
ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นศูนย์รวมระบบเพื่อการให้บริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อมูล บริการ การเชื่อมต่อต่างๆที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก อย่างไรก็ดีการให้บริการทั้งหมดนี้จะต้องถูกควบคุมสภาพแวดล้อมให้เป็นไปตามข้อมูลกำหนดเพื่อให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้เองดาต้าเซ็นเตอร์จึงยังพูดถึงเรื่องของบริการจัดการคุณภาพของไฟฟ้า ระบบระบายอากาศ ความเย็น ความชื้น ระบบถ่ายเทความร้อน ตลอดจนมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งปกติแล้วในดาต้าเซนเตอร์เองจะมีซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้อยู่ที่เรียกว่า Data Center Infrastructure Management (DCIM) สำหรับในบทความนี้ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโซลูชัน EcoStruxure IT Expert จาก Schneider Electric ที่ถูกออกแบบมาให้รองรับกับสถาการณ์ของดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันที่เรียกว่า DCIM 3.0
พัฒนาการสู่ DCIM 3.0 และความหมายที่แท้จริงของ DCIM
Gartner ได้นิยามความหมายของโซลูชัน DCIM ว่า ‘เครื่องมือ’ ที่ใช้มอนิเตอร์ เป็นมาตรวัด บริหารจัดการหรือควบคุมการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์และการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหมายรวมถึงอุปกรณ์ไอทีทั้งหมดเช่น เซิร์ฟเวอร์ สโตเรจ อุปกรณ์เครือข่าย ตลอดจนส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเช่น หน่วยจ่ายไฟ เครื่องระบบปรับอากาศ เป็นต้น อย่างไรก็ดี Schneider Electric แบ่งพัฒนาการของ DCIM เป็น 3 ยุคดังนี้
DCIM 1.0 เริ่มต้นตั้งแต่หลายสิบปีก่อนที่เครื่องพีซีเซิร์ฟเวอร์ต้องการระบบ UPS เข้ามาช่วยและต้องมีซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ซอฟต์แวร์เพื่อมอนิเตอร์และติดตามอุปกรณ์ถือกำเนิดขึ้น ปีค.ศ. 2000 จำนวนพีซีและเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้เกิดความต้องการของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งความท้าทายที่ตามมาคือผู้ประกอบการต้องจัดการความท้าทายด้านพื้นที่ ระบบไฟฟ้า ความเย็น โดยต้องตอบคำถามเรื่องประสิทธิภาพให้เพียงพอ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของซอฟต์แวร์ DCIM ยุค 2.0 ที่ตอบสนองความต้องการใหม่อย่างเช่น PUE รวมถึงความสามารถในการวางแผนและแปลนของดาต้าเซนเตอร์ด้วย
20 ปีต่อมาดาต้าเซ็นเตอร์มีความสำคัญกว่าที่เคยเพราะต้องรองรับการให้บริการที่สำคัญยิ่ง องค์กรต่างตื่นตัวกับเรื่อง ความยั่งยืน ความมั่นคงปลอดภัยและความทนทาน ตลอดจนต้องมองภาพให้ไกลไปถึงผู้ใช้และแอปพลิเคชัน โดย Schneider Electric มองเห็นปัญหาเหล่านี้ดีจึงได้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านั้นผ่านโซลูชัน EcoStruxure IT นั่นเอง โดยรองรับการใช้ทั้งแบบ On-prem หรือ Cloud ทั้งนี้ก็เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ไซต์มีการกระจายตัวออกไป
DCIM ถูกแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ 1.) Monitor & Automation โดยส่วนแรกกล่าวถึงการติดตามและความเป็นอัตโนมัติของห้องปฏิบัติการด้านไอทีและสิ่งอำนวนความสะดวกด้านไฟฟ้า การควบคุมสภาพแวดล้อม และความมั่นคงปลอดภัย ทั้งหมดนี้เพื่อการันตีว่าดาต้าเซ็นเตอร์จะสามารถให้บริการได้ตามการออกแบบ รวมถึงสามารถแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุตามค่าที่กำหนดและจัดทำรายงานแบบเรียลไทม์ได้ 2.) Planning & Implementation ช่วยเหลือให้ผู้ดูแลไอทีปรับเปลี่ยนดาต้าเซ็นเตอร์ หรือการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่เข้ามาและติดตามสินทรัพย์ เนื้อหาต่อไปนี้เราโฟกัสเครื่องมือด้าน Monitoring ที่ชื่อว่า EcoStruxure IT Expert
ฟีเจอร์สำคัญของ EcoStruxure IT Expert
EcoStruxure IT Expert เป็นเครื่องสำหรับมอนิเตอร์ระบบภายในดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักๆตามภาพประกอบคือ ซอฟต์แวร์สำหรับรวบรวมข้อมูลในดาต้าเซ็นเตอร์ (EcoStruxure IT Gateway) การติดตั้งก็ง่ายมากเพียงแค่ผู้สนใจดาวน์โหลดซอฟต์แวร์(ฟรี)นี้เข้าไปติดตั้งในเครื่องบนดาต้าเซ็นเตอร์ของตน โดยสามารถรองรับข้อมูลผ่านโปรโตคอลมาตรฐานทางอุตสาหกรรมเช่น SNMP, Modbus และอื่นๆ กล่าวคือรองรับอุปกรณ์จากยี่ห้อต่างผ่านโปรโตคอลมาตรฐาน จากนั้นตัว Gateway จะนำส่งข้อมูลสู่คลาวด์ในลำดับถัดไป (data lake)

ข้อดีของระบบคลาวด์คือทำให้ผู้จัดการดาต้าเซนเตอร์สามารถดูแลระบบจากที่ใดก็ได้ ในทางกลับกันไม่ว่าดาต้าเซนเตอร์จะอยู่ที่ใดของโลกก็ถูกจัดการได้จากส่วนกลางในหน้าจอเดียว อีกทั้งกำจัดความยุ่งยากของ DCIM แบบเดิมในเรื่องของการดูแลเซิร์ฟเวอร์เช่น ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการอัปเดตเวอร์ชันของแอปพลิเคชัน ไม่เพียงเท่านั้น EcoStruxure IT ยังมาพร้อมกับแอปพลิเคชันบนมือถือที่ใช้ได้บน iOS และ Android เรียกได้ว่าเป็น DCIM ยุค 3.0 ที่เน้นความคล่องตัวอย่างแท้จริง
ฟีเจอร์ของ EcoStruxure IT Expert มีดังนี้
1.) Dashboard
เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าใจถึงภาพรวมสถานการณ์ภายในองค์กร หน้า Dashboard จะคอยปักหมุดเหตุการณ์สำคัญอย่างแจ้งเตือนต่างๆ ซึ่งท่านสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ทันที โดยมีการแบ่งระดับตามระดับความร้ายแรง และรายชื่อติดต่อผู้ดูแลในเคสเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีหน้าแผนที่ที่แสดงพิกัดของอุปกรณ์ได้ว่าไซต์อยู่ที่ใด โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างพื้นที่ย่อยได้อีกหลายระดับตอบความต้องการ รวมถึงสามารถปรับแต่งมุมมองของ Dashboard เองได้ด้วย


2.) Inventory & Benchmarking
คลังข้อมูลเก็บรวมรวบอุปกรณ์ที่ทุกอย่างในระบบที่เราทำการติดตาม โดยท่านสามารถค้นหาอุปกรณ์ได้ตามชนิดการทำงาน ยี่ห้อ โมเดล หรือการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้น เลขไอพี และไซต์ที่อุปกรณ์ตั้งอยู่

เมื่อคลิกเข้าไปแล้วท่านสามารถติดตามรายละเอียดย่อยได้เช่น เฟิร์มแวร์เวอร์ชัน เลขซีเรียล และมาตรวัดต่างๆ ผู้รับผิดชอบดูแล ซึ่งในอุปกรณ์บางประเภทท่านสามารถชมการเปรียบเทียบกับการใช้งานของลูกค้าอื่นๆในสารระบบของ EcoStruxure Data Lake เพื่อดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีสถานะเป็นอย่างไรเทียบกับคนอื่นที่ใช้งานเหมือนกัน ดังภาพตัวอย่างด้านล่างจะแสดงการเปรียบเทียบในผลิตภัณฑ์ UPS

3.) Alarming
หน้านี้จะแสดงถึงการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้นของระบบ โดยผู้ใช้งานสามารถกรองการค้นหาได้หลากหลายมุมมองเช่นเดียวกับเมนู Inventory ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ผู้ดูแลสามารถใช้เพื่อค้นหาต้นตอของปัญหาได้อย่างแท้จริง ในกรณีของลิสต์ที่มากเกินไปท่านสามารถเลือกปิดการแจ้งเตือนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ ในเมนูนี้ยังสามารตั้งค่าช่องทางการแจ้งเตือนได้อีกด้วยเช่น อีเมล หรือระบบออก Ticket ขององค์กร

4.) Management
ผู้ใช้งานสามารถทำการโหลดคอนฟิคอุปกรณ์ได้ผ่านช่องทางนี้ รวมไปถึงการอัปเดตเฟิร์มแวร์ต่างๆ ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการอุปกรณ์ได้จากระยะไกลนั่นเอง

5.) Assessment
เมนูนี้มีความสามารถหลัก 2 ฟังก์ชันคือการพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพของการใช้งาน โดยระบบจะทำการประเมินสุขภาพของอุปกรณ์ ประเมินและแนะนำเกี่ยวกับอายุการใช้งาน ทำให้องค์กรสามารถวางแผนการเปลี่ยนอุปกรณ์ได้แบบ Proactive ก่อนเกิดเหตุ

ปกติแล้วอุปกรณ์ในดาต้าเซนเตอร์อาจหลุดเรื่องความมั่นคงปลอดภัย โดยพื้นฐานแล้วก็คือการใช้งานซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุด ซึ่งในหน้า Security Assessment จะแสดงภาพรวมว่าการคอนฟิคเป็นอย่างไร มีอุปกรณ์จำนวนเท่าไหร่ที่ควรอัปเดตเฟิร์มแวร์ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ดังนั้นภาพเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันดาต้าเซ็นเตอร์ขั้นพื้นฐาน

นอกจากความสามารถที่กล่าวมาแล้วท่านยังสามารถกำหนดขอบเขตการใช้งานโปรแกรมได้ผ่านเมนู Administration ว่าใครมีสิทธิ์ในการมองเห็นอะไรได้บ้าง ตลอดจนบังคับใช้การพิสูจน์ตัวตนแอคเค้าน์ด้วย 2 Factors Authentication มุมของการใช้งานข้อดีของการเป็น SaaS คือความยืดหยุ่นสูงเพราะ License การใช้งานจะถูกคิดตามจำนวนอุปกรณ์ที่ต้องการมอนิเตอร์แบบรายปี
ในมุมของ Managed Service Provider ท่านสามารถแบ่งการมองเห็นของลูกค้าเป็นรายย่อยๆได้ โดยลูกค้าและผู้ให้บริการจะมองเห็นอุปกรณ์ได้เหมือนกัน ทำให้ MSP สามารถรับเหมาในการดูแลอุปกรณ์ได้ หรือสร้างเป็นบริการอื่นๆเข้ามาต่อยอดได้
สนใจทดสอบใช้งานหรือปรึกษาทีมงาน Schneider Electric
ท่านใดต้องการทดสอบโซลูชันท่านสามารถเข้าไปชมผ่านหน้าเมนู IT Expert Demo โดยไม่ต้องลงทะเบียนตามภาพด้านล่าง

หรือหากต้องการทดลองแบบเต็มฟังก์ชันได้ฟรีถึง 30 วัน ที่ https://ecostruxureit.com/ecostruxure-it-expert/

EcoStruxure IT เป็นเพียงส่วนหนึ่งในโซลูชันคลาวด์ EcoStruxure เท่านั้น ท่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EcoStruxure ได้ที่ https://www.se.com/th/th/work/campaign/innovation/overview.jsp
หากท่านต้องการคำปรึกษาจาก Schneider Electric สามารถติดต่อทีมงานได้ที่ Contact Sales ทางทีมงานจะติดต่อกลับไปหาท่านอย่างเร็วที่สุด