เชื่อแน่ว่าผู้ประกอบการโรงงานทุกรายย่อมอาศัยเครื่องจักรกลมากกว่าหนึ่งเครื่องในงานการผลิต ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงอาจจะแตะถึงหลักล้านหรือมากกว่าแล้วแต่อุตสาหกรรม แต่คำถามคือทุกวันนี้โรงงานของท่านสามารถวัดผลสัญญาณความผิดปกติได้ล่วงหน้าหรือไม่ หรือรอเกิดเหตุจึงค่อยทำการแก้ไข
ประเด็นการผสานโลกแห่ง OT และ IT ถูกพูดถึงมาหลายปีแล้ว เพียงแต่ว่าในทางปฏิบัติจริงอาจทำได้ไม่ง่ายนัก จากความท้าทายหลายด้านที่ไม่สามารถผสานความเข้าใจระหว่างโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ที่เหมาะกับองค์กร
ในบทความนี้เราพาทุกท่านไปรู้จักกับโซลูชัน Machine Health ที่ช่วยยกระดับการป้องกันความเสียหายแบบเดิมๆ(Preventive Maintenance) สู่การจับสัญญาณล่วงหน้า (Predictive Maintenance) เพื่อให้ท่านเตรียมรับมือกับความเสียหายได้ล่วงหน้า
ความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ของระบบอุตสาหกรรม
โรงงานเป็นรากฐานของเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของพวกเราทุกคน กล่าวให้เห็นภาพง่ายๆว่าเรื่องพื้นฐานอย่างน้ำประปาและไฟฟ้าก็ถือกำเนิดมาจากโรงงานทั้งสิ้น สินค้าอุปโภคบริโภคต่างล้วนผลิตออกมาจากโรงงาน โดยโรงงานย่อมมีเครื่องจักรใหญ่โตมากมาย ทั้งนี้มีเครื่องจักรจำนวนมากต้องทำงานได้ตลอดเวลา
ฟังก์ชันของเครื่องจักรที่ใช้กันในโรงงานมีหลายประเภท เช่น เครื่องเจาะ เครื่องปั่น เครื่องหมุน และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดมักอาศัยกำลังไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนกลไกสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยมากมอเตอร์มักเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในระบบการทำงานเหล่านั้น อย่างไรก็ตามการหากเครื่องจักรเสียหายหรือหยุดทำงานอย่างไม่คาดคิด อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและบทปรับด้านการเงิน อีกทั้งยังสร้างความไม่เชื่อมั่นต่อผู้ใช้บริการด้วย
ซึ่งกลไกการป้องกันความเสียหายที่ใช้กันมาอย่างเนิ่นนาน ก็คือการวางแผนเข้าตรวจสภาพอุปกรณ์รายเดือนปีหรือตามตกลง แต่วิธีการนี้ต้องสิ้นปลืองกำลังคนและกระทบต่อเวลาการทำงานด้วย เพราะอาจต้องปิดเครื่องชั่วคราว แม้ว่าจะตรวจสอบความผิดปกติได้ก็ตามแต่ก็มักล้าช้าเกิดไปเพราะความเสียหายอาจเกิดขึ้นมาก่อนหน้าแล้ว อีกทั้งการใช้มนุษย์จับสังเกตอาจไม่สามารถให้รายละเอียดที่แน่ชัดได้ ขาดการเปรียบเทียบเหตุการณ์ในอดีตที่ดำเนินมา ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้
แล้วจะทำอย่างไรที่จะยกระดับการเฝ้าระวังแบบรอคอย สู่การติดตามปัญหาอย่างทันท่วงที จนกระทั่งนำไปสู่การคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งคำตอบเหล่านั้นก็คือการใช้ข้อมูลจากระบบ OT มาวิเคราะห์และแยกแยะปัญหา ด้วย AI ที่ถูกสร้างขึ้นจากการวัดผลทางคณิตศาสตร์ โดยผลลัพธ์เหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงสัญญาณความผิดปกติล่วงหน้าได้ ที่สำคัญคือซอฟต์แวร์มีการประเมินผลอยู่เป็นระยะๆ เทียบกับวิธีการเดิมที่ต้องส่งคนเข้าหน้างานย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะอันที่จริงแล้วข้อมูลมีอยู่เสมอเพียงแค่ไม่ถูกธุรกิจนำมาใช้งาน
ค่า OEE คืออะไร
Overall Equipment Effectiveness (OEE) เป็นค่ามาตรฐานที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกให้การยอมรับ โดยว่าด้วยการวัดผลว่าการผลิตว่ามีผลลัพธ์ดีหรือไม่ด้วยเกณฑ์การวัดผล 3 ด้าน คือ ความพร้อมในการให้บริการ (Availability) ประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance) และ คุณภาพในการทำงาน (Quality) โดยอ้างอิงว่าในช่วงเวลาที่ต้องการรันระบบ ระบบทำได้ดีเต็ม 100% หรือไม่ ซึ่งตัวเลขกลางนี้สามารถใช้ป็นบรรทัดฐานให้ผู้ประกอบธุรกิจนำไปเปรียบเทียบกับผู้แข่งกันในธุรกิจเดียวกันได้ บ่งชี้ถึงความสามารถในการแข่งขัน
หากพูดถึงองค์รวมของการพัฒนากระบวนการผู้บริหารทุกท่านคงต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และความมั่นใจในการให้บริการ แต่สิ่งที่ OEE ไม่สามารถให้ได้ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการผลิตว่า ต้นตอที่ทำให้ค่าเหล่านั้นด้อยกว่าเกณฑ์คืออะไร นั่นคือจุดที่ Machine Health จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องความพร้อมต่อการให้บริการ (Availability)
การสั่นสะเทือนและกระแสไฟส่งผลกระทบอย่างไรต่อเครื่องจักร
แนวคิดการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด โดยมี 2 แนวคิดที่มีการประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การวิเคราะห์แรงสั่นสะเทือน (Vibration Analysis) และการวิเคราะห์กำลังของกระแสไฟ (Current Analysis) ซึ่งอย่างหลังให้ผลดีและมีประสิทธิภาพค่อนข้างมากในอุปกรณ์มอเตอร์ (Motor Current Signature Analysis : MCSA) ที่มีการคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1970
การวัดผลทั้งสองมีประโยชน์และความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไปในเครื่องจักรแต่ละประเภท ซึ่งการวิเคราะห์ด้านกระแสไฟในมอเตอร์เป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากบ่งชี้ถึงปัญหาได้มาก รวมถึงการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ตู้ควบคุมยังทำได้ง่ายอีกด้วย กลับกันการวิเคราะห์แรงสั่นสะเทือนอาจเป็นตัวเลือกสำหรับปฏิบัติการอื่นๆ เพราะมีหลายตัวแปรที่ส่งผลให้เกิดการสั่นได้ เช่น การไหลของของเหลว การหมุนของแกนหมุน การเคลื่อนตัวของสนามแม่เหล็ก การกระทบกันของฟันเฟือง การสั่นพ้อง และ การเปลี่ยนมุม ด้วยเหตนี้เองผู้สนใจจึงต้องเลือกการวัดผลให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานเช่นกัน
ปัจจุบันมีเซนเซอร์ที่สามารถอ่านค่าการสั่นสะเทือนและกำลังไฟได้หลายยี่ห้อ แต่ประเด็นสำคัญคือการตีความค่าเหล่านี้ต่างหาก ว่าอะไรคือความปกติ หรือค่าที่ผิดสังเกต และค่าเหล่านั้นบ่งชี้ถึงอาการเสียอย่างไร ให้ท่านสามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและตรงจุด นอกจากนี้อาการเสียบางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องแก้ไขทันที แต่สามารถวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน นั่นคือที่มาของโซลูชัน Machine Health ที่เราพูดถึง
แนวทางการแก้ไขปัญหาโดย True Machine Health
วัตถุประสงค์ของ True Machine Health คือการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเครื่องจักรในอุตสาหกรรม มาวิเคราะห์และแปรผลสู่การเแจ้งเตือนที่ช่วยให้องค์กรสามารถป้องปรามเหตุ และวางแผนรับมือกับสัญญาณความผิดปกติได้ล่วงหน้า หรือกล่าวคือให้องค์กรจะมีเวลาเพื่อจัดการกับปัญหา แทนที่จะรอให้เกิดเหตุโดยไม่รู้ล่วงหน้าที่อาจนำไปสู่ความโกลาหลและความเสียหายที่ยากจะรับมือ เช่น อะไหล่ของเครื่องจักรอาจต้องใช้เวลาสั่งหลายวัน หากต้องเตรียมสำรองทุกชิ้นอาจเป็นการลงทุนสูงโดยใช่เหตุ
จากข้อมูลข้างต้นโซลูชันหลักจึงประกอบด้วย เซ็นเซอร์ แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูล และอุปกรณ์ระดับเครือข่ายที่นำส่งข้อมูลจาก OT ไปสู่มือ IT อย่าง Gateway และ Repeater อย่างไรก็ดีหัวใจสำคัญของโซลูชันไม่ใช่ตัวอุปกรณ์แต่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการใช้งานที่แสดงผลให้ผู้ใช้งานทราบถึงผลลัพธ์ของพฤติกรรมได้โดยง่าย
ไม่เพียงแค่นั้นอัลกอริทึม AI สำหรับการวิเคราะห์ต้องเป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ ซึ่งผู้สร้างต้องคลุกคลีอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนานจนทราบได้ว่าเครื่องจักรประเภทใดควรมีพฤติกรรมปกติเป็นอย่างไร หากไม่ปกติจะมีลักษณะข้อมูลเป็นอย่างไร และที่สำคัญต้นตอของปัญหาคืออะไรกันแน่
โดยความเชี่ยวชาญเหล่านี้มาจากพาร์ทเนอร์สำคัญ REPCO NEX ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้เครือ SCGC ที่าทำเรื่องโซลูชันภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ทั้งนี้ปัจจุบัน REPCO NEX ได้ให้บริการดูแลเครื่องจักรมากกว่า 5,000 ตัวใน 3 ประเทศ เช่น ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยภายใต้โซลูชัน Machine Health ที่จับมือกับ TrueBusiness จะนำเสนอ 2 แนวทางคือ
- Smart Vibration Solution – เป็นการเก็บข้อมูลในเครื่องจักรหลายชนิดเช่น เกียร์ เครื่องเป่า เครื่องผสมวัตถุดิบ เครื่องแปรรูปอาหาร และนำส่งข้อมูลให้ AI วิเคราะห์ผล แปลงเป็นข้อมูลที่นำไปใช้แจ้งเตือนต่อธุรกิจผ่านทางแพลตฟอร์ม Smart OFA
- Smart Motor Solution – เป็นการติดตามค่าสัญญาณกระแสไฟ (MCSA) และนำส่งให้ AI วิเคราะห์ความผิดปกติต่างๆ โดยสามารถทราบการเสียได้หลายสาเหตุเช่น แกนหมุนแตกเสียหาย ช่องว่างระหว่างแกนหมุนและถึงผิดปกติ เกิดการเสื่อมของฉนวนทำให้อัตราการหมุนไม่ปกติ หรือ การรั่วไหลของกระแสไฟ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถทราบผลได้ผ่านทางแพลตฟอร์ม Smart OFA
ในมุมของ TrueBusiness ก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเชื่อมต่อของข้อมูลได้ด้วยเทคโนโลยี 5G หรือบริการลิงก์อินเทอร์เน็ต เนื่องจากแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลนี้อยู่บนคลาวด์ รวมถึง TrueBusiness เองยังมีผู้เชี่ยวชาญและสาขาจำนวนมากที่สามารถเข้าถึงไซต์งานเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ของโซลูชันได้ด้วย ที่สำคัญยังมีความพร้อมให้บริการตลอด 24×7 ที่จะประสานงานและทำงานร่วมกับลูกค้าจนบรรลุเป้าหมาย
ด้วยเหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่า True Machine Health เกิดขึ้นจากความลงตัวระหว่างผู้เชี่ยวชาญในโลกแห่ง OT อย่าง REPCO NEX และ IT Infrastructure ที่การันตีว่าผู้ใช้บริการจะได้รับการดูแลอย่างถึงที่สุด ที่ช่วยยกระดับการติดตามสถานะเครื่องจักรของท่านจากการเฝ้ารอสู่การคาดการณ์อนาคต ให้ท่านสามารถรับมือสิ่งที่จะเกิดได้ล่วงหน้า ลดความเสียหายที่มองไม่เห็นนั่นเอง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://truebusiness.truecorp.co.th/th/landing/truebizxrepco-machinehealth หรือ
ติดต่อทีมงานจาก TrueBusiness เพื่อเข้าไปนำเสนอโซลูชันหรือประเมินความคุ้มค่าและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ TrueBusiness 1239 หรือ dtac Business 1431
ขอเชิญผู้สนใจเข้าชม Webinar ในหัวข้อ “Industrial Transformation for sustainable growth” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00น. ผ่านช่องทาง Zoom โดยลงทะเบียนได้ที่ https://lin.ee/RNnd9Ah