CDIC 2023

ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า Swisscom กว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ

Swisscom บริษัทผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ เผลอทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ คิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทั้งหมด

Credit: Helpnetsecurity

ข้อมูลที่รั่วไหลออกสู่สาธารณะ ประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของ Swisscom เช่น ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ ซึ่ง Swisscom เองไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูลที่รั่วไหล สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ทัั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่แบบ “Non-sensitive” ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นคือไม่มีข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive) เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, บทสนทนาต่างๆ และข้อมูลในการชำระเงิน

การรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัทคู่ค้าของ Swisscom ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ระบบจะบังคับให้มีการใส่ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดก่อนเสมอเพื่อเข้าถึงข้อมูล แต่แฮ็คเกอร์น่าจะอาศัยช่องโหว่บางอย่างเพื่อหลบหลีกการยืนยันตัวตนนี้

ท้ายที่สุดแล้ว Swisscom ตัดสินใจเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น มีการเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-factor authentication) สำหรับบริษัทคู่ค้า รวมไปถึงการห้ามให้มีการค้นฐานข้อมูลลูกค้าคราวละมากๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ที่มา: https://www.helpnetsecurity.com/2018/02/08/swisscom-data-breach/


About นักเขียนฝึกหัดหมายเลข 3

Check Also

ACSI ยกไทยเป็นหัวหอกอาเซียน  ปักธงเปิดสำนักงานในประเทศไทย นำเสนอโซลูชั่นและบริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับมืออาชีพ [Guest Post]

2 ตุลาคม 2566 – เอเซอร์ ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ อิงค์ (Acer Cyber Security Inc. : ACSI) ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับมืออาชีพ …

4 แนวทางการทำ Workplace Transformation ด้วย SASE

การทำ Workplace Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของพนักงานโดยรวมให้เข้าสู่โลกของดิจิทัลได้จากทุกที่ทุกเวลานั้น ยังคงเป็นอีกความท้าทายสำคัญของธุรกิจองค์กรทั่วโลก และ SASE เองก็ได้มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในฐานะของเทคโนโลยีสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น