เตรียม Work from Home อย่างมั่นใจ ด้วยบริการ Desktop-as-a-Service จาก NTT

จากผลกระทบ Covid-19 ส่งผลให้องค์กรหลายภาคส่วนเริ่มดำเนินการใช้นโยบาย ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และมีแนวโน้มว่าการทำงานลักษณะดังกล่าวจะยังคงต้องดำเนินต่อไปอีกระยะ แม้ว่าการระบาดของโรคดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงต้องตระหนักถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) รวมทั้งปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยโดยรวมของระบบ เพื่อตอบโจทย์การทำงานรูปแบบใหม่ อีกทั้งจะต้องสอดคล้องกับ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล NTT ได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงได้พัฒนา DaaS (Desktop-as-a-Service) เพื่อรองรับการทำงานไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก ทั้งยังมีความมั่นคงปลอดภัย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อลดภาระทางด้านการลงทุน และลดความซับซ้อนในการบริการจัดการระบบ IT ขององค์กร

Credit: ShutterStock.com

DaaS คืออะไร? ต่างจาก VDI อย่างไร?

Desktop-as-a-Service หรือ DaaS นั้น จริงๆ แล้วก็คือบริการของระบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) บน Cloud นั่นเอง ซึ่งถึงแม้จะมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ต่างกัน แต่เรามาทำความรู้จักกับ VDI กันก่อนที่จะเข้าสู่ DaaS ก็จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เดิมทีการใช้ PC หรือ Notebook ในการทำงานนั้นถึงแม้จะเป็นทางเลือกที่เราคุ้นชินกันดี แต่ก็เป็นทางเลือกที่มีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ เมื่ออุปกรณ์เกิดความเสียหายก็ต้องมีการซ่อมแซม ตั้งแต่การติดตั้ง Software ใหม่ การถ่ายโอนข้อมูล ที่อาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลสูญหายได้ ในขณะที่การอัปเกรดระบบปฏิบัติการหรือ Software ในแต่ละเครื่องเองก็อาจมีผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน บางเครื่องทำได้สำเร็จ บางเครื่องไม่สามารถทำได้ ทั้งหมดนี้ทำให้ขั้นตอนในการดูแลรักษาอุปกรณ์ PC และ Notebook มีความยุ่งยากมาก

รวมไปถึง หากต้องมีการทำงานจากภายนอกองค์กร การทำงานจากอุปกรณ์เหล่านี้ก็อาจมีความเสี่ยงได้จากหลายสาเหต ทั้งการที่ Software ไม่ได้รับการอัปเดตจนมีช่องโหว่ หรือแม้แต่การทำอุปกรณ์สูญหายและทำให้ข้อมูลสำคัญขององค์กรรั่วไหลออกไปสู่ภายนอก

ด้วยเหตุเหล่านี้ VDI จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเติมเต็มช่องโหว่เหล่านี้ หลักการคือ เปลี่ยนจากอุปกรณ์ Desktop หรือ Notebook ให้กลายเป็น Virtual Desktop ที่ติดตั้งอยู่ภายใน Data Center พร้อมเทคโนโลยีในการบริหารจัดการแบบศูนย์กลางเพื่อทำการติดตั้ง Software หรืออัปเดตระบบทั้งหมดได้ และเปลี่ยนจากการดูแลอุปกรณ์หลายๆ เครื่อง มาเป็นการดูแล Image ของ Virtual Desktop ในแต่ละแผนกแทน โดยผู้ใช้งานก็สามารถทำการ Remote เชื่อมต่อเข้ามาใช้ Virtual Desktop ของตนเองจากอุปกรณ์สื่อสารใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทั้งยังได้รับประสบการณ์ในการทำงานที่เหมือนเดิมอยู่เสมอ

ไม่เพียงแต่การบริหารจัดการและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเท่านั้น VDI ยังคงช่วยให้การเพิ่มลดหรืออัปเกรด Virtual Desktop ง่ายดายยิ่งขึ้นด้วย หากแผนกใดมีพนักงานเพิ่ม ผู้ดูแลระบบก็เพียงแค่ Clone Virtual Desktop เพิ่มเท่านั้น และหากต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผู้ดูแลระบบก็เพียงแค่จัดสรรทรัพยากรให้ใหม่เท่านั้น ไม่ต้องลำบากทำเรื่องจัดซื้อแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี การลงทุนในระบบ VDI นั้นถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมีระบบเบื้องหลังที่มีความซับซ้อนทำให้การดูแลรักษานั้นต้องใช้ทักษะเฉพาะ ดังนั้นบริการ DaaS จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งาน VDI ได้อย่างสะดวกสบายผ่านบริการ Cloud รวมถึงยังมีการคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนเพื่อไม่ให้ธุรกิจองค์กรต้องลงทุนสูงทั้งในด้านของ Hardware และ Software ตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่ง NTT ก็ได้ให้บริการ DaaS นี้แก่ธุรกิจองค์กร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนด้านอุปกรณ์สำหรับผู้ทำงาน

การใช้ NTT DaaS เพื่อรับมือกับการทำงานแบบ Remote

ที่ผ่านมาใน NTT เองนั้นได้ให้บริการ DaaS เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายในรูปแบบการทำงานของธุรกิจอยู่แล้ว เช่น

Credit: NTT
  • การใช้ DaaS เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล เพราะข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่บน Cloud ของ NTT และผู้ใช้งานเพียงแค่ทำการ Remote เข้าไปเท่านั้น
  • การใช้ DaaS แทน PC และ Notebook ในกรณีที่ธุรกิจมีหลายสาขา ทำให้การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยทำได้จากศูนย์กลาง และไม่ต้องกังวลว่าอุปกรณ์ที่พนักงานนำมาใช้ทำงานจะทำให้เกิดช่องโหว่ที่โจมตีไปยังระบบที่ใช้ทำงานได้
  • การใช้ DaaS เพื่อแก้ปัญหาด้านการทำ Inventory Management และ Compliance เปลี่ยนให้พนักงานทุกคนทำงานจากอุปกรณ์ส่วนตัว (BYOD) แทน ลดการจัดการอุปกรณ์ที่ซ้ำซ้อนและฟุ่มเฟือย รวมถึงลดค่าใช้จ่ายด้านการควบคุมไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลจากอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน

NTT มีความมั่นใจในการให้บริการ DaaS แก่ธุรกิจองค์กรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับมือกับ COVID-19 อย่างในปัจจุบันนี้

มั่นคง ปลอดภัย บริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง

ในมุมของผู้ดูแลระบบ IT การใช้ DaaS นั้นจะทำให้การบริหารจัดการ การสนับสนุนการใช้งาน การอัปเดตระบบรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการอัปเกรดระบบปฏิบัติการหรือ Software ครั้งใหญ่นั้นเกิดขึ้นได้จากศูนย์กลางทั้งหมด รวมถึงการจัดการด้านการเชื่อมต่อระหว่าง Virtual Desktop ไปยัง Business Application ที่อาจจะอยู่ภายใน Data Center หรือ Cloud นั้นสามารถทำได้ง่าย และมั่นใจได้ว่าการเชื่อมต่อทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเส้นทางของระบบเครือข่ายที่เราควบคุมได้อย่างครบถ้วน

Credit: NTT

การเลือกใช้ DaaS นี้ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่ต้องพิจารณาใช้โซลูชันอื่นๆ ที่วุ่นวายกว่าอย่าง VPN, Desktop Management, และอื่นๆ ที่หลากหลายในการตอบรับต่อนโยบาย Work from Home นี้ โดยที่ยังคงต้องตอบรับต่อการทำ Compliance และประเด็นทางด้านข้อกฎหมายไปพร้อมๆ กัน แต่สามารถเลือกใช้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นเสริมเข้าไปใน DaaS ได้

เข้าใช้งานได้จากทุกอุปกรณ์ เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน

ในมุมของผู้ใช้งานนั้นก็มีความสะดวกสบาย เพราะการเชื่อมต่อไปยัง DaaS นั้นสามารถทำผ่านทุกอุปกรณ์การสื่อสารไม่ว่าจะเป็น PC หรือ Notebook ของที่ทำงานหรือของที่บ้าน, Tablet หรือแม้แต่ Smartphone ทำให้ในยามฉุกเฉินก็ยังสามารถเชื่อมต่อไปจัดการงานสำคัญได้ และหากมีอุปกรณ์ใดเสียหายก็สามารถนำอุปกรณ์อื่นๆ มาใช้ได้ทันที โดยระบบ DaaS ของ NTT นี้สามารถรองรับได้ทั้งการเชื่อมต่อผ่านทาง Windows, Mac, Linux, iOS, Android และยังเข้าถึงได้ผ่าน Web Browser ที่รองรับ HTML5 รวมทั้งยังสามารถใช้ Thin Client หรือ Zero Client ได้ด้วย

จากการทดสอบของ NTT นั้น พบว่าในการทำงานทั่วไป DaaS นี้ต้องการใช้ Bandwidth จากผู้ใช้งานเพียงแค่ 100 – 200kbps เท่านั้น ดังนั้นด้วยความเร็วของ Internet สำหรับใช้งานทั่วไปในทุกวันนี้ รวมถึง 4G เองก็ถือว่าเหลือเฟือมากในการใช้งาน แต่สำหรับการทำงานที่ต้องมีการใช้งานวิดีโอหรือภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็อาจใช้ Bandwidth มากกว่านี้ได้

เลือกประสิทธิภาพของ DaaS เองได้ รองรับการทำงานที่แตกต่างกันของแต่ละทีม

บริการ DaaS จาก NTT นี้ได้มีการเตรียม Virtual Desktop หลากหลายขนาดเอาไว้ให้เลือกใช้งานได้ในราคาที่ต่างกัน ดังนั้นธุรกิจองค์กรจึงสามารถเลือก Virtual Desktop ที่มีขนาดเหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่าสูงสุดได้

และในอนาคต หากต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือขยายประสิทธิภาพของ Virtual Desktop ก็สามารถทำได้ทันทีในชั่วข้ามคืนโดยไม่ต้องเสียเวลากับขั้นตอนการจัดซื้อหรือการย้ายระบบมากอย่างการใช้ PC หรือ Notebook จริงอย่างในอดีตอีกด้วย

วางใจได้ด้วย VMware Horizon

เบื้องหลังบริการ DaaS ของ NTT นี้ คือการนำโซลูชัน VMware Horizon มาเปิดให้บริการบน VMware Cloud ที่ NTT ให้บริการอยู่ ดังนั้นธุรกิจองค์กรจึงสามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อตัดสินใจเลือกใช้บริการ DaaS จาก NTT แล้ว จะได้เทคโนโลยีชั้นนำจาก VMware ตั้งแต่ระดับของ Hypervisor ขึ้นมาจนถึง VDI อย่างครบถ้วน และมีความสามารถที่เป็นมาตรฐานระดับสากล รองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย สามารถบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ง่าย และควบคุมด้านความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สนใจโซลูชัน DaaS ติดต่อทีมงาน NTT ประเทศไทย ได้โดยตรง

สำหรับผู้ที่สนใจในโซลูชัน DaaS สามารถติดต่อทีมงาน NTT เพื่อขอคำปรึกษาหรือใบเสนอราคาได้ทันทีที่ ap.th.ask@global.ntt หรือ โทร 02-625-0999

เกี่ยวกับ VMware Cloud Provider Program (VCPP)

โครงการ VCPP นี้คือโครงการที่ได้ผสานรวมเอาบริการ VMware Software-as-a-Service เข้ากับเหล่าผู้ให้ริการ VMware Service Provider Partners ทั่วโลก เพื่อให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานบริการ Cloud ที่มีเทคโนโลยีของ VMware เป็นเบื้องหลังได้ผ่านทางผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน

ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ให้บริการด้าน IT ที่ได้เข้าร่วมโครงการ VCPP มากกว่า 20 รายแล้ว ดังนั้นธุรกิจไทยจึงสามารถเลือกใช้งานบริการ Cloud ภายในประเทศที่ให้บริการเทคโนโลยีของ VMware และเชื่อมต่อระบบ Data Center ภายในธุรกิจองค์กรเข้ากับบริการ Cloud เหล่านี้สู่ภาพของ Hybrid Cloud หรือทำ Disaster Recovery ได้ทันที โดยมีทีมงานคนไทยคอยให้บริการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด

ผู้ที่สนใจใช้บริการ VMware ในรูปแบบของการคิดค่าใช้จ่ายตามจริง สามารถติดต่อทีมงานของ VMware ประจำประเทศไทยได้ที่คุณปลา 081-913-3347 หรืออีเมล์ kemwat@vmware.com หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VCPP ได้ที่ https://www.vmware.com/partners/service-provider.html และสามารถตรวจสอบสถานะของบริษัทต่างๆ ที่เป็น VCPP ได้ที่ https://cloud.vmware.com/providers/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …