รู้จัก SUSE Linux Enterprise 15 ระบบปฏิบัติการ Linux แบบ Multimodal รองรับ Multi-Cloud สำหรับองค์กร

ท่ามกลางกระแสของเทคโนโลยีระดับองค์กรที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการทำ Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็นการมาของ Hybrid Cloud, Multi-Cloud, Internet of Things (IoT), Container ไปจนถึง DevOps ก็ทำให้ระบบปฏิบัติการ Linux ชั้นนำอย่าง SUSE Linux Enterprise Server เองก็พัฒนาต่อยอดเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ให้ได้อย่างครบถ้วน และนี่เองก็ทำให้ SUSE Linux Enterprise 15 ที่เพิ่งเปิดตัวมาเมื่อเร็วๆ นี้กลายเป็นระบบปฏิบัติการแบบ Multimodal ที่รองรับได้ทุกความต้องการอย่างครบถ้วนนั่นเอง

 

รู้จักกับ Multimodal IT พื้นฐานที่จะนำองค์กรไปสู่การทำ Digital Transformation ได้อย่างคล่องตัว

 

Credit: SUSE

 

ในยุคก่อนหน้าที่เรายังคงมีการใช้ Physical Server และ Virtualization เป็นหลักนั้น เรามักจะเห็นว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมของระบบ Application ต่างๆ มักมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันคืออยู่ในรูปของ Client Server ที่มีเบื้องหลังเป็นการทำงานร่วมกันของ Application Server กับ Database Server ซึ่งมักไม่ซับซ้อนมากนัก และทำการเสริม High Availability (HA) หรือ Disaster Recovery (DR) ด้วยเทคโนโลยีอย่าง Load Balancer หรือ Application Delivery Controller กันเป็นสว่นใหญ่

แต่เมื่อยุคสมัยของ Cloud มาถึง การเกิดขึ้นของ Cloud Native Application ที่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อให้ทำงานบนระบบ Public Cloud หรือ Private Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการพัฒนาต่อยอดอย่างรวดเร็วในวงการ DevOps ด้วยการผลักดันเทคโนโลยีฝั่ง Container ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อเหล่านักพัฒนาและภาคธุรกิจมากขึ้น ก็ทำให้สถาปัตยกรรมการออกแบบระบบเบื้องหลัง Application ต่างๆ นั้นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงไปสู่การใช้ Microservices อย่างเต็มตัวแทน

และแน่นอนว่านอกจากในเชิงของเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนไปแล้ว กระบวนการในการพัฒนา Software เองก็เปลี่ยนแปลงไปมากด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ยุคของการพัฒนาแบบ Waterfall มาสู่ Agile และก้าวมาทำ DevOps ในปัจจุบัน ซึ่งประเด็นนี้เองก็ทำให้โครงการของเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนา Application นั้นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

ในธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่เองนั้นก็อาจมีการรองรับทีมพัฒนา Application ที่หลากหลาย และสถาปัตยกรรมเบื้องหลังระบบ Application ในรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อตอบโจทย์ทั้ง Business Process เดิมที่มีและ Initiative ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ดังนั้นในระบบ IT ขององค์กรหนึ่งๆ เองก็จะยิ่งทวีความซับซ้อนสูงมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะนอกจากจะมีการใช้งานเทคโนโลยีที่หลากหลาย, สถาปัตยกรรมที่แตกต่าง, กระบวนการการพัฒนา Software ตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการแล้ว ระบบ IT เองก็จะยังต้องรองรับต่อการมาของเทคโนโลยีหรือแนวโน้มใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้อีกด้วย

SUSE ได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Multimodal IT คือการที่องค์กรต้องมีทั้งระบบ IT ที่ออกแบบมาด้วยแนวคิดในอดีต ควบคู่ไปกับระบบ IT ที่มาพร้อมกับแนวคิดในสมัยใหม่ และยังคงต้องดูแลรักษาระบบทั้งสองกลุ่มนี้ให้ทำงานต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวหน้าเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ต่อไปได้ในขณะที่ธุรกิจหลักเองก็ยังสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคง

 

ความท้าทายของ Multimodal IT นำไปสู่การมาของ Multimodal Operating System – SUSE Linux Enterprise 15

 

Credit: SUSE

 

แน่นอนว่าการดูแลรักษาระบบ IT ที่มีทั้งความหลากหลายและซับซ้อนสูงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นี้ก็ถือว่าเป็นความท้าทายที่เหล่าองค์กรต้องเอาชนะให้ได้ และในแง่มุมของ SUSE เองนั้น การออกแบบระบบปฏิบัติการที่ตอบโจทย์ทั้งระบบ IT ในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตให้ได้ในหนึ่งเดียว เพื่อช่วยให้เหล่าผู้ดูแลระบบสามารถดูแลรักษาระบบ IT ของตนเองให้ได้อย่างง่ายดายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ทำงานอยู่ภายใน Data Center ขององค์กร, บน Private Cloud, บน Public Cloud ไปจนถึงระบบ Container หรืออุปกรณ์ IoT ให้ได้ทั้งหมดนั้นก็คือวิสัยทัศน์หลัก และนี่เองก็ทำให้ Multimodal OS ต้องถือกำเนิดขึ้นมา

SUSE Linux Enterprise 15 นี้ถูกออกแบบให้เป็น Multimodal OS ด้วยการออกแบบระบบปฏิบัติการให้มีความเป็น Modular สูงสุด และทำการเลือกผสม Package ต่างๆ เสริมเข้าไปใน Kernel เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานภายในสถาปัตยกรรมและการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ตามความต้องการ ในขณะที่พื้นฐานทางด้านการติดตั้ง, การบริหารจัดการ, การดูแลรักษา และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยนั้นยังคงเหมือนกันทั้งหมด พร้อมเครื่องมือในการช่วยจัดการระบบทั้งหมดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากศูนย์กลาง และรองรับการทำ Automation ได้ด้วยเครื่องมือเดียวกันทั้งหมด ตอบโจทย์ของ Multimodal IT อย่างเต็มที่ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

 

ตอบโจทย์ระบบ Traditional IT

  • รองรับกรณีใช้งานที่หลากหลายได้ภายในระบบเดียว
  • สามารถติดตั้งเองหรือติดตั้งแบบอัตโนมัติก็ได้
  • เลือกอัปเดตระบบได้ตามต้องการ
  • เลือกติดตั้ง Package ได้เองตามต้องการ
  • อาจมีขนาดใหญ่และต้องการการดูแลรักษาเฉพาะทาง

ตอบโจทย์ระบบ Software Defined Infrastructure

  • รองรับการสร้างระบบย่อยหลายระบบเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบใหญ่ระบบเดียวกันได้
  • สามารถติดตั้งได้แบบอัตโนมัติจากศูนย์กลาง
  • ต้องสามารถทำการอัปเดตให้ใช้งานเทคโนโลยีล่าสุดได้อยู่เสมอ
  • แต่ละระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานจะต้องตอบโจทย์เฉพาะทางแค่โจทย์เดียว
  • มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จำเป็นจะต้องใช้งาน เพื่อให้ใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด และง่ายต่อการจัดการและการดูแลรักษา

 

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ก็ทำให้ SUSE Linux Enterprise 15 สามารถกลายเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อรองรับทั้ง Physical Server, Virtualization, Private Cloud, Public Cloud, Hybrid Cloud, Container, Multi-Cloud และ IoT Device ได้อย่างครบถ้วน ทำให้ฝ่าย IT ขององค์กรสามารถลดภาระด้านการดูแลรักษาระบบลงไปได้เป็นอย่างมาก สามารถนำเวลาและทรัพยากรที่เหลือไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างเต็มตัวยิ่งกว่าเดิม

 

SUSE Linux Enterprise 15 มีอะไรใหม่อีกบ้าง?

SUSE Linux Enterprise 15 นี้ถูกเสริมความสามารถขึ้นมาจาก SUSE Linux Enterprise 12 อีกหลายประเด็น ได้แก่

  • Unified Installer ชุดติดตั้งระบบปฏิบัติการชุดเดียวสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการได้ในหลากหลายโหมด ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน
  • ติดตั้งแบบไม่ต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้ด้วยการใช้ Package Media ทำให้รองรับการติดตั้งใช้งานในกรณีที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • รองรับการ Migrate ระบบจาก openSUSE Leap มาสู่ SUSE Linux Enterprise Server ได้ ทำให้องค์กรสามารถเริ่มต้นใช้งานจาก openSUSE ได้ในช่วงทดลองเทคโนโลยี และก้าวมาสู่การใช้งาน SUSE Linux Enterprise Server อย่างเต็มรูปแบบในภายหลังได้
  • รองรับการใช้ Zypper เพื่อค้นหา Package มาใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
  • ผสานระบบ Software Development Kit เข้าไป รองรับการพัฒนา Software ได้ดีขึ้นยิ่งกว่าเดิม
  • ใช้ Repository Mirroring Tool (RMT) แทน Subscription Management Tool (SMT)
  • รองรับการบริหารจัดการได้ผ่าน Salt
  • สนับสนุนการใช้งาน Python 3
  • ใช้ 389 Directory Server แทน OpenLDAP ในการให้บริการ Directory Service

 

สำหรับ Release Note ฉบับเต็มของ SUSE Linux Enterprise 15 สามารถศึกษาได้ที่ https://www.suse.com/releasenotes/x86_64/SUSE-SLES/15/ ครับ

 

ทดลองใช้งาน SUSE Linux Enterprise 15 ได้ฟรีๆ ทันที

Credit: SUSE

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถทดลองใช้งาน SUSE Linux Enterprise 15 ได้ 60 วันทันทีที่ https://www.suse.com/products/server/download/ โดยรองรับการใช้งานทั้งบน AMD64, Intel 64, IBM z Systems, IBM Power Systems, ARM และ Raspberry Pi ตามต้องการ

 

ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ SUSE เพื่อขอคำปรึกษาได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานระบบปฏิบัติการ SUSE Linux Enterprise Server ภายในองค์กร สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ SUSE ได้ทันที ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

1) Netsolutions

  • Name: Kraileark Chanupprakarn
  • Role: Senior Channel Sales Manager
  • Email: kraileark@nsesb.co.th
  • Mobile: 0815785454

2) Ingram Micro

3) SiS Distribution (Thailand) PCL

 

และสำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อทีมงาน SUSE โดยตรง สามารถติดต่อได้ทันทีที่ AseanSales@suse.com และติดตามรับข่าวสารจาก SUSE ได้ที่ https://www.facebook.com/suseasean/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Anthropic เพิ่มความสามารถ Web Search ให้ Claude AI ยกระดับการตอบคำถามด้วยข้อมูลล่าสุด

Anthropic ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาเว็บ (Web Search) ให้กับ AI Assistant Claude ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลปัจจุบันบนอินเทอร์เน็ตได้ พร้อมแสดงแหล่งอ้างอิงให้ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องได้ทันที

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ