IBM Flashsystem

[PR] ซัพพลายเชนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน By Honeywell

ในอดีตที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) เกิดจากการขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่วันนี้ วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้บริโภคกลับเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และกำหนดรูปแบบของอุตสาหกรรม สังคมแบบ “ต้องได้เดี๋ยวนี้ (get it now)” ที่เราอยู่กันในปัจจุบัน กำลังเรียกร้องการเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้แบบทันที ในขณะที่ครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ต เคยถูกมองว่าเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นตลอดเวลาผ่านทางคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต  ได้เปิดประตูให้กับการทำธุรกิจผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ซึ่งสามารถซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา

supply-chain-trend-by-honeywell

การปรับตัวสู่ยุคของซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนด้วยอี-คอมเมิร์ซ

ตัวอย่างตลาดในประเทศออสเตรเลียซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีเขตแดนติดกับประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกามีเขตแดนติดกับแคนาดาและเม็กซิโก หรือประเทศต่างๆ ในยุโรปที่มีแนวเขตแดนติดต่อกัน ในอดีตบ่อยครั้งที่ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเดี่ยวดังกล่าว เป็นปัจจัยลบสำหรับผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย เพราะเมื่อมีการขยายจำนวนร้านค้ารูปแบบเดิมซึ่งต้องมีที่ตั้งทางกายภาพ (bricks and mortar) ร้านค้าเหล่านั้นจึงเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในประเทศเท่านั้น

อี-คอมเมิร์ซ สามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตสินค้าและผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในการขยายตลาดออกไปนอกประเทศ และขายสินค้าไปยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดตลาดที่ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียสามารถเข้ามามีบทบาท และมีทางเลือกมากขึ้น เพราะธุรกิจต่างประเทศที่เข้ามาจะเพิ่มการแข่งขันให้กับผู้ค้าปลีกในท้องถิ่น

แบรนด์ชั้นนำต่างๆ เช่น ร้านอัญมณีทิฟฟานี่แอนด์โค ซึ่งในอดีตแบรนด์นี้เลือกตั้งร้านเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง ดังนั้นจึงมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เท่านั้น  แต่ปัจจุบันเมื่อมีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ นั่นหมายความถึงการที่จะสามารถขายสินค้าให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตัวอย่างเช่น ชาวออสเตรเลียที่อยู่ในเขตชนบทห่างไกลของเมืองโบรคเค่น ฮิลล์ ก็สามารถสั่งซื้อสร้อยคอจากทิฟฟานี่ ผ่านทางออนไลน์ได้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ คือการเคลื่อนไหวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ ดีเอชแอล (DHL) เฟดเอ็กซ์ (FedEX) และยูพีเอส (UPS) ซึ่งต้องการขยายการให้บริการและการดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั่วโลก ในทางกลับกัน การนำเสนอบริการและการเข้าถึงได้ทั่วโลกเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ค้าปลีกอย่างมาก ในการเพิ่มช่องทางการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ นอกเหนือจากรายเดิมที่มุ่งเน้นให้บริการแต่ภายในภูมิภาค  ปัจจุบัน ผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลก ได้มอบข้อเสนอด้านบริการเสริม (add-on services) ให้กับผู้ค้าปลีก เช่นบริการที่วงการขนส่งเรียกว่า “การขนส่งสินค้าเที่ยวขาไป (front hauling)” และ “การขนส่งสินค้าเที่ยวขากลับ (back hauling)”  ซึ่งหมายความว่า ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ สามารถทำประโยชน์จากการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยไม่เพียงการจัดส่งสินค้าไปยังเขตเมือง ภูมิภาค หรือพื้นที่ห่างไกลทั่วโลก แต่ยังรวมถึงการนำสินค้ากลับมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าส่งออก สินค้าที่ลูกค้าส่งคืน หรือการโอนถ่ายสินค้าระหว่างร้านค้า ทั้งทางอากาศหรือทางภาคพื้นดิน

แม้ผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับอี-คอมเมิร์ซ แต่พวกเขาก็ไม่ได้เกาะติดกระแสนี้ โดยปราศจากการเผชิญความท้าทายมากมายมาก่อน แรงกดดันสำคัญหลายด้าน รวมไปถึงการที่ อี-คอมเมิร์ซ ทำให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าชิ้นเล็กๆ จำนวนมาก และส่งผลให้จำนวนครั้งในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันลูกค้าก็คาดหวังให้การจัดส่งสินค้าใช้เวลาน้อยลง สำหรับในประเทศที่มีเขตแดนทางบกติดต่อกัน ผู้ผลิตสินค้าหลายรายสามารถสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อดำเนินการจัดส่งให้แทน แต่สำหรับผู้ประกอบการชาวออสเตรเลีย ไม่มีทางเลือกข้อนี้ และพวกเขายังคงต้องใช้ศักยภาพผู้ให้บริการขนส่ง และโลจิสติกส์ที่มีอยู่เดิม ที่ออกแบบมาสำหรับการจัดส่งสินค้าจำนวนมากให้กับร้านค้าภายในประเทศ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมองหาบริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 (3PL) ซึ่งมีการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศไว้แล้ว

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ และศูนย์กระจายสินค้า (DCs) ต่างกำลังมองหาวิธีการรับมือกับสินค้าชิ้นเดี่ยวๆ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งเคยได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดส่งสินค้าให้ร้านค้าเท่านั้น ก็ต้องส่งสินค้าผ่าน 2 ช่องทาง คือ การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ และการสั่งซื้อจากร้านค้า ยิ่งไปกว่านั้น การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ ต้องการบริการจัดส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการส่งสินค้าไปยังร้านค้าตามรูปแบบซึ่งศูนย์ฯ เหล่านี้ได้รับการออกแบบมา

ในการรับมือกับแรงกดดันจากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ทั้งผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3  และศูนย์กระจายสินค้า จำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยี ซึ่งออกแบบมาสำหรับสนับสนุนคำสั่งซื้อจำนวนมากๆ รวมถึงความเร็วในการจัดส่งสินค้า เทคโนโลยีที่เป็นโซลูชั่นด้านเสียง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มประสิทธิผลขึ้น 25-35%  นั่นหมายความว่า สามารถรับคำสั่งซื้อจำนวนมากขึ้น และทำการจัดส่งได้ในเวลาที่สั้นกว่าเดิม โดยโซลูชั่นนี้มีความเที่ยงตรงในการรับคำสั่งเสียงถึงเกือบ 100% และความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญในการทำอี-คอมเมิร์ซ เพราะความพึงพอใจของลูกค้า เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดซึ่งจะทำให้กลับมาเป็นลูกค้าซ้ำอีก  ในทางกลับกัน หากผู้บริโภคได้รับสินค้าผิดพลาดไปจากคำสั่งซื้อ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่กลับมาซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายนั้นอีก

ยุครุ่งเรืองของการย้ายฐานกลับ (Re-Shoring)

การที่ออสเตรเลียและภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาผู้ผลิต และผู้กระจายสินค้าจากส่วนอื่น ๆ ของโลกมาเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และชนชั้นกลางในอาเซียนที่เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ความต้องการสินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เหตุผลสนับสนุนอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตของออสเตรเลีย เริ่มมองเห็นโอกาสการย้ายฐานการดำเนินงานกลับประเทศ (re-shore) ก็คือหลายประเทศในเอเชียซึ่งก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจของออสเตรเลีย เคยว่าจ้างให้ดำเนินงานแทนบางส่วนเพราะมีค่าแรงต่ำกว่า กำลังปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน  ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความเข้าใจว่า หรือในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับการลดคุณภาพสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไป และท้ายสุด ก็คือพบสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองในหลายประเทศที่เข้าไปตั้งฐานผลิต  การย้ายฐานกลับประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้โอกาสของการตั้งโรงงานผลิตในออสเตรเลียน่าสนใจยิ่งขึ้น

supply-chain-trend-honeywell

ปัจจัยเหล่านี้ ยังรวมไปถึงการยื่นข้อเสนอให้ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย มีโอกาสโยกย้ายฐานผลิตกลับประเทศ หลังจากที่เคยย้ายไปตั้งนอกประเทศในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานกลับ เป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะเมื่อครั้งที่เคยย้ายการผลิตไปประเทศอื่น บ่อยครั้งที่บริษัทผู้ผลิตและโรงงานสัญชาติออสเตรเลีย ได้สูญเสียแรงงาน และโรงงานในท้องถิ่นไปแล้ว

ดังนั้น แทนที่จะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ใหม่หมด ตลอดจนการจ้างพนักงานใหม่ หลายๆ ธุรกิจจะมองหาการว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านโรงงาน ระบบ และบุคลากรเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าแทน ทั้งนี้ อาจมีการติดต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 เพื่อมาทำงานร่วมกับโรงงานผลิต และรับดำเนินงานอื่นๆ ในระบบซัพพลายเชน เช่น การรับและจัดเก็บวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าต้องใช้ การเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านกระบวนการผลิต รวมถึงการส่งคืนสินค้าสำเร็จรูปกลับไปยังคลังสินค้า การหาสินค้าและการจัดส่ง (picking and shipping) ในบางครั้ง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 อาจต้องมีการดำเนินงานในอาคารที่แยกออกมาจากส่วนโรงงานผลิต หรือสามารถทำงานทั้งสองส่วนภายในอาคารเดียวกันได้

สำหรับการดำเนินงานทั้งในส่วนของโรงงานผลิต และโลจิสติกส์ภายในอาคารเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะมีการบูรณาการระบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS) เข้ากับเทคโนโลยีการอ่าน และระบุข้อมูลอัตโนมัติ (AIDC) ซึ่งครอบคลุมถึง เทคโนโลยีด้านเสียง เข้าไว้ในกระบวนการทำงานทั้งหมด โซลูชั่นนี้สร้างความได้เปรียบไม่เพียงการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ตลอดเส้นทางในห่วงโซ่อุปทาน แต่ยังรวมถึงการติดตามสถานะกระบวนการผลิต ให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิต และทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ในกรณีที่การผลิตในขั้นต่อไป อาจเป็นเหตุที่กระทบโดยอัตโนมัติ ต่อการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตให้ได้สูงสุด

ทั้งนี้ ความสามารถในการตรวจสอบสินค้าย้อนกลับแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต ยังหมายถึงการที่โรงงานผลิต อยู่ในสถานะที่สามารถตอบโจทย์ด้านกฎระเบียบและมาตรฐานระบบตรวจสอบย้อนกลับ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล

ทางรอดสู่อนาคตของอุตสาหกรรมซัพพลายเชน

ภาคธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมซัพพลายเชน ที่มีการลงทุนด้านโซลูชั่นการอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด ทั้งด้านการผลิต ความเที่ยงตรง และความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ จะเป็นผู้ครองตำแหน่งผู้นำระดับแนวหน้าในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ให้กับลูกค้าทั้งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนเปิดสู่ช่องทางใหม่ๆ ในการทำตลาดระหว่างประเทศ

บทความโดย

นายตะวัน จันแดง

ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน  บริษัท  ฮันนี่เวลล์ ซิสเต็มส์ (ไทยแลนด์) จำกัด

honeywall-tawan-jandang

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ขอเชิญร่วมงาน TTT x JobPrompt Virtual Job Fair 2025: IT Industry Edition [15 พ.ค. 2025 – 13.15น.]

TechTalkThai และ JobPrompt ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ฟรี Virtual Job Fair 2025: IT Industry Edition ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2025 เวลา 13.15น. - 16.00น. ภาษา: ไทย เพื่อรับชมการบรรยายแนวโน้มตลาดงานในอุตสาหกรรม IT ภาพรวม พร้อมเจาะลึกงานในแต่ละตำแหน่งจากธุรกิจชั้นนำในวงการ ครอบคลุมทั้งตำแหน่งงานทางด้าน AI, Software Development, IT Infrastructure, Data Science และ Cybersecurity

โลกดิจิทัลหมุนเร็วจนน่าตกใจ! ทรูห่วงใย พร้อมปกป้องลูกค้าทุกคนจากภัยไซเบอร์ ทั้งแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มกับ True CyberSafe และแบบจัดพิเศษเมื่อใช้งานนอกเครือข่าย กับ F-Secure for True [PR]

ท่ามกลางความเสี่ยงในโลกยุคดิจิทัลที่ภัยออนไลน์คุกคามอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งรูปแบบลิงก์หลอกลวงทาง SMS โทรหลอกลวง ไปจนถึงเว็บไซต์อันตราย  ทรู คอร์ปอเรชั่น ลงทุนพัฒนานวัตกรรมบริการเพื่อป้องกันภัยไซเบอร์ให้ลูกค้าทรู ดีแทค และทรูออนไลน์ทุกคน  ด้วย 2 โซลูชันความปลอดภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง