Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] Adaptive Manufacturing Enterprise การปรับตัวของธุรกิจในยุค Industry 5.0 เพื่อปรับตัวสู่ Digital Manufacturing

ธุรกิจการผลิตทั่วโลกกำลังเผชิญกับการหยุดชะงักมากมายที่เกิดขึ้นในตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคระบาด COVID-19 ที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจอย่างมากและยาวนาน Supply chain shortage ที่ขาดแคลนวัตถุดิบ สร้างปัญหาการหยุดชะงักในสายการผลิต และ การขาดแคลนแรงงานเช่นกัน เป็นต้น ธุรกิจหลายรายจึงต้องหาทางปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและสร้างธุรกิจให้เติบโตได้ต่อไป ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจมากขึ้น ตั้งแต่หลังโควิด หลาย ๆ องค์กรนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ องค์กรไหนที่ยังไม่มี เริ่มมองหา องค์กรไหนที่ใช้อยู่แล้ว ก็ต้องพยายามปรับให้ระบบที่มีอยู่ ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบที่ซับซ้อนไม่รองรับกลยุทธ์และความต้องการขององค์กร ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ดังนั้นยุคนี้จะเป็นยุคที่ดีที่ธุรกิจหรือผู้ผลิตจะต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อกลายเป็น Adaptive Manufacturing Enterprise (AME) ซึ่งคุณสมบัติของ AME คือ Intelligent, Innovative และ Agile

  1. Intelligent: เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในการดำเนินธุรกิจ ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมของตลาด และลูกค้าแบบเรียลไทม์  
  2. Innovative: การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาปรับใช้ เพื่อให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. Agile: ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในอย่างรวดเร็ว

ในบทความนี้เราจะมาโฟกัสกันที่อุตสาหกรรมผลิต หรือธุรกิจที่มีโรงงานผลิต จะทำอย่างไรให้องค์กรกลายเป็น Adaptive Manufacturing Enterprise หรือ องค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัว เพื่อการเป็น Digital Manufacturing อย่างมีประสิทธิภาพ 

เทคโนโลยีที่เป็นคำตอบ และที่เราจะพูดถึง คือการนำโซลูชัน ERP เข้ามาใช้ในองค์กร เพราะ ERP คือหัวใจหลัก (Core Business) ของธุรกิจ ข้อมูลมากมายที่องค์กรมี จะรวบรวมอย่างไร และจะทำอย่างไรให้ข้อมูลของแต่ละแผนกเชื่อมต่อกัน และจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เพื่อกำหนดกลยุทธ์และการคาดการณ์ในอนาคต เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ยุคแห่ง Big Data ข้อมูลมีแต่จะเพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆ การทำงานแค่บนเอ็กเซล หรือไฟล์ส่วนตัว ย่อมไม่ตอบโจทย์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะ ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือโรงงานผลิตขนาดใหญ่ หัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมผลิตคือ กระบวนการผลิต ฝ่ายผลิตจะทราบได้อย่างไรว่า สต็อคมีอยู่เท่าไหร่ วัสดุเหลือเท่าไหร่ ใช้ไปเท่าไหร่ และฝ่ายการเงินบัญชี จะต้องสั่งวัตถุดิบจากเวนเดอร์รายไหน ในราคาเท่าไหร่  ไหนจะเรื่องของซัพพลายเชน การขนส่งไปจนถึงลูกค้า หากไม่มีระบบ ERP ที่จะมาทำให้ Flow เหล่านี้เชื่อมต่อกันอะไรจะเกิดขึ้น 

ERP ย่อมาจาก  Enterprise resource planning คือระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรองค์กร เป็นโซลูชันซอฟต์แวร์ที่ใช้ในแทบทุกธุรกิจ สำหรับการวางแผนและจัดการการปฏิบัติงานประจำวัน เช่น การจัดการซัพพลายเชน การบริหารการผลิต การบริการ การจัดการเงิน และโปรแกรมหรือกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในองค์กร เป้าหมายหลักของระบบ ERP ได้แก่ ความสามารถในการทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปแบบอัตโนมัติและคล่องตัว สร้างการมองเห็นให้กับผู้ใช้งาน และควบคุมการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งาน หรือผู้บริหารสามารถตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่เพียงพอ 

ประโยชน์สูงสุดสำหรับระบบ ERP คือการมีแหล่งข้อมูลจริงที่เชื่อถือได้เป็น Center สำหรับบริษัท โดยไม่ต้องมารวบรวมข้อมูลจากหลายๆแผนกแบบแมนนวล โซลูชันจะรวบรวมพื้นที่ธุรกิจทั้งหมดให้เชื่อมเชื่อมต่อกันภายใต้ระบบเดียว สามารถรวบรวมข้อมูลในการดำเนินงานได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งการมองเห็นนี้สามารถนำไปสู่การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างแผนกให้ดีขึ้น ลดต้นทุนในระยะยาว ลดระยะเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักรหรือแรงงาน หรือการแจ้งเตือนเมื่อเกิดการชะงักงันในสายการผลิต การรายงานที่มีความแม่นยำและละเอียดยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงความสัมพันธ์ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับลูกค้าและผู้ขาย รวมถึงซัพพลายเออร์ ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีที่สุด

ระบบ ERP เป็นโซลูชันที่ครอบคลุมในหลายๆส่วนงาน ซึ่งมักประกอบด้วยโมดูลหลัก ได้แก่:

  • การผลิต (Manufacturing)
  • การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
  • การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
  • การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management-CRM)
  • การจัดการซัพพลายเออร์ (Supplier Management)
  • ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence)

ธุรกิจการผลิตแต่ละประเภทมีลักษณะและความพิเศษที่แตกต่างกัน และด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive) อาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) อุปกรณ์ด้านไฮเทค(High Tech) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) อินดัสเทรียล (Industrial) และอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือวิทยาศาตร์เพื่อชีวิต (Life Science) ทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป คิวเอดี (QAD) เราเป็นผู้ให้บริการ ERP ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมผลิต เราพัฒนาซอฟต์แวร์ ERP ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจการผลิต และมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเรามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละอุตสาหกรรม

ด้วยประสบการณ์ที่ QAD มีมายาวนาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิต หรือโรงงาน จากที่ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ให้บริการ ERP ที่ดีที่สุดทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานบนระบบคลาวด์ ซึ่งสามารถทำให้กระบวนการติดตั้ง และใช้งานระบบ ERP เป็นไปได้อย่างราบรื่น สร้างการเป็น Digital Transformation เพื่อให้องค์กรกลายเป็น Digital Manufacturing อย่างแท้จริง เพราะตลาดถูกดิสรัปด้วยปัจจัยต่างๆ มากมาย การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น การสร้างความได้เปรียบ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ให้ทุกอย่างกลายเป็นระบบอัตโนมัติ พร้อมไปกับการมีความสามารถที่มองเห็น Data insight คือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจสำเร็จเหนือคู่แข่งให้ได้มากที่สุด และปรับปรุงระบบการดำเนินงานให้คล่องตัวเพื่อสร้าง ROI สูงสุดให้กับองค์กร

หากคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอนาคตของธุรกิจจะเป็นอย่างไร แต่คุณรู้ว่ามันจะแตกต่างออกไปอย่างแน่นอน สิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้คือ เตรียมรับมือให้พร้อม และพัฒนาความสามารถขององค์กรให้มีความคล่องตัว และรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตให้ได้ 

เราพร้อมให้คำปรึกษา ทุกอุตสาหกรรมผลิตในประเทศไทย ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดโดยตรงได้ที่ 02-202 9363  หรือกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ QAD Adaptive ERP และโซลูชันอื่นๆ ในระบบคลาวด์ เราจะทำให้การติดตั้งหรืออัปเกรด ERP ของคุณง่ายขึ้นและช่วยให้คุณก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ QAD (ประเทศไทย) : CW Tower A ชั้น 23 ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

ผู้เขียน : จีรชญา อัคนิพัชร, ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทคิวเอดี (ประเทศไทย) จำกัด

About nittaya

Previously worked as an English lecturer and eventually becomes an ADPT content writer to inspire readers under "ADAPT, ADEPT, ADOPT" concepts อดีตอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ผู้ผันตัวมาเป็นนักเขียน ADPT หวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านภายใต้แนวคิด "ADAPT, ADEPT, ADOPT"

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว