Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

Software-defined storage systems from Lenovo อนาคตของสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่ถูกกำหนดโดยซอฟต์แวร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำนวนมากให้ความเห็นตรงกันว่าดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันมีอินฟราสตรักเจอร์ที่ไม่อาจตอบโจทย์ความต้องการในยุคดิจิตอลได้อีกต่อไป โดยโมเดลที่จะกลายเป็นต้นแบบแห่งอนาคตต้องพร้อมปรับตัวอย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัวทั้งการจัดการเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจและระบบเน็ตเวิร์ก ซึ่งนั้นคือ การจัดการอินฟราสตรักเจอร์ทุกอย่างผ่านซอฟต์แวร์หรือ Software-defined infrastructure หรือ SDI

หนึ่งในองค์ประกอบของ SDI ที่น่าสนใจ ณ ตอนนี้ คือ การกำหนดสตอเรจอินฟราสตรักเจอร์ด้วยซอฟต์แวร์ หรือ SDS ซึ่งแม้ว่าการเติบโตของ SDI จะยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ แต่จากผลวิจัยล่าสุดของไอดีซี คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่ช้านี้

 

การจัดการไอทีด้วยการกำหนดผ่านซอฟต์แวร์หรือ Software-defined IT สามารถช่วยหลายๆ บริษัทปรับเปลี่ยนระบบดิจิตอลได้ตามแผน เปลี่ยนโฉมทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ความเร็วในการทำธุรกิจไปจนถึงความคล่องตัวในการจัดการสตอเรจข้อมูล

 

Credit: Lenovo

 

แม้ว่า SDI จะยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ แต่หลายบริษัทก็มองเห็นศักยภาพในการอิมพลีเมนต์โซลูชันคลาวด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไอที จากผลวิจัยของไอดีซีที่ศึกษาด้าน Software Defined Infrastructure ในประเทศเยอรมัน เมือปี ค.ศ. 2016 พบว่า “เริ่มมีการดำเนินงานเพื่อเปลี่ยนแปลงดาต้าเซ็นเตอร์สู่ SDI” โดยงานวิจัยนี้ได้เริ่มสำรวจเมื่อปีที่แล้วจากผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 252 ราย มาจากบริษัทในเยอรมันที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 250 ราย ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ SDI และแผนงานของพวกเขาต่อโครงการนี้

แนวคิด “การกำหนดผ่านซอฟต์แวร์” ได้ถูกเริ่มนำมาใช้ในหลายพื้นที่ ภายใต้แนวคิดของการจัดการอินฟราสตรักเจอร์โดยซอฟต์แวร์ หรือ Software-defined infrastructure (SDI หรือ SDX) ซึ่งถือเป็นหลักคิดย่อยภายใต้แนวคิดของ Software-defined data centre (SDDC) ซึ่งยังมีแนวคิด software-defined network (SDN) และ software-defined storage (SDS) อีกด้วย โดยแนวคิดทั้งหมดมีรากฐานเดียวกันจากการจัดการทรัพยากรในดาต้าเซ็นเตอร์แบบเวอร์ชวล (ทั้งเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจและระบบเน็ตเวิร์ก) โดยติดตั้งทุกองค์ประกอบให้เป็นอัตโนมัติและบริหารจัดการจากส่วนกลาง

 

มิติใหม่แห่งความคล่องตัว

แก่นแท้สำคัญของแนวคิด SDI ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอินฟราสตรักเจอร์ที่จัดการทุกทรัพยากรให้รวมอยู่ด้วยกันเป็นชั้นเดียว ไม่แบ่งแยกเป็นหลายชั้นตามความจริง ซึ่งถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการจัดการได้อย่างคล่องตัว และบ่อยครั้งที่เมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง SDI และส่วนประกอบอื่นๆ ก็ยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนา เวนเดอร์มากมายจึงต่างพูดต่างเชียร์เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน “เทคโนโลยีและตลาด อยู่ในขั้นตอนที่แตกต่างกันมาก สังคมทั่วไปยังคงรับรู้แค่ว่าเรื่องพวกนี้พึ่งเกิดขึ้น” ที่ปรึกษาอาวุโสของไอดีซี แมทเธียส แซกเชอร์ กล่าว “จึงกลายเป็นการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อแยกชิงตำแหน่งผู้นำในบางตลาด”

ดังนั้นหนึ่งในเรื่องที่ผู้ใช้ต้องประเมินอย่างจริงจังเกี่ยวกับ SDI ตามที่ไอดีซีวิจัยมาคือ การวางแผนการนำ SDI ไปประยุกต์ใช้จริง ซึ่งประโยชน์ของ SDI นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการรองรับการเติบโตของการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอล การอิมพลีเมนต์เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น ไดนามิกคลาวด์ บิ๊กดาต้า IoT และการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ ต่างต้องการความพร้อมใช้งานของสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่คล่องตัวและยืดหยุ่นอย่างมาก

แน่นอนว่าทุกอย่างไม่ตอบโจทย์ความคาดหวังของหลายๆ องค์กร ที่จะเปลี่ยนแปลงไอทีอินฟราสตรักเจอร์เดิมๆ ให้เป็นโมเดล SDI ในแบบทันทีทันใดได้ ดังนั้นบริษัทส่วนมากต่างก็พยายามหาวิถีทางในการใช้ SDI ผ่านโครงการต่างๆ ที่มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนไอทีอินฟราสตรักเจอร์ของตนที่ละส่วน ในหลายๆ กรณี นั้นคือ ส่วนที่เป็นสตอเรจ โดยมีสองเหตุผลหลักสำคัญคือ อย่างแรก จำนวนข้อมูลที่ไหลเข้ามาอย่างมหาศาลในยุคดิจิตอล คือ ตัวแปรสำคัญที่กดดันให้ธุรกิจต้องลงทุนเพิ่มความจุของสตอเรจ และสองคือ ระบบสตอเรจแบบดั่งเดิมไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของแอพพลิเคชันและโมเดลธุรกิจในยุคดิจิตอล

 

ประโยชน์ของ SDI นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการรองรับการเติบโตของการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอล

หลายบริษัทใส่ใจเรื่องการเติบโตของข้อมูลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมด้านสตอเรจของพวกเขา

จากการศึกษาล่าสุดของ Enterprise Strategy Group (ESG) พบว่าหลายบริษัทใส่ใจเรื่องการเติบโตของข้อมูลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมด้านสตอเรจของพวกเขา อย่างไรก็ดี ความท้าทายนี้ไม่สามารถจัดการได้ด้วยการอัพเกรดแบบเดิม ผู้เขียนรายงานนี้ สก็อต ซินแคลร์ อธิบายในหมายเหตุว่า “สถาปัตยกรรมสตอเรจแบบเดิมที่เคยคิดว่าจะรองรับการขยายตัวได้นั้น ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว”

ซินแคลร์ยังตรวจสอบแนวคิดและโอกาสของ SDS ในรายงาน Lenovo: Software-defined Storage for a New Generation of Information Technology พบว่าการเติบโตของข้อมูลมาจากเทคโนโลยีอาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ โซเชียลมีเดีย IoT หรือบิ๊กดาต้า คือจุดเปลี่ยนสำคัญไม่เพียงแต่ปริมาณเท่านั้น แต่ยังหมายถึงคุณภาพของข้อมูลเนื้อหาเชิงดิจิตอลด้วย “ในขณะที่ปริมาณงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมสตอเรจที่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการทางธุรกิจ” ซินแคลร์ กล่าว ดังนั้นเมื่อเทียบข้อมูลชุดนี้แล้ว ประโยชน์ของ SDS จึงชัดเจนยิ่งขึ้น ซินแคลร์ สรุปในตอนท้ยว่า โซลูชัน SDS ไม่เพียงแต่เพิ่มการรองรับการขยายตัว แต่ยังปรับปรุงความคล่องตัว ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของทั้งระบบสตอเรจด้วย “SDS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประยุกต์ฮาร์ดแวร์สตอเรจของตนได้ง่ายขึ้นและแม่นยำตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและโหลดการทำงานได้ดียิ่งขึ้น”

เมาโร ลอตติ ผู้อำนวยการ ฝ่ายผลิตภัณฑ์สตอเรจและผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ EMEA ที่เลโนโว่ ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดสตอเรจไว้ว่า “แอพพลิเคชันดิจิตอลรุ่นใหม่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ข้อมูล ข้อมูลอาจไม่พร้อมใช้งานในลักษณะมีโครงสร้างชัดเจนเหมือนเฉกเช่นเดิม ซึ่งนั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความต้องการระบบสตอเรจอย่างมาก” ลอตติ ยังแนะนำบริษัทต่างๆ ให้พิจารณาใส่ใจถึงวิธีที่จะทำอย่างไรให้ไอทีอินฟราสตรักเจอร์ของตนเองสามารถปรับใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีสตอเรจล่าสุดได้”

ในกรณีนี้ SDS จึงตอบโจทย์ทุกประการ ประการแรก บริษัททั้งหลายสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนสตอเรจอินฟราสตรักเจอร์ของตนเองให้เรียบง่ายขึ้น ทั้งในเชิงของฮาร์ดแวร์และบุคลากร จนถึงปัจจุบัน หลายบริษัทต่างต้องการทีมที่มีทักษะหลากหลายเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรด้านสตอเรจของตน ต้องมีทีมบริหารเซิร์ฟเวอร์ ทีมบริหารเน็ตเวิร์ก และทีมจัดการสตอเรจ แต่เมื่อเป็น SDS พวกเขาสามารถทำทั้งหมดได้ ประหยัดทั้งเวลาและบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์คือ ความรวดเร็วในการรองรับแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่สูงขึ้น และระยะเวลาเข้าสู่ตลาดที่สั้นลง และเพราะเป็นระบบที่เรียงง่าย ทำให้การดูแลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงด้วยเช่นกัน

 

โซลูชัน SDS ขั้นสูงจากเลโนโว่

ในช่วงเริ่มต้นของ SDS ไม่มีคำจำกัดความของมาตรฐานว่าคืออะไร ไม่มีรายการฟีเจอร์ความสามารถที่แยกแยะเฉพาะให้เป็นระบบ SDS “ปัจจุบัน SDS หมายถึง กลุ่มของโซลูชันสตอเรจจำนวนมาก และใช้ประโยชน์จากสตอเรจเวนเดอร์หลากหลายเจ้า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านสตอเรจทุกรูปแบบ” นักวิเคราะห์ ESG สก็อต ซินแคลร์ กล่าว ในขณะที่เวนเดอร์บางรายใช้จุดขายที่ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนของ SDS อีกหลายรายก็ใช้จุดเด่นที่ความยืดหยุ่นสูงและมีความคล่องตัว อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่คล้ายกันที่ทุกโซลูชันต้องมี คือ การจัดการสตอเรจในลักษณะเชิงนามธรรม แทนที่กรจัดการผ่านฮาร์ดแวร์เช่นเดิม ทำให้สตอเรจอินฟราสตรักเจอร์ใหม่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ประยุกต์ใช้งานได้สะดวกขึ้น และรองรับการขยายตัว ไม่ว่าจะจัดการหรือขยายขนาดก็ทำได้อย่างง่ายดาย

ตามที่นักวิเคราะห์ที่ ESG ได้ให้การศึกษาไว้ เลโนโว่คือหนึ่งในไม่กี่ผู้ให้บริการด้านโซลูชัน SDS ขั้นสูง และในฐานะผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ เลโนโว่จึงมุ่งเน้นไปที่ความพยายามในการพัฒนาด้านสตอเรจ และการอินทิเกรตเชื่อมต่อกับโซลูชัน SDS ที่ทันสมัย “ต้องขอขอบคุณในความร่วมมือกับผู้ให้บริการโซลูชัน SDS ชั้นนำ อาทิ Nexenta และ Cloudian ทำให้เลโนโว่มีผลิตภัณฑ์ในตระกูลโซลูชัน SDS ที่ตอบโจทย์ความสามารถด้านสตอเรจอย่างครบถ้วน” ซินแคลร์ กล่าว

ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์จากเลโนโว่ เมาโร ลอตติ อธิบายเพิ่มเติมว่า “เราไม่ใช่ผู้จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ ดังนั้นเราจึงไม่ต้องรับผิดชอบเป็นกังวลกับผลิตภัณฑ์สตอเรจดั้งเดิม” สิ่งนี้ช่วยให้เลโนโว่สามารถจับมือสร้างพันธมิตรร่วมมือกับเวนเดอร์ได้อย่างหลากหลายและมีอิสระในการพัฒนาโซลูชันสตอเรจรุ่นใหม่ ดังนั้นด้วยการผสานประสบการณ์ของตัวเองที่มีในตลาดเซิร์ฟเวอร์และฮาร์ดแวร์พร้อมด้วยซอฟต์แวร์จากเวนเดอร์โซลูชัน SDS ชั้นนำ ทำให้เลโนโว่สามารถสร้างสรรค์โซลูชันที่ตอบโจทย์ครบวงจรได้อย่างแท้จริง

กลุ่มผลิตภัณฑ์ StorSelect ของเลโนโว่ ในปัจจุบันประกอบด้วย 3 โซลูชันด้าน SDS ที่ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่แตกต่างกัน:

 

 

  • DX8200N: พัฒนาร่วมกับ Nexenta เป็นอุปกรณ์สตอเรจสำเร็จรูปที่รองรับโพรโตคอลอย่างหลากหลาย ทั้ง FC, iSCSI, NFS และ SMB โดยเป้าหมายออกแบบมาเพื่อการจัดการทรานส์แอกชันประสิทธิภาพสูงอย่างเวอร์ชวลไรเซชันและฐานข้อมูล ด้วยการรองรับมัลติโพรโตคอล จึงเหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมแบบดั้งเดิมหรือสำหรับการแบ็กอัพ
  • DX8200C: พัฒนาร่วมกับ Cloudian โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างระบบสตอเรจแบบออปเจ็กต์ เพื่อรองรับการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรองรับการทำงานร่วมกับ Amazon Simple Storage Service (Amazon S3) จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ และยังตอบโจทย์การแบ่งปันข้อมูลทั่วไปทั้งในระดับภายในดาต้าเซ็นเตอร์หรือระดับภูมิภาค
  • DX8200D: พัฒนาโดย DataCore เป็นสตอเรจสำเร็จรูปที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างบล็อกหรือไฟล์สตอเรจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่ยังคงบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้เหมาะสำหรับโซลูชันแบบเทิร์นคีย์ที่ง่ายต่อการขยายตัว เริ่มต้นด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบสตอเรจแบบเดิม โดยยังคงให้ความพร้อมใช้งาน เสถียรภาพและฟังก์ชันการทำงานที่ตอบโจทย์

 

เมาโร ลอตติ จากเลโนโว่ เชื่อมั่นว่าการพัฒนา SDS มีอนาคตที่สดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาคาดการณ์ว่าจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการสตอเรจมากขึ้น แม้ว่าระบบเก่ายังคงมีบทบาทสำคัญอยู่ในปัจจุบันก็ตาม แต่เขาประเมินว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอินเทอร์เฟสแบบมาตรฐานเปิดเพิ่มขึ้น “สิ่งนี้จะช่วยให้เราสร้างระบบการจัดการแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถรับสภาพแวดล้อมด้านสตอเรจทั้งหมดได้ผ่านอินเทอร์เฟสเดียว”

อีกส่วนหนึ่งของการเติบโตที่มีแนวโน้มในอนาคตคือ สตอเรจแบบแฟลซ แม้ว่าแฟลซอาเรย์ จะพร้อมใช้งานแล้วในปัจจุบัน แต่ลอตติ คาดการณ์ว่าจะมีการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากตามความต้องการของผู้ใช้ที่ไม่เพียงแต่ต้องการความยืดหยุ่น แต่ยังคงต้องการความรวดเร็วนการตอบสนอง เพราะความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลจะกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮาร์ดไดร์ฟแบบโซลิกสเตจ ช่วยเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงได้อย่างมหาศาล

และในท้ายที่สุด ลอตติ เห็นว่ายังมีอนาคตที่สดใสในการพัฒนาระบบอัตโนมัติในด้านนี้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลเชิงนโยบาย การย้ายข้อมูลอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านประสิทธิภาพ และการจัดการข้อมูลซ้ำซ้อนอย่างชาญฉลาด รวมถึงกลไกการเตรียมข้อมูลล่วงหน้า

“SDS เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนสูง แต่ตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทมากมายอย่างจับต้องได้” ลอตติ กล่าวว่าการพัฒนาพึ่งเริ่มต้น “SDS ไม่เพียงตอบโจทย์การขยายสภาพแวดล้อมของสตอเรจ แต่ SDS ถือเป็นมิติใหม่ของการจัดการข้อมูลอย่างแท้จริง”

ข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้ที่ think-progress.com

 

มุมมองขององค์กรต่างๆ กับ Software-defined Storage

ได้มีการทำแบบสอบถามในประเด็นคำถามว่า อะไรแสดงถึงมุมมองของคุณต่อ Software-defined Storage ได้มากที่สุด (แบ่งเปอร์เซ็นต์ตามจำนวนผู้ตอบ N=373) และได้รับผลการตอบรับดังต่อไปนี้

  • เรายังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ SDS และไม่สนใจในเทคโนโลยี SDS ณ เวลานี้  3%
  • เราได้ศึกษาเกี่ยวกับ SDS แล้ว แต่ยังไม่สนใจในเทคโนโลยี SDS ณ เวลานี้ 1%
  • ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ SDS เลย 13%
  • องค์กรของเราสนใจในแนวคิด SDS และกำหนดให้เป็นกลยุทธ์ระยะยาว แต่เรายังไม่พร้อมเริ่มต้นในเวลานี้ 23%
  • องค์กรเราเตรียมลงทุน SDS เป็นกลยุทธ์ระยะยาว และเราได้เริ่มดำเนินการอิมพลีเมนต์ SDS ไปแล้ว 20%
  • องค์กรของเรา องค์กรเราเตรียมลงทุน SDS เป็นกลยุทธ์ระยะยาว และเราอยู่ระหว่างการประเมินทางเทคโนโลยี การวางแผนสำหรับเทคโนโลยี SDS 40%

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย