รู้จัก 6 โซลูชัน Smart Manufacturing จาก Huawei ที่จะช่วยให้โรงงานก้าวสู่การเป็น Manufaturing 4.0

หากขึ้นชื่อว่าเป็นธุรกิจด้านการผลิตและโรงงานแล้ว ประเทศจีนก็ถือเป็นหนึ่งในผู้นำในอุตสาหกรรมที่ทั่วโลกต้องจับตามอง และแน่นอนว่าเมื่อเทรนด์ทางด้าน Manufaturing 4.0 ได้ก้าวเข้ามาสู่ตลาด การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบรับต่อการผลิตแห่งอนาคตเองก็ย่อมต้องเกิดขึ้นตามมา ในบทความนี้จะแนะนำ 6 โซลูชันทางด้าน Smart Manufacturing จาก Huawei ให้ทุกท่านได้รู้จักเป็นแนวทางการการวางแผนสำหรับธุรกิจการผลิตและโรงงานกันดังนี้ครับ

 

Credit: Huawei

 

1. E-Commerce บน Public Cloud: เชื่อมโยงผู้ผลิตเข้ากับผู้บริโภคโดยตรง เปลี่ยนการผลิตให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันธุรกิจการผลิตและโรงงานนั้นจะรับบทบาทเพียงแค่การผลิตและจัดจำหน่ายอย่างเดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว แต่การสร้างช่องทางการขายทั้งแบบ Online และ Offline ควบคู่กันไปนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจการผลิตอยู่รอดไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าธุรกิจยานยนตร์ที่การเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าให้ได้นั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดนใจลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าผ่านทางระบบ Internet of Things (IoT) แล้ว การมีช่องทางหน้าร้าน E-Commerce นั้นก็ถือเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ได้มาทั้งข้อมูลความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าพร้อมๆ กับการเพิ่มยอดขาย

 

Credit: Huawei

 

Huawei นั้นมี Partner ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี E-Commerce อยู่มากมาย อีกทั้งบนบริการ Cloud ของ Huawei เองก็ยังมีระบบ Big Data Analytics ที่มีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าด้วยการต่อยอดไปสู่การทำ Machine Learning และ Deep Learning ได้ ทำให้การติดตามและทำนายแนวโน้มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้านั้นสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้

ในขณะเดียวกัน ช่องทาง E-Commerce ในแบบออนไลน์นั้นยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตจากเดิมที่ต้องผลิตไปก่อนแล้วค่อยขาย สู่การกลายเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการตามที่ลูกค้าระบุมาได้เลย ในขณะเดียวกันลูกค้าเองก็สามารถเข้าถึงระบบ Simulation ต่างๆ ก่อนที่จะสั่งผลิตสินค้าจริงๆ ขึ้นมาได้ เป็นการพลิกโฉมประสบการณ์การซื้อสินค้าราคาแพงทั้งในฝั่งของผู้ซื้อและผู้ขายในเวลาเดียวกัน

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/industries/manufacturing/individual-requirements/e-commerce

 

2. Collaborative R&D: วิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกันโดยวิศวกรทั่วโลกผ่าน Cloud

โดยทั่วๆ ไปแล้วการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางด้านเครื่องจักรหรือยานยนตร์นั้นมักจะแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย CAD/CAE ซึ่งโดยทั่วไปนั้นมักมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของ Software ที่มีราคาแพง และการต้องลงทุุน Hardware กระจายตามสาขาต่างๆ ทั่วโลกทำให้มีค่าใช้จ่ายโดยรวมสูง
  • ระบบ Simulation ที่ต้องมีทั้งข้อมูลปริมาณมหาศาลไปจนถึงพลังประมวลผลระดับสูง การมี IT Infrastructure เพื่อรองรับระบบดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วโลกย่อทำให้ค่าใช้จ่ายสูงตามมา
  • การทำงานร่วมกันของแผนก R&D ทั่วโลกที่ต้องมีการแบ่งปันข้อมูลการทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือการประสานงานร่วมกันต่างๆ ทำให้องค์กรต้องลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้ค่อนข้างมาก

 

Credit: Huawei

 

Huawei นั้นได้มองประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นโจทย์ที่ต้องการแก้ไขเพื่อให้การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการดูแลรักษาที่คุ้มค่าขึ้น จึงได้นำเทคโนโลยี Cloud เข้ามาตอบโจทย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ดังนี้

  • นำระบบ CAD/CAE ทั้งหมดขึ้นมารวมศูนย์บน Cloud ให้ทำการเข้าถึงได้ผ่าน Virtual Desktop Infrastructure (VDI) จากอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ และประมวลผลบน Cloud เลย ทำให้สามารถลดปริมาณลิขสิทธิ์ลงได้ และใช้พลังประมวลผลได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง
  • นำแนวคิด DevOps เข้ามาจับกับระบบ Simulation ทำให้การทำ Simulation ใดๆ ในธุรกิจกลายเป็นแบบ Self-Service และปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามแนวคิดของ Agile Development อีกทั้งเหล่านักพัฒนาระบบ Simulation เองก็สามารถทำงานได้จากสาขาใดๆ ทั่วโลกเพื่อช่วยเหลือกันและกันได้เสมอ
  • นำเทคโนโลยี IoT เข้ามาช่วยจับข้อมูลทั้งในส่วนของการทดสอบผลิตภัณฑ์และการใช้งานจริงของลูกค้า และส่งข้อมูลขึ้นไปจัดเก็บเอาไว้บน Cloud ทำให้เหล่านักวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องจากบน Cloud โดยตรง ไม่ต้องกังวลกับการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างกันอีกต่อไป
  • มี Template สำเร็จรูปเพื่อให้แผนกและโครงการต่างๆ ภายในธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อเริ่มต้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระงานของแผนก IT ในการตั้งระบบใดๆ ลงไปเป็นอย่างมาก

 

Credit: Huawei

 

Credit: Huawei

 

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/industries/manufacturing/design-simulation/collaborative-rd-cloud

 

3. SAP HANA: วางแผนการผลิตและวิเคราะห์ธุรกิจด้วยข้อมูล

SAP HANA นั้นได้กลายเป็นระบบมาตรฐานสำหรับเหล่าธุรกิจที่ต้องการต่อยอดระบบ ERP ภายในองค์กร สำหรับรองรับการเติบโตด้วยข้อมูลธุรกิจปริมาณมหาศาล และการเชื่อมต่อเข้ากับเทคโนโลยีชั้นนำสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น IoT, AI, Machine Learning หรือแม้แต่ Blockchain ไปแล้ว รวมถึงภาคการผลิตและโรงงานชั้นนำจำนวนมากนั้นต่างก็เลือกใช้ SAP HANA เป็น Platform สำหรับการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรทั้งสิ้น

 

Credit: Huawei

 

Huawei นั้นตอบรับต่อกระแสนี้ด้วยการมีโซลูชันทางด้าน Hardware Platform ที่ได้รับการรับรองจาก SAP เป็นจำนวนมาก สามารถรองรับได้ทั้งการเพิ่มขยายแบบ Scale-up และ Scale-out อีกทั้งยังมีหน่วยความจำสูงสุดได้มากถึง 64TB เลยทีเดียว พร้อมจุดเด่นด้านการเลือกใช้ PCIe SSD พร้อมกับการเชื่อมต่อเครือข่ายด้วย 56Gbps Infiniband ที่ทำให้ Latency โดยรวมของระบบต่ำลงไปถึง 15% และยังมี Bandwidth สูงกว่าระบบอื่นๆ ถึง 20% อีกด้วย

นอกจากระบบ Hardware แล้ว ทาง Huawei เองก็ยังมีบริการ Cloud ที่รองรับได้ทั้ง SAP HANA ONE และ SAP HANA Enterprise Cloud เพื่อเป็นทางเลือกให้เหล่าธุรกิจที่มีหลากหลายสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถเลือกใช้ SAP HANA บน Cloud และเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกโดยไม่ต้องกังวลเรื่อง Dowtime อีกต่อไป

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/business-needs/data-center/sap-hana

 

4. Wireless Smart Factory: เชื่อมต่อทุกเครื่องจักรเข้ากับระบบ IT และ Cloud ก้าวสู่การผลิตแบบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์

ในส่วนของสายการผลิตของโรงงานนั้น หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเร่งปรับปรุงในปัจจุบันนี้ก็คือระบบเครือข่ายไร้สายเพื่อใช้เชื่อมต่อเครื่องจักร, อุปกรณ์ IoT และระบบ IT ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เตรียมรับมือการมาของยุคการผลิตด้วยเครื่องจักรและหุ่นยนต์ทั้งหมดที่สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำด้วยข้อมูลและ AI โดยที่มนุษย์นั้นทำการควบคุมภาพรวมของระบบจากระยะไกลเท่านั้น

 

Credit: Huawei

 

แน่นอนว่าเพื่อให้การปรับเปลี่ยนสายการผลิตและการดูแลรักษาเครื่องจักร์หรือหุ่นยนต์เป็นไปได้อย่างง่ายดายที่สุด การเลือกใช้เครือข่ายไร้สายนั้นก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีทีเดียว เพราะทำให้การปรับเปลี่ยน Layout ภายในโรงงานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หากจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และยังรองรับการเพิ่มอุปกรณ์ IoT ใหม่ๆ เข้าไปในสายการผลิตได้อย่างคล่องตัวต่อเนื่อง เพื่อใช้ตรวจจับสัญญาณหรือข้อมูลใดๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการผลิตได้

Huawei นั้นสามารถนำเสนอได้ทั้งระบบเครือข่าย eLTE ในแบบ Broadband และ Narrowband, มีอุปกรณ์ eLTE-U Module สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องจักร, หุ่นยนต์ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสายการผลิตได้แบบ Real-time ด้วยระยะที่ไกลกว่า Wi-Fi 2-3 เท่า, มีระบบ eLTE-IoT ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากได้ และใช้พลังงานในการเชื่อมต่อต่ำ สำหรับสร้างเครือข่ายสำหรับ IoT Sensor ให้ทำการส่งข้อมูลการวัดค่าต่างๆ มาได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ควบคุมสายการผลิตมีข้อมูลสำหรับใช้ในการ Optimize การผลิตได้มากยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/industries/manufacturing/digital-production/wireless-smart-factory

 

5. Predictive Maintenance: ซื้อใจลูกค้าด้วยบริการชั้นเยี่ยม ซ่อมบำรุงล่วงหน้าด้วย Machine Learning

Predictive Maintenance หรือการทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในเวลาอันใกล้ และทำให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินการป้องกันปัญหาเหล่านั้นก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริงได้นั้นถือเป็นแนวโน้มหลักอันหนึ่งในวงการการผลิต ที่จะถูกนำไปใช้ทั้งในการดูแลรักษาเครื่องจักรและหุ่นยนต์ในสายการผลิต รวมถึงการนำไปเสนอลูกค้าเป็นบริการพ่วงไปกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการดูแลลูกค้าได้อย่างดีที่สุดในระดับพรีเมี่ยม

 

Credit: Huawei

 

โซลูชัน Predictive Maintenance นี้จะต้องอาศัยการติดตั้งอุปกรณ์ IoT เข้าไปกับเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ในสายการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบไปสู่ลูกค้า สำหรับใช้ส่งข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ มายังระบบ Cloud อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ผลิตนั้นรับทราบถึงข้อมูลการทำงานและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์กลุ่มยานยนตร์ที่การทำงานผิดปกติใดๆ อาจส่งผลร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของลูกค้าได้

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/industries/manufacturing/after-sales-services/predictive-maintenance

 

6. Internet of Vehicles: พลิกโฉมธุรกิจยานยนตร์ เชื่อมต่อยานพาหนะเข้ากับระบบ Cloud

ในปัจจุบัน เมื่อเหล่าผู้ผลิตยานยนตร์ต้องผันตัวมาเป็นผู้ให้บริการด้านยานยนตร์หรือ Car Service Provider แทน ประเด็นด้านระบบเครือข่ายสำหรับการเชื่อมต่อยานยนตร์เข้ากับ Internet ให้ได้อยู่ตลอดนั้นก็กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมนี้ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และข้อมูลจากยานยนตร์เหล่านี้เองก็จะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ในวงการยานยนตร์ให้เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Intelligent Driving, Preventive Maintenance, Fleet Management, Used Car Identification และบริการอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะที่ยานยนตร์เองก็ต้องมีความสามารถใหม่ๆ และความชาญฉลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแข่งขันให้อยู่รอดได้ในอุตสาหกรรมนี้

 

Credit: Huawei

 

โซลูชันด้านระบบ Internet of Vehicles หรือ IoV ของ Huawei นั้นครอบคลุมตั้งแต่ระบบ IoT Platform ที่มีความสามารถด้าน Security, การบริหารจัดการอุปกรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบถ้วน, มีระบบ Cloud เพื่อต่อยอดระบบต่างๆ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์และตอบสนองด้วยข้อมูลที่ได้รับมาจากยานยนตร์แต่ละคัน ไปจนถึงระบบ Agent ที่จะช่วยให้ผู้ผลิตยานยนตร์สามารถนำไปใช้พัฒนาระบบ Infotainment บนยานยนตร์ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังรองรับการส่งข้อมูลจากยานยนตร์ไปสู่ระบบ Smart Transportation เพื่อให้ระบบไฟจราจรทำการปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อมูลและสภาพรถยนต์บนท้องถนนจริงได้

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/industries/manufacturing/after-sales-services/vehicle-networking

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

 

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน IoT และ 5G Networking จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Website : e.huawei.com

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

รีวิว : Acer Swift Go 14 แล็ปท็อปเพื่อธุรกิจที่ความคล่องตัว ขับเคลื่อนด้วย Intel Core i7 เจนเนอเรชัน 13 รุ่นล่าสุด

Acer Swift Go 14 จะเข้ามาเป็นคู่หูที่รู้ใจให้การทำงานในรูปแบบ Working from Anywhere มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ด้วยความบางเพียง 14.9 มม. มีน้ำหนักเบาถึง 1.25 กก. …

เอ็นทีทีเดต้า (ประเทศไทย) ผนึก 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ปั้นคนไอทีทักษะ COBOL ป้อนตลาดขาดแคลน ค่าตอบแทนสูง อนาคตไกล [Guest Post]

เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) ภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด ผู้นำด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการไอทีชั้นนำระดับโลก เดินหน้าโครงการ “NTT DATA Critical Resource Preparation” ปั้นบุคลากรไอทีให้มีทักษะ …