Object Storage คืออะไร

เมื่อพูดถึงการเก็บข้อมูลในปัจจุบันเรามักได้ยินคำว่า Object Storage อยู่เสมอที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อันที่จริงข้อดีของ Object Storage คืออะไรกันแน่ เรายังจำเป็นต้องพึ่งพา File Storage หรือ Block Storage อยู่ไหม หรือเหมาะสมกับแอปพลิเคชันอะไรบ้าง แล้ว Object Storage มีเพียงแค่บริการผ่านคลาวด์เท่านั้นหรือไม่

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาเรียนรู้เกี่ยวกับข้อคุณสมบัติของ Object Storage ที่แท้จริงกัน

Object Storage เป็นพื้นที่การจัดเก็บชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้รองรับข้อมูลมหาศาล อย่างข้อมูลที่เรียกว่า Unstructured Data เช่น อีเมล ไฟล์หนัง คลังภาพ ไฟล์เอกสาร เว็บเพจ เป็นต้น

โดยเนื้อแท้จริงคือตัวข้อมูลจะถูกมองเป็น Object ซึ่งในนั้นมีการเก็บ 3 ชิ้นส่วนสำคัญคือ ตัวเนื้อข้อมูล Metadata และ UID (Unique ID) ซึ่งการต่อขยายของ Object Storage จึงทำได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆแทบจะเรียกได้ว่าไร้ขอบเขตนำมาต่อๆเรียงๆกันออกไป และเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ Object Storage จึงเหมาะกับงานบริการคลาวด์ และทำให้ต้นทุนถูกกว่าการจัดเก็บรูปแบบอื่น

สำหรับการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่เข้ามาจะถูกแบ่งเก็บเนื้อหาในแต่ละ Object พร้อมกระจายเก็บเนื้อหาได้ดีกว่าเดิมมาก ทั้งนี้ในการใช้งานมักมองเป็นการเข้าใช้ผ่าน Virtual Storage ที่ภายใต้เกิดจากการรวมตัวกันของ Object Storage หลายๆตัว และเปิดให้ใช้งานข้อมูลได้ผ่าน RESTful APIs, HTTP และ HTTPS

อย่างไรก็ดีแม้การเข้าถึงจะทำได้ง่ายแต่ Object Storage ไม่เหมาะกับงานที่ต้องแก้ไขข้อมูลและเราไม่จำเป็นต้องยึดติดกับคลาวด์เพราะสามารถตั้ง Object Storage เพื่อให้ใช้งานแบบ On-premise ได้ตามปกติ เพียงแค่คุณสมบัติความถูก การขยายตัว และการเข้าถึงของ Object Storage คือสิ่งที่เหมาะกับคลาวด์อย่างแท้จริงเท่านั้น

นอกจากนี้การมี Metadata ยังช่วยให้ผู้สนใจสามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย เช่น การ Tag Object หรือใช้ทำ Policy ในการลบข้อมูล หรืออื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกลไกสำหรับการ Replicate ข้อมูลช่วยเรื่องความคงทนเช่นกัน

ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนย่อมรู้จักระบบการเก็บข้อมูลแบบไฟล์ดีอยู่แล้ว ในรูปแบบของ ไฟล์ – โฟลเดอร์ ซึ่งประเด็นคือโครงสร้างข้อมูลจะเก็บแบบลำดับชั้น เช่น C://AB/ABC/ABCD… เป็นต้น ดังนั้นท่านจะต้องรู้ Path สู่ข้อมูล และยิ่งลึกเท่าไหร่การค้นหาก็ต้องใช้เวลานาน แถมยังขยายตัวได้อย่างจำกัด โดยมีโปรโตคอลอย่าง SMB และ NFS ที่พบเห็นกันในสำนักงานก็คือการแชร์ไฟล์ผ่านการจัดเก็บแบบ NAS เป็นต้น ซึ่งเราขอไม่ลงลึกตรงนี้ ประเด็นสำคัญคือ Object Storage มีการขยายตัวที่ดีกว่ามาก ตัดการเข้าถึงแบบลำดับชั้นไปเป็นการอาศัย UID แทนนั่นเอง

ในมุมของ Block Storage ก็คือการตัดแบ่งไฟล์เก็บ Block ที่อยู่แยกกันโดยมี UID สำหรับค้นหากลุ่มข้อมูลเพื่อประกอบกันได้เมื่อต้องการ ไม่ต้องรู้ Path จึงเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วเช่นกัน แต่โดยวัตถุประสงค์ที่เหมาะที่สุดของ Block Storage คืองานแอปพลิเคชันที่สำคัญต้องการความรวดเร็วแม่นยำในการอ่านเขียนหรือการใช้งานที่มี Transaction จำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัย OS เข้าถึงบล็อกข้อมูล และ Block Storage ไม่ได้พูดถึงเรื่อง Metadata

หากถามว่าเมื่อเทียบระหว่าง Object Storage กับ File Storage และ Block Storage นั้นจะเลือกใช้อย่างไร คำตอบที่เหมาะสมก็คือท่านจะต้องพิจารณาถึงประเภทของแอปพลิเคชันที่เหมาะกับตนเอง เช่น หากเป็น File Share หรือการใช้งานที่ไม่ได้เน้นขยายตัวมาก File Storage ก็ตอบโจทย์ที่สุด แต่หากเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วมีการเขียนข้อมูลบ่อยครั้ง Block Storage ก็ย่อมเหมาะกว่า ทั้งนี้แอปพลิเคชันที่เหมาะกับ Object Storage ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

ด้วยความที่ Object Storage มีต้นทุกถูกกว่า เหมาะสำหรับข้อมูลที่เน้นอ่านอย่างเดียว พร้อมขยายตัวได้เรื่อยๆรองรับข้อมูลมหาศาล แถมมี Metadata ให้ไปใช้ประโยชน์เพิ่มได้ตามความต้องการ ทำให้แอปพลิเคชันที่เหมาะสมมีดังนี้

  • Log File
  • งาน Machine Learning นำข้อมูลไปเทรนโมเดล
  • งานเก็บข้อมูล IoT นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
  • งานเก็บข้อมูล Backup สำหรับกู้คือและ Archive ที่ตอบโจทย์ Compliance
  • ไฟล์หนัง เพลง วีดีโอ
  • งาน Data Lake ที่เก็บข้อมูลได้แบบไม่สนใจ format รักษาสภาพข้อมูลเดิมๆไว้ได้ เน้นการเก็บข้อมูลเยอะๆ

ที่มา : https://cloud.google.com/learn/what-is-object-storage และ https://aws.amazon.com/what-is/object-storage/

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Lenovo เข้าซื้อกิจการ Infinidat ขยายธุรกิจระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Data Center

Lenovo เข้าซื้อกิจการ Infinidat ขยายธุรกิจระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Data Center

GIGABYTE ขยายพอร์ต Accelerated Computing ด้วยเซิร์ฟเวอร์ใหม่ที่ใช้ NVIDIA HGX B200 – ร่วมกับ NVIDIA GB200 NVL72 สำหรับการคำนวณระดับ Exascale [Guest Post]

GIGABYTE นำเสนอโซลูชันซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมด้วยสถาปัตยกรรม NVIDIA Blackwell Giga Computing ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ GIGABYTE และผู้นำในอุตสาหกรรมเซิร์ฟเวอร์ Generative AI และเทคโนโลยีการระบายความร้อนขั้นสูง ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ GIGABYTE ซีรีส์ …