กรุงเทพฯ 12 มกราคม 2566 – ตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเติบโต 20.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในครึ่งแรกของปี 2565 เร่งขึ้นจาก 14.5% YoY ในครึ่งหลังของปี 2564 ตามข้อมูลของ International Data Corporation’s (IDC) Worldwide Semiannual Software Tracker องค์กรไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งโมเมนตัมหรือส่วนแบ่งการตลาด สิ่งนี้บังคับให้ธุรกิจต้องคิดใหม่เกี่ยวกับกระบวนการที่มีอยู่ มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแบบเฉพาะบุคคล “ธุรกิจต้องการเครื่องมือเพื่อเอาชนะความท้าทายและอยู่รอดในโลกที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ องค์กรธุรกิจไทยจึงหันมาพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่มีราคาย่อมเยา ชาญฉลาด และเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ และบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน” Kavisara Korkong, Market Analyst at IDC Thailand กล่าว
IDC แบ่งตลาดซอฟต์แวร์ออกเป็น 3 ประเภทหลัก โดยรายได้สูงสุดในครึ่งแรกของปี 2565 มาจากแอพพลิเคชั่นที่ 1.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.3% YoY ตามด้วยซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานระบบที่ 10,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5% YoY และการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชันที่ 6,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.0% YoY
ตลาดแอปพลิเคชัน: เนื่องจากการสื่อสารเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานที่มีประสิทธิผล และการทำงานจากระยะไกลกำลังแพร่หลายมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งธุรกิจจึงกลายเป็นความสำคัญสูงสุดในวาระการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรส่วนใหญ่ เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้จ่ายในแอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกันมีการเติบโตสูงสุด (43.0% YoY) ในครึ่งแรกของปี 2565 ในประเทศไทย เมื่อบรรทัดฐานใหม่เปลี่ยนการทำงานแบบเดิมๆ IDC คาดการณ์ว่าแอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกันจะเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเลขสองหลัก และช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานและการทำงานร่วมกัน การผลักดันการมีส่วนร่วมของพนักงานยังคงมีความสำคัญสูงสุด เช่นเดียวกับด้านความปลอดภัยเมื่อจัดเก็บเอกสาร แชร์ไฟล์ จัดการประชุม หรือส่งข้อความภายในและภายนอก
ตลาดซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานของระบบ: เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ พึ่งพาแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบความพร้อมใช้งานด้านไอที เพิ่มประสิทธิภาพด้านไอที รวมถึงการใช้ทรัพยากรการประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์อย่างเหมาะสม ด้วยจำนวนของ IT Objects ที่เพิ่มขึ้น การทำให้มั่นใจว่าระบบและบริการด้านไอทีไม่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นเรื่องยากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพด้านไอทีที่ต่ำส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า องค์กรต่างๆ จึงต้องการเครื่องมือในการจัดการระบบและบริการ ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ตลอดจนปรับราคาให้เหมาะสมสำหรับการจัดการบริการ ดังนั้นซอฟต์แวร์การจัดการระบบและบริการจึงเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 24.5% ในครึ่งแรกของปี 2565
จากการสำรวจซอฟต์แวร์ในเอเชีย/แปซิฟิกประจำปี 2565 ของ IDC พบว่า 90% ขององค์กรไทยได้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อย่างน้อยหนึ่งรายการ ซึ่งนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในขณะที่ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางดิจิทัลมากขึ้น ความเสี่ยงทางไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ ตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ ตลาดเห็นการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 22.5% YoY ในครึ่งแรกของปี 2565 ไอดีซีคาดว่าจะเห็นการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรูปแบบการโจมตีและภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีความซับซ้อนมากขึ้น
ตลาดการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชัน: เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลมากขึ้น องค์กรไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ปรับแต่งได้ การใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อการใช้ข้อมูลที่ดีขึ้นได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการลดความซับซ้อนของการตัดสินใจ ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน การใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม AI เติบโตสูงสุด (41.7% YoY) ในตลาดการพัฒนาแอปพลิเคชันและการปรับใช้ในครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งบ่งชี้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากองค์กรในไทย ไอดีซีคาดว่าจะเห็นการลงทุนด้านเอไอในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการสร้างสรรค์บริการและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่โดยใช้พลังของเอไอ
ที่มา : https://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prAP50036723