สุดยอดโปรโตคอลสำหรับเข้ารหัสเว็บไซต์ ที่แม้แต่ Quantum Computer ก็แคร็กได้ยาก

microsoft_logo

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาหลัก ขออธิบายคำว่า Quantum Computer ให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ก่อนครับ

Quantum Compter คืออะไร

Quantum Computer คือ ก้าวถัดไปของคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลสูงมาก สามารถคำนวณได้เร็วกว่า Supercomputer ในปัจจุบันหลายพันเท่า เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องอาศัยการคิดคำนวณอันแสนซับซ้อน เช่น Cryptography, Modeling และ Indexing ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ช่วยลดระยะเวลาจากการใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ต้องอาจประมวลผลนานหลายปี ให้เหลือเพียงหลักชั่วโมงหรือหลักนาทีเท่านั้น แต่ Quantum Computer ก็ไม่เหมาะกับการทำงานทั่วไป เช่น งานเอกสาร เป็นต้น

quantum_computer_2

Quantum Compter vs. Encryption

การเข้ารหัสช่วยปกป้อง Privacy และให้ความมั่นคงปลอดภัยแก่สิ่งที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลการสื่อสารถูกปกป้องด้วยระบบการเข้ารหัสสมัยใหม่ กุญแจที่ใช้ล็อกข้อมูลปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่มาก อาจยาวได้ถึงหลายพันหลัก การจะค้นหากุญแจที่ถูกต้องเพื่อปลดล็อกการเข้ารหัสดังกล่าวจึงต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการค่อยๆ คำนวณหรือสุ่มกุญแจไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นเรื่องท้าทายสำหรับแฮ็คเกอร์ในปัจจุบันที่มีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด

แต่การมาถึงของ Quantum Computer ช่วยให้สามารถประมวลผลเชิงคณิตศาสตร์ได้เร็วอย่างที่คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันเทียบไม่ได้ ส่งผลให้สามารถคำนวณกุญแจที่ใช้ปลดรหัสข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้ง CIA, Google, NSA และ Microsoft ต่างมีห้องแล็บวิจัยสำหรับ Quantum Computing โดยเฉพาะ เพื่อคิดค้นระบบและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับปฏิวัติโลก IT ในอนาคต

โปรโตคอลสำหรับเข้ารหัสรูปแบบใหม่ ที่ Quantum Computer ก็แคร็กไม่ได้

Microsoft ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตชิพ NXP และ Queensland University of Technology (QUT) สร้างโปรโตคอลใหม่สำหรับใช้แลกเปลี่ยนกุญแจในการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการใช้งานบนโปรโตคอล SSL/TLS และต่อให้เป็น Quantum Computer ก็แคร็กได้ยาก

ทีมนักวิจัยได้พัฒนาโปรโตคอลสำหรับเข้ารหัสดังกล่าวเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งอัลกอริธึมหลักๆ อาศัยการคูณพหุนามเข้าด้วยกัน จากนั้นเพิ่มสัญญาณรบกวนแบบสุ่มลงไปเพื่อให้ยากต่อการแคร็ก แทนที่จะใช้การคูณตัวเลขจำนวนเฉพาะขนาดใหญ่ หรือใช้การเข้ารหัสแบบ Elliptic Curve Cryptography (ECC) อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลการทดสอบพบว่า ทำให้แคร็กได้ช้าลงถึง 21% เมื่อเทียบกับ ECC

ยังคงเป็นเรื่องท้าทายในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโปรโตคอลสำหรับเข้ารหัสที่ทนทานต่อการแคร็กโดย Quantum Computer ยังคงเป็นเรื่องท้าทายในปัจจุบัน และอนาคตอยู่ดี เนื่องจาก Quantum Computer เองก็มีการพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน บริษัทผลิต Quantum Computer สัญชาติแคนาดาที่ชื่อ D-Wave สามารถผลิต Qauntum Computer ที่มีความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้น 2 เท่าได้ทุกๆ 2 ปี

d-wave_quantum_computer_1

ที่มา: http://thehackernews.com/2015/08/quantum-computing-encryption.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน

Veritas Backup Exec 22 ราคาไม่แพงแน่นะพี่วี ?

“Backup ข้อมูล 10 vm ราคาเริ่มต้นเพียง 19,000 บาท แถมฟรี Backup Microsoft 365 จำนวน 10 users”