รู้จักกับ P4 ภาษา Programming สำหรับ SDN โดยเฉพาะ ที่ Network Engineer ควรเรียนรู้เอาไว้

เมื่อ Software-Defined Networking หรือ SDN เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ความต้องการในการพัฒนาภาษา Programming สำหรับงานด้าน SDN โดยเฉพาะก็ได้เกิดขึ้นมา และ P4 เองก็เป็นภาษาที่เกิดมาเพื่อตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะ และเหล่า Network Engineer ก็ควรจะต้องเริ่มทำความรู้จักกับภาษา P4 กันเอาไว้บ้าง

 

Credit: P4 Language Consortium

 

ภาษาอื่นๆ ไม่เหมาะสมอย่างไร?

ถึงแม้ภาษายอดนิยมอย่าง Java หรือ Go นั้นจะมีความสามารถที่หลากหลาย แต่ภาษาเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับงานด้าน Networking โดยเฉพาะ แนวคิดของทีม P4 Language Consortium จึงเป็นไปเพื่อการพัฒนาภาษาสำหรับตอบโจทย์ด้าน SDN เป็นหลัก เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้ใช้ภาษาเดียวกันในการทำงานด้าน Automation ในระบบเครือข่ายของตนเอง

 

จุดเด่นของ P4

ภาษา P4 นี้ถูกออกแบบมาด้วย 3 แนวคิดหลักๆ ได้แก่

  • Protocol Independent ไม่ขึ้นกับ Protocol ใดๆ แต่จะระบุโดยตรงเลยกว่าอุปกรณ์ Switch จะต้องประมวลผล Packet อย่างไร
  • Target Independent รองรับการทำงานร่วมกับ Hardware ได้หลากหลาย ตั้งแต่ High Pereformance ASIC ไปจนถึง Software Switch
  • Field Reconfigurable เหล่า Network Engineer จะต้องยังคงทำการแก้ไขการตั้งค่าต่างๆ ได้ในระหว่างที่ Switch ยังคงทำงานอยู่

สำหรับตัวอย่างโค้ดของ P4 จะเป็นดังนี้

table routing {
key = { ipv4.dstAddr : lpm; }
actions = { drop; route; }
size : 2048;
}
control ingress() {
apply {
routing.apply();}
}

P4 นี้จะเข้าไปมีบทบาทเป็นอย่างมากในธุรกิจ IT ขนาดใหญ่ที่การทำ DevOps นั้นครอบคลุมถึงการจัดการด้านระบบเครือข่ายด้วย โดย P4 ที่สามารถช่วยควบคุมการทำงานของระบบเครือข่ายในอุปกรณ์ได้หลากหลายด้วยภาษากลางเพียงภาษาเดียวนี้ก็จะช่วยให้การทำ DevOps สำหรับเทคโนโลยีระบบเครือข่ายเป็นไปได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

 

ปัจจุบันมีใครสนับสนุน P4 บ้าง?

สาเหตุที่ภาษา P4 Language นี่เริ่มน่าสนใจมากขึ้นในระยะนี้ ก็เป็นเพราะการที่มีเหล่าผู้พัฒนาเทคโนดลยีเริ่มนำไปใช้งานกันมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Open Networking Foundation และ Linux Foundation ที่ทำงานร่วมกับทีม P4 และนำไปใช้ในระบบปฏิบัติการ Stratum และ DANOS รวมถึงในอนาคตเองก็มีแผนที่จะทำงานร่วมกับทีมงานของ Microsoft สำหรับ SONiC Switch และ Barefoot Networks ในระบบ Tofino Ethernet ASIC ด้วย

สำหรับการใช้งานภายใน Cloud Data Center ตอนนี้ P4 เริ่มถูกใช้งานในระบบเครือข่ายของ Google แล้ว เนื่องจาก Google นั้นมีการใช้งาน Stratum OS นั่นเอง

 

เริ่มต้นเรียนรู้ P4 ได้อย่างไร?

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับ P4 Language ได้ที่ https://p4.org/ และ https://github.com/p4lang/ โดยสำหรับผู้ที่อยากเรียนรู้เบื้องต้น สามารถดูคลิปดังต่อไปนี้เพื่อเป็นแนวทางได้เลยครับ

 

ที่มา: https://p4.org/, http://www.enterprisenetworkingplanet.com/datacenter/datacenter-blog/p4-the-language-of-sdn.html, https://www.youtube.com/channel/UCOQAFkDKucJWr-KafdJsdIQ


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

รายงาน Frost Radar™ ฉบับล่าสุด เผยอีริคสันยังครองอันดับ 1 ผู้นำตลาด โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ทั่วโลก [Guest Post]

อีริคสันได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงาน Frost Radar™ 5G Network Infrastructure Market 2023 เป็นปีที่สามติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการลงทุนและพัฒนาความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง