจะกระจัดกระจายกันอย่างซับซ้อน
6.) Digital Immune System
การสร้างระบบให้มีความคงทนซึ่งต้องเชื่อมต่อระหว่าง Observability, Site Reliability Engineering, Software Development และ Software Supply Chain Security เข้าร่วมกันให้มันใจได้ว่าแอปพลิเคชันจะทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ระบบดิจิทัลของธุรกิจยังทำงานต่อได้แม้จะเกิดเหตุขึ้นก็ตาม