ท่ามกลางโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลนี้ การเชื่อมต่อเครือข่ายหรือ Internet ระหว่างสาขาและหน้าร้านนั้นได้กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการที่ธุรกิจใดๆ จะสามารถเข้าถึง Business Application เพื่อการดำเนินธุรกิจให้ได้อย่างไม่ขาดช่วงนั้น ย่อมหมายถึงการที่ธุรกิจต้องสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายหรือ Internet ได้อย่างเสถียรมั่นคง
SD-WAN ได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีกระแสหลักที่หลายธุรกิจองค์กรให้ความสนใจและลงทุนใช้งาน ทั้งด้วยเหตุผลทางธุรกิจในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความต่อเนื่องในการทำงาน ไปจนถึงเหตุผลทางเทคนิคในการเพิ่มความง่ายดายในการบริหารจัดการ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน และการเสริมความมั่นคงปลอดภัย ลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจองค์กร
ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ SD-WAN ในฉบับปี 2021 กัน ว่า SD-WAN คืออะไร และปัจจุบันนี้ SD-WAN ได้ถูกพัฒนาไปอย่างไรบ้าง

SD-WAN คืออะไร? SD-WAN ทำงานอย่างไร?
SD-WAN นั้นย่อมาจากคำว่า Software-Defined WAN ซึ่งก็คือระบบ WAN ที่ถูกสร้างขึ้นและควบคุมด้วย Software เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังภายนอกผ่าน MPLS, Broadband, Fiber Optics, 4G/5G และช่องทางอื่นๆ ร่วมกันได้ โดยมีการเสริมความชาญฉลาดลงไปในระบบ เพื่อรองรับความสามารถดังตัวอย่างต่อไปนี้
- สามารถตรวจสอบคุณภาพของ Link ทุกประเภทได้แบบ Real-Time ครอบคลุมทั้งค่า Packet Loss, Jitter, Latency, MOS และสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนในการเชื่อมต่อไปยังแต่ละปลายทางได้อยู่เสมอ
- สามารถทำการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาของธุรกิจองค์กรได้อย่างง่ายดาย, มีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัย ด้วยการผสานเทคโนโลยี VPN เข้ากับการทำ Automation ในรูปแบบต่างๆ
- มีระบบ Advanced Analytics สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทราฟฟิกที่เกิดขึ้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายออกไปยังทุกปลายทาง เพื่อให้สามารถตรวจสอบหาต้นเหตุของปัญหาด้านประสิทธิภาพและคุณภาพของ Link ที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม
- สามารถกำหนดระดับคุณภาพของการใช้งาน Application แต่ละประเภทภายในเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อออกไปยัง Data Center หรือ Cloud ก็ตาม
- ช่วยเพิ่มความมั่นคงทนทานให้กับระบบเครือข่าย ด้วยการทำ Load Balancing และ Failover ระหว่างหลาย Link ร่วมกันได้
- เสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับการเชื่อมต่อได้ด้วยเทคโนโลยี Next-Generation Layer 7 Firewall, Advanced Threat Prevention, IDS/IPS, Cloud Security และอื่นๆ อีกมากมาย
- สามารถบริหารจัดการการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet และ VPN ของทุกสาขาและหน้าร้านได้จากศูนย์กลางผ่านระบบ Cloud
เทคโนโลยี SD-WAN จากผู้ผลิตแต่ละรายนั้นอาจมีคุณสมบัติ, ประสิทธิภาพ และวิธีการในการคิดค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการประเมินเลือกใช้โซลูชัน SD-WAN นั้นนอกจากการทดสอบทางเทคนิคแล้ว ประเด็นด้านความคุ้มค่าในการลงทุนถึงถือเป็นอีกประเด็นสำคัญเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดี SD-WAN นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาและถูกใช้งานจริงมาได้หลายปีแล้ว แนวคิดของการทำ SD-WAN จึงมีทั้งโซลูชันที่แยกระบบ SD-WAN ออกเป็นระบบเดี่ยวๆ และโซลูชันที่นำ SD-WAN เข้าไปผสานรวมกับโซลูชันอื่นๆ ทางด้านระบบเครือข่าย เพื่อให้การใช้งานนั้นมีความสะดวก, ง่ายดาย และคุ้มค่ายิ่งขึ้น

โจทย์ทางธุรกิจแบบใดที่ใช้ SD-WAN แล้วจึงคุ้มค่า?
เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ SD-WAN นั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกธุรกิจ แต่สำหรับธุรกิจที่กำลังเผชิญกับความท้าทายบางประการนั้น SD-WAN จะสามารถช่วยตอบโจทย์และสร้างความคุ้มค่าได้อย่างมหาศาล เช่น
- ธุรกิจที่มีสาขาจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการใช้งานทั้ง Application ใน Data Center และ Cloud ในกรณีนี้ SD-WAN จะช่วยให้ทุกการเชื่อมต่อมีความมั่นคงปลอดภัย มีความมั่นคงทนทาน และมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น โดยในสาขาหลักๆ ที่มี WAN Link หลากหลาย SD-WAN จะเข้ามาช่วยให้การใช้งาน WAN Link ทั้งหมดเป็นไปได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด ในขณะที่สำหรับสาขาขนาดเล็กหรือตามหน้าร้านต่างๆ SD-WAN จะเข้ามาช่วยให้ระบบเครือข่ายที่สาขานั้นๆ มีความมั่นคงทนทานและมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น
- ธุรกิจที่มีการใช้งาน Cloud Application หลากหลายสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมาก SD-WAN จะช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายจากแต่ละสาขาขององค์กรไปยัง Cloud นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการตรวจสอบประสิทธิภาพของเส้นทางเครือข่าย และให้บริการการเชื่อมต่อใช้งานไปยังบริการ Cloud ต่างๆ ด้วยช่องทางที่มีคุณภาพสูงที่สุดอยู่เสมอ
- ธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายกับระบบ Corporate Internet หรือ MPLS สูง การใช้ SD-WAN จะช่วยให้ธุรกิจมีทางเลือกในการใช้งาน Internet ใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อยังคงมีประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยที่สูงอยู่ ดังนั้นในกรณีนี้หากมีการคิดคำนวณและประเมินค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน SD-WAN ก็อาจสามารถตอบโจทย์ด้านการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับธุรกิจองค์กรได้
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในรูปแบบใด SD-WAN นั้นก็จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบ IT หรือระบบเครือข่ายนั้นสามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายในแต่ละสาขาได้อย่างง่ายดาย โดยถ้าหากสาขาใดๆ มีปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือ Internet ผู้ดูแลระบบก็จะมีข้อมูลแวดล้อมพร้อมแก้ไขปัญหาได้ทันที และสามารถทำการแก้ไขปัญหาได้จากศูนย์กลางผ่านระบบบริหารจัดการบน Cloud ทำให้ถึงแม้ธุรกิจจะมีหลายร้อยหรือหลายพันสาขา แต่มีผู้ดูแลระบบ IT จำนวนไม่มากนัก ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นใจไร้กังวล
ในการเลือกใช้งาน SD-WAN นั้น โจทย์สำคัญของธุรกิจองค์กรจึงควรเป็นการแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นทางด้านคุณภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายและเชื่อมต่อ Internet ของผู้ใช้งาน เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน และการลดค่าใช้จ่ายที่เคยเกิดขึ้นจากความพยายามของธุรกิจในการแก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพและคุณภาพเหล่านี้ลงนั่นเอง
เริ่มต้นใช้งาน SD-WAN ในธุรกิจของคุณได้อย่างง่ายดาย ด้วยโซลูชันร่วมกันระหว่าง AIS Business และ Cisco
สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจใช้งาน SD-WAN เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขา, หน้าร้าน และ Cloud เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ AIS Business ได้มีความร่วมมือกับ Cisco ในการให้บริการ SD-WAN ที่พร้อมใช้งานได้อย่างง่ายดายทันที พร้อมบริการ Corporate Internet และ 5G เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการเชื่อมต่อเครือข่ายของคุณจะเป็นไปอย่างหลื่นไหล มีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัย
ติดต่อทีมงาน AIS Business เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือทดสอบการใช้งานได้จากทีมขายที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://business.ais.co.th/solution/SD-WAN-connectivity-service.html และสามารถลงทะเบียนเพื่อรับฟังสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ Accelerating your Network by SD-WAN ที่จะจัดในวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ได้ที่ https://app.livestorm.co/ais/network-jump-webinar-accelerating-your-network-by-sd-wan