กรณีศึกษา AMD – การผลักดันนวัตกรรมด้านการประมวลผลในไทย

ในงาน TTT Virtual Summit 2022 สำหรับธีมงาน Infrastructure Tech Update ผู้นำในด้านเทคโนโลยีชิปประมวลผลอย่าง AMD ได้นำเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆของตนและแผนการในอนาคตของ EPYC มาอัปเดตให้ฟังกัน รวมถึงชี้ให้เห็นภาพว่าชิประดับ 7 นาโนเมตรแต่คุณภาพคับแก้วให้ประโยชน์อย่างไรบ้างแก่ภาคธุรกิจ

ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่แผนการในอนาคตของ AMD ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 บริษัทได้ผลิกเกมด้วยการเปลี่ยนเทคโนโลยี 14 นาโนเมตรสู่ 7 นาโนเมตร ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความคุ้มค่ามากกว่าเดิม ณ ปัจจุบัน AMD ได้เดินทางมาสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสถาปัตยกรรม Zen 2 (Rome) สู่ Zen 3 (Milan) และในอนาคตอันใกล้ก็กำลังจะเดินทางไปสู่เทคโนโลยีการผลิตระดับ 5 นาโนเมตร

ความต่างของ Zen2 และ Zen3 มี 2 เรื่องหลักคือ

  •  ความสามารถในการแบ่ง L3 Cache ในคอร์ได้สูงสุดถึง 32 MB จากเดิมรุ่นก่อนทำได้เพียง 16 MB โดยมีประโยช์อย่างยิ่งกับแอปพลิเคชันที่ต้องการแคชสูงเช่น งานฐานข้อมูล งาน HPC และอื่นๆ 
  • Secure Encrypted Virtualization (SEV) ถือเป็นคีย์ฟีเจอร์ของ AMD ต่อผู้ให้บริการคลาวด์เลยก็ว่าได้ โดยพูดถึงความสามารถทำการแยกกุญแจเข้ารหัสที่ระดับ Hypervisor กล่าวคือแต่ละ VM ใช้กุญแจเข้ารหัสต่างกัน หากมีการถูกโจมตีเบื้องล่าง VM อื่นที่แชร์ทรัพยากรร่วมกันก็ยังปลอดภัย

นอกจากนี้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา AMD ยังได้เผยถึงเทคโนโลยี AMD 3D Chiplet ที่ช่วยให้ตนสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของการสถาปัตยกรรม Cache แบบเดิม โดยไอเดียก็คือ AMD ค้นพบวิธีการวางซ้อนแผ่น Circuit เป็นเลเยอร์ คาดว่าเทคโนโลยีนี้จะส่งถึงมือผู้ใช้ผ่านชื่อ AMD 3D V-Cache พร้อมกับ Milan รุ่นถัดไปในอนาคต 

หากถามว่าผู้ใช้งานกลุ่มใดที่เหมาะกับ AMD EPYC ตอบได้ง่ายๆว่า ผู้ใช้งานทุกท่านที่มุ่งหวังประสิทธิภาพที่คุ้มค่าที่สุด เพราะชิประดับเพียง 7 นาโนเมตรกลับให้จำนวนคอร์ได้สูงสุดโดดเด่นกว่าคู่แข่งอื่น แน่นอนว่าการใช้พลังงานยังน้อยลงด้วย แถมการที่มีคอร์มากยังหมายถึงลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์และค่าใช้จ่ายในการ MA และเรื่อง License ของซอฟต์แวร์อีกด้วย

ด้วยจำนวนคอร์ที่อัดแน่นยังทำให้ AMD มีความเหมาะสมกับแอปพลิเคชันด้าน HPC หรือแม้กระทั่งงานในระดับองค์กรเองเช่น VDI หรืองานฐานข้อมูล ในมุมของผู้ให้บริการคลาวด์การันตีได้ดีว่า AMD มาแรงจริงๆ เพราะตั้งแต่เปิดตัว EPYC เมื่อปี 2019 ก็มีผู้ให้บริการคลาวด์หันมาออก instance ใหม่ที่อาศัยขุมพลังจาก AMD จนถึงปัจจุบัน นับได้มากกว่า 400 instance แล้ว สำหรับในฝั่งผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ AMD ได้ Certified กับผู้ผลิตเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

สำหรับงานด้านนวัตกรรมที่ความสำคัญกับธุรกิจและโลกอนาคตอย่าง AI ทาง AMD ก็ได้ลงเล่นผ่าน GPU ที่ชื่อ Instinct MI 100 และ MI 200 ที่เหมาะสำหรับการคำนวณเหล่านี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ดีการที่จะผลักดันให้เกิด Ecosystem ของการประยุกต์ใช้โซลูชัน ก็ต้องมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกและซอฟต์แวร์ ซึ่ง AMD ในนำเสนอแพลตฟอร์ม RocM ที่รวบรวมทั้ง ไลบรารี คอมไพเลอร์ และเครื่องมือที่จำเป็น โดยทั้งหมดนี้อยู่ในรูปแบบโอเพ่นซอร์สเพราะ AMD เข้าใจดีว่าเทคโนโลยีไม่สามารถผูกขาดกับ Vendor ได้ ดังนั้นการเป็นโอเพ่นซอร์สจะช่วยให้ผู้ใช้งานคล่องตัวในการเปลี่ยนสู่เทคโนโลยีใหม่ในอนาคต และทั้งหมดนี้เองก็คือเรื่องราวทั้งหมดที่ AMD ได้นำมาอัปเดตกันในหัวข้อนี้ครับ

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD EPYC Milan สามารถรับชมวิดีโอการบรรยายเรื่อง “กรณีศึกษา AMD – การผลักดันนวัตกรรมด้านการประมวลผลในไทย” โดย คุณวีรวุฒิ วุฒิเลิศอนันต์ ASEAN Solutions Architect จาก AMD Far East Ltd.(Thailand Branch) ภายในงานสัมมนา TTT Virtual Summit: Enterprise Tech & Innovation 2022 ที่เพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 22 – 24 กุมภาพันธ์ ได้ที่นี่

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ASUS เปิดตัว ExpertBook P5 คอมพิวเตอร์ Copilot+ เครื่องแรกสำหรับการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพด้วย AI และความปลอดภัยขั้นสูงสำหรับมืออาชีพยุคใหม่ [PR]

ในช่วงเวลาเพียง 5 ปีนับตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจกลุ่ม B2B เอซุสประสบความสำเร็จในการเติบโตในตลาด สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดภาครัฐกว่า 23% ในครึ่งแรกของปี 2024 ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยระดับธุรกิจ และการบริการที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนจากพันธมิตรที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ เพื่อขยายธุรกิจไปข้างหน้า เอซุสภูมิใจเสนอ …

Meta เตรียมลงทุนกว่า 10 พันล้านดอลลาร์ในสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้ทะเลความยาวรอบโลก

มีรายงานว่า Meta Platforms บริษัทแม่ของ Facebook เตรียมลงทุนกว่า 10 พันล้านดอลลาร์ในโครงการสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้ทะเลที่มีความยาวรอบโลก