
การออกแบบ Data Center สำหรับปี 2025 จำเป็นต้องคิดต่างจากในอดีต สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนฐานสู่ยุคแห่ง AI ทำให้ต้องการพลังประมวลผลสูงขึ้น ที่ส่งผลต่อการบริโภคพลังงานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งกับแนวคิดด้านความยั่งยืนที่องค์กรแสวงหา อย่างไรก็ตามการออกแบบและการบริหารจัดการ Data Center ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะมีโจทย์หลักๆ 3 ข้อที่ทุกองค์กรควรต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ก็คือ Resiliency, Cybersecurity, และ Sustainability จากโจทย์ทั้งหมดนี้ภาพของการบริหารจัดการ Data Center จึงต้องเปลี่ยนแปลง แต่จะเป็นไปอย่างไรมาติดตามมุมมองจาก Schneider Electric ได้ในบทความนี้

ความท้าทายจาก AI และการกระจายตัวของ Data Center
การมาถึงของ AI ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเห็นได้ชัดจากการเพิ่มจำนวนของ Data Center รวมถึงระบบ Infrastructure ต่างๆ ที่ต้องออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของ AI ที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงโดยเฉพาะ โดย Schneider Electric ที่อยู่ในอุตสาหกรรมของ Data Center ก็มองเห็นแนวโน้มนี้เช่นกัน
ปัจจุบันแนวโน้มของ AI Server นั้นจะไม่ได้จำกัดอยู่ Core Data Center เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งเทรนด์ของการที่ AI Server จะถูกกระจายตัวไปอยู่ตาม Edge Data Center ยังจุดต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากหลายๆองค์กรเริ่มมีความต้องการที่จะนำ AI มาใช้งานและประมวลผลภายในองค์กรของตนเอง แต่นั่นกลับนำไปสู่ประเด็นท้าทายในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ Data Center อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย และยั่งยืนเพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องการมากขึ้น แต่เรื่องกลับไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะด้วยปัญหาบุคลากรที่จำกัด แล้วเราจะจัดการความท้าทายนี้ได้อย่างไร
ในอีกทางหนึ่งหลายๆองค์กรก็มองหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ Data Center โดยการเอาความสามารถของ AI เข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการ แต่คำถามคือหน้าตาของโซลูชันที่ว่าจะเป็นอย่างไร
DCIM โฉมใหม่ฉบับปี 2025 และอนาคต
ซอฟต์แวร์บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน Data Center (Data Center Infrastructure Management : DCIM) แต่เดิมถูกคาดหวังแค่เพียงหน้าที่ในเรื่องของการมอนิเตอร์ แจ้งเตือน และจัดการ Data Center โดยครอบคลุมเรื่องอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน Data Center อย่าง ระบบไฟฟ้า ระบบ UPS ระบบทำความเย็น ระบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมต่างๆ คอนเซปต์พื้นฐานเหล่านี้ยังคงต้องเป็นไป แต่นั่นไม่เพียงพอสำหรับความต้องการในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและความต้องความต่อเนื่องของระบบตลอดเวลา

การบริหารจัดการ Data Center ในยุคปัจจุบันนั้นจะต้องเริ่มจากอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบได้ (Connected Device) เพื่อส่งข้อมูลที่สำคัญต่าง ไปยังซอฟต์แวร์ DCIM แต่ไม่ใช่แค่เพื่อการมอนิเตอร์และแจ้งเตือนเท่านั้น แต่ตัวซอฟต์แวร์ DCIM ควรจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Software Analytics) และต้องสามารถให้คำแนะนำเชิงลึก (Detail Operational Insights) เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเหตุขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้า รวมถึงคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของโซลูชัน EcoStruxure IT จาก Schneider Electric
จากความท้าทายข้างต้น Schneider Electric จึงได้แนะนำ DCIM ที่ดีว่าควรมี 7 คุณสมบัติ เหล่านี้
- รองรับการใช้งานได้ทั้งในรูปแบบคลาวด์ (Cloud-based Software) เพื่อความง่ายและยืดหยุ่นในการใช้งานและความสามารถที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็เปิดกว้างสำหรับการใช้งานแบบ On-premise Software สำหรับองค์กรที่มีข้อบังคับเข้มงวด
- รองรับการบริหารจัดการอุปกรณ์โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ กล่าวคือเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับข้อมูลได้จากอุปกรณ์ทุกค่าย (Vendor Agnostic)
- รองรับการบริหารจัดการ Data Center แบบรวมศูนย์ที่สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานได้ทุกชนิด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบ UPS ระบบการทำความเย็น ข้อมูลสภาพแวดล้อมในห้อง และ อื่นๆ จากหลายๆไซต์ที่ ได้ในแดชบอร์ดเดียว (Single Pane of Glass Dashboard) รวมถึงการมี Mobile Application เพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในยุคสมัยปัจจุบัน
- มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ (Operation Insights) ในเรื่องของการบริหารจัดการ Data Center หรือมุมมองอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการเสื่อมของแบตเตอรี่ การวิเคราะห์การใช้งานของ UPS การวิเคราะห์และให้คำแนะนำเพื่อปิดช่องโหว่ด้าน Cybersecurity เป็นต้น
- มีความสามารถในการทำ Digital Twin ในการสร้าง Model จำลองของห้อง Data Center ที่ละเอียดได้ตั้งแต่ระดับ Floor level จนถึงระดับตู้แร็กว่าภายในตู้แร็กนั้นมีอุปกรณ์อะไรอยู่บ้าง ประโยชน์เพื่อการวิเคราะห์และการให้คำแนะนำเชิงลึกเช่น 2D/3D Asset Management, Data Center Capacity Planning, Impact Analysis, Cooling Analysis, Server Placement Recommendation เป็นต้น
- สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับ Software ด้านอื่นๆในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นระบบ Building Management System (BMS) หรือระบบ IT Service Management (ITSM) เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร
- มีความสามารถด้าน AI ที่สามารถช่วยวิเคราะห์การทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การใช้ AI มาช่วยในการบริหารจัดการระบบ Cooling ซึ่งเป็นระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดของห้อง Data Center ให้มีการทำงานที่ฉลาดและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น โดย AI สามารถวิเคราะห์และคำนวณสภาพแวดล้อมในห้อง Data Center ณ เวลาต่างๆ และสั่งการควบคุมระบบ Cooling ให้ทำงานตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นด้านความยั่งยืนที่องค์กรมองหา

และทั้งหมดนี้คือแนวทางที่ Schneider Electric ได้นำเสนอผ่านคอนเซปต์ DCIM 3.0 หรือโซลูชัน EcoStruxure IT ซึ่งช่วยให้องค์กรเอาชนะความท้าทายใน Data Center ให้ทำงานได้ต่อเนื่องทนทาน (Resilient) มั่นคงปลอดภัย (Secure) และตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน (Sustainable) เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ DCIM
ติดตามเนื้อหาฉบับเต็มได้จากวีดีโอย้อนหลังงาน TTT Virtual Summit: Enterprise Tech & AI Trends 2025 หัวข้อ “พลิกโฉม IT Infrastructure ให้ยืดหยุ่น มั่นคงปลอดภัยและยั่งยืน” โดยคุณสัณห์ ชูสังข์ EcoStruxure IT Account Manager – Indochina and Pacific จาก Schneider Electric
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก Schneider Electric ได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์