สัมภาษณ์ SAP กับการทำ Economy Digitization ในประเทศไทย และความเร็วในการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปตลอดกาล

พอดีทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับคุณลีเฮอร์ ออบิซูร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดจีน ที่ออฟฟิศ SAP ประเทศไทย ก็ได้มุมมองอะไรที่น่าสนใจมานำเสนอผู้อ่านทุกท่านกันครับ

SAP0308

การสื่อสารมีวิวัฒนาการตลอดเวลา

ในปัจจุบันนี้ มนุษย์เราได้สร้างข้อมูลขึ้นมาปริมาณมหาศาลมากกว่าช่วงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ผ่านมาทั้งหมดรวมกัน และการสื่อสารก็เริ่มก้าวไปไกลเกินกว่าเพียงแค่การสื่อสารกันเองระหว่างมนุษย์ ไปถึงยุคของการสื่อสารกับสิ่งต่างๆ จากการมาของเทคโนโลยี Internet of Things คำถามของธุรกิจในตอนนี้ก็คือ เราจะปรับตัวอย่างไรให้เหมาะสมกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้องค์กรของเรามีองค์ความรู้มากขึ้นผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขนส่ง หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งนี่จะเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในการทำ Digitization สำหรับภาคธุรกิจที่มีความสมบูรณ์ยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา

ประโยชน์ที่น่าสนใจมากอันหนึ่งของการทำ Digitization ในภาคธุรกิจ ก็คือการทำให้เข้าถึงลูกค้าหรือ Channel ใหม่ๆ ได้ และสามารถพูดคุยกับลูกค้าของเราได้แบบส่วนตัวมากขึ้น และองค์กรก็สามารถสื่อสารกับพนักงานภายในองค์กรได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันการมาของ Internet of Things ก็จะทำให้ Operation ต่างๆ ในธุรกิจสามารถทำ Digitization ได้ลึกมากขึ้นกว่าก่อน

 

Economy Digitization ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย ความพยายามในการทำ Economy Digitization ในรูปของ Digital Economy ก็ทำให้เกิดการผลักดันในประเด็นทางการด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ และการปรับปรุง IT Infrastructure ให้มีความพร้อมต่อการมาของ Digital Economy ก็กลายเป็นประเด็นที่สำคัญมากในการที่จะเปิดให้ภาคธุรกิจสามารถใช้งาน Infrastructure เหล่านี้ได้ทันที ในขณะที่หน่วยงานรัฐเองก็ได้เริ่มปรับการให้บริการประชาชนมาอยู่ในรูปของ Digital มากขึ้น ซึ่งจะสร้างคุณค่าได้อย่างมหาศาลจากการทำให้ภาครัฐสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการสื่อสารกับประชาชนที่ดีขึ้น โดยตัวชี้วัดที่น่าสนใจก็คือ ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรไทยก็ใช้ LINE อยู่ และการเติบโตของการใช้เทคโนโลยี Smartphone ซึ่งก็แปลว่าภาคประชาชนก็มีความพร้อมที่จะปรับตัวรับกับเทคโนโลยีและเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ในอนาคต

สำหรับภาคธุรกิจก็จะมีโจทย์ว่าจะเอาธุรกิจมาทำ Digitization เพื่อแปลงไปเป็นระบบ Online ได้อย่างไร รวมถึงจะเอากระบวนการการทำงานขึ้นมาในรูป Digital ได้อย่างไร ซึ่งถ้าดูจากกลุ่มคนทำงานที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ก็จะมีวิธีการในการติดต่อสื่อสารทีแปลกใหม่ออกไปจากอีเมลล์ ไม่ว่าจะเป็น LINE หรือ Facebook ก็ตาม

ในภาพรวมการทำ Digital Economy คือการสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีกำลังการผลิตสูงขึ้น และการนำ Cloud Technology มาช่วยก็จะทำให้เทคโนโลยีสามารถใช้งานได้เร็วขึ้น และจัดการได้ง่ายขึ้นด้วย โดยองค์กรไม่ต้องลงทุน Infrastructure หรือดูแลด้วยตัวเองอีกต่อไป จนท้ายที่สุดเมื่อนำเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ไปใช้ในองค์กร ก็จะทำให้ขั้นตอนการทำงานและการติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น, การรักษาคนที่มีคุณภาพไว้ในองค์กรได้ง่ายขึ้น และยังดูแลรักษาระบบ IT ได้ง่ายขึ้นไปพร้อมๆ กัน ในขณะที่การสร้างธุรกิจใหม่ๆ ก็จะง่ายขึ้น มุ่งเน้นไปที่ความคิดมากขึ้น เพราะการทำให้ธุรกิจต่างๆ เป็นจริงขึ้นมาได้นั้นจะง่ายขึ้นและเร็วขึ้นได้ด้วย Digital Economy ในขณะที่ Time to Market ของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะสั้นลงเป็นอย่างมาก

ตัวอย่างหนึ่งคือ E-Commerce ที่ Gartner ได้ยกมาเป็นตัวอย่าง ว่าปัจจุบันเริ่มมีการ Integrate ธุรกิจเข้ากับ Channel การขายต่างๆ ในแบบ Online ทั้งผ่านเว็บไซต์และ Social Media ซึ่งก็ทำให้สามารถแต่ละธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น และรับทราบ Feedback ที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ดีขึ้นไปด้วยเป็นเงาตามตัวในแบบเกือบจะ Real-time และนั่นคือความเร็วที่จะเปลี่ยนไปในการทำธุรกิจหลังจากนี้

 

SAP กับ Economy Digitization

ทางด้าน SAP ก็ได้มีการตอบรับโจทย์นี้ด้วยการเปิดตัว SAP Digital ซึ่งเป็นบริการ Cloud เพื่อตอบรับการมาของ Digital Organization โดยเฉพาะ ทำให้ลูกค้าองค์กรมีทางเลือกในการลงทุนเป็น Cloud เพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก On-premise อย่างในอดีต และช่วยจัดการการบริหารจัดการการเงินองค์กร, การจัดซื้อ และกระบวนการอื่นๆ ในการทำธุรกิจได้ในแบบ Online ทันที รวมถึงการจ่ายเงินก็จะเป็นแบบ Pay-per-Use ด้วย ซึ่งจะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวใหญ่อีกก้าวถัดมาจากการเปิดตัว SAP HANA ไปก่อนหน้านี้

ทั้งนี้การปรับมาใช้เทคโนโลยีล่าสุดอย่าง SAP HANA ที่เป็น In-memory Based ก็ช่วยให้ Application มีความรวดเร็วมากขึ้น และลดความซับซ้อนของ Application ลงไปพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้นจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นมา และทำให้การทำงานของ SAP Application เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก ด้วยความสามารถในการสร้างรายงานหรือนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ในแบบเกือบจะ Real-time เพื่อนำเสนอได้บนทุกอุปกรณ์ และยังสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ส่งผลต่อเนื่องให้ธุรกิจมีความคล่องตัวสูงขึ้น สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ Digital Economy เป็นอย่างมาก

ใน SAP HANA มี Application Suite สำหรับแต่ละ Industry มาให้เลยทั้งสิ้น 25 กลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ง่ายต่อการนำไปปรับใช้งานมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร, โรงพยาบาล, โรงงาน หรืออื่นๆ ก็ตาม โดยโซลูชั่นที่มีความคล้ายคลึงกันในต่างกลุ่มอุตสาหกรรมก็จะใช้ Core เทคโนโลยีเดียวกันแต่มีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมไป

ถ้ามองจากมุมมองของผู้บริหาร ผู้บริหารก็ต้องการรายงานต่างๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์มากมาย ซึ่งใน SAP HANA ก็จะมี Template ต่างๆ มาสำหรับสร้างรายงานพื้นฐานที่จำเป็นทางธุรกิจได้เลยในแบบ Real-time แล้ว และทำให้สามารถโต้ตอบกับความต้องการในตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงอาจได้เปิดมุมมองหรือแนวทางใหม่ๆ จาก Template เหล่านี้ที่ SAP ออกแบบมาจากความต้องการของลูกค้าด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่

อีกประเด็นที่น่าสนใจของการทำ Digitization ก็คือการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรและพาร์ทเนอร์ต่างๆ ที่ระบบจะต้องมีการเชื่อมต่อกันเพื่อให้เกิดการซื้อขายกันได้อย่างง่ายดาย รวมถึงยังสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่าย Supply Management ขนาดใหญ่อย่าง Ariba ได้อีกด้วย

 

อิสระด้วยทางเลือกในการติดตั้งที่หลากหลาย ตามสถาปัตยกรรมและการออกแบบตามต้องการ

SAP ได้เพิ่มทางเลือกให้กับองค์กรต่างๆ ในการติดตั้งระบบได้ตามความต้องการ โดยองค์กรสามารถเลือกติดตั้งใช้งานอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นได้ทันทีบน Cloud หรือติดตั้งภายในองค์กรเองแบบ On-premise เพื่อให้มั่นใจในการเก็บรักษาข้อมูลที่ Confidential เอง หรือแม้แต่การติดตั้งแบบ Hybrid ที่จะช่วยให้องค์กรปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า ด้วยการเพิ่ม Module ใหม่ๆ ที่ไม่มีประเด็นเรื่อง Data Confidentiality ได้แทบจะทันทีบน Cloud ในขณะที่ Module หลักที่มีข้อมูลสำคัญขององค์กรก็ยังติดตั้งใช้งานภายในองค์กรแบบ On-premise

ไม่เพียงแต่องค์กรขนาดใหญ่ที่จะได้ประโยชน์จาก Cloud ของ SAP เท่านั้น แต่ธุรกิจ SMB เองก็สามารถเริ่มต้นใช้ SAP บน Cloud ได้ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมาก ทำให้การดำเนินธุรกิจทุกขนาดสามารถทำการ Digitization ด้วย SAP ได้อย่างครอบคลุม

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ บริการ Cloud ของ SAP นั้นมีความยืดหยุ่นรองรับต่อกฎหมายของแต่ละประเทศ โดย SAP เองจะมีทีมงานคอยทำการปรับแต่ง Business Process ที่เป็น Best Practice ให้ตอบรับต่อกฎหมายของแต่ละประเทศโดยเฉพาะ ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่ต้องลงทุนจ้างทีมงานภายนอกมาปรับแต่ง SAP ในประเด็นนี้ อีกทั้งธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถเรียนรู้ Best Practice ที่ SAP นำเสนอและนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนได้ทันที

ทั้งนี้ทาง SAP เองก็หวังว่ากว่า 80% ของลูกค้าองค์กรกว่า 1,200 รายในปัจจุบันนี้ที่เป็น SMB จะมีทางเลือกใหม่ๆ ในการลงทุนกับ SAP ต่อยอดเพิ่มเติม ส่วนกลุ่มองค์กรใหญ่ 20% ที่เหลือนี้ก็จะมีทางเลือกในการเติบโตที่รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยการลงทุนแบบ Hybrid Cloud

และด้วยความเข้าใจในองค์กรธุรกิจเป็นอย่างดีของ SAP ทำให้การเสนอบริการ Cloud ของ SAP นั้นมีทางเลือกหลากหลาย ทั้งแบบ Multi-tenant Cloud, Dedicated Cloud หรือซื้อ Software ไปติดตั้งใช้งานเองก็ได้ตามแต่ความต้องการ โดย SAP มี Partners ที่เชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกันไปกว่า 60 รายทั่วประเทศไทยคอยให้บริการด้าน Consulting แบบครบวงจร

 

Internet of Things กับการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนไปอนาคต

สำหรับธุรกิจที่กำลังจะมีการประยุกต์นำ Internet of Things มาช่วยให้ Operation ต่างๆ เป็นไปได้ดียิ่งขึ้นนั้น ก็จะต้องเตรียมรับมือกับการเติบโตของปริมาณข้อมูลที่มหาศาลในอนาคต และระบบประมวลผลทั้งหมดก็ต้องมีประสิทธิภาพมากพอที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้ทันความต้องการทางธุรกิจด้วย SAP ได้เตรียมรับแนวโน้มเหล่านี้ด้วยการพัฒนา SAP for Big Data บนบริการ Cloud ที่จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถเริ่มทำงานร่วมกับ Data Scientist ได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยพะวงเรื่อง Big Data Infrastructure อีกต่อไป

 

สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ก็ต้องขอขอบคุณทีมงาน SAP ประเทศไทยที่สละเวลามาให้ข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเหล่านี้ครับ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

OpenAI เปิดตัว OpenAI o1 โมเดลซีรีส์ใหม่โค้ดเนม Strawberry เน้นให้เหตุผลในงานที่ซับซ้อนขึ้น

วันพฤหัสที่ผ่านมา OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล OpenAI o1 ภายใต้โค้ดเนม “Strawberry” โมเดล AI ซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาในการประมวลผลในคำตอบให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบคำถามในปัญหาที่ยากขึ้นกว่าเดิมได้ และกำลังจะเทียบชั้นกับนักศึกษาปริญญาเอก (PhD) ด้านฟิสิกส์ เคมี …