CDIC 2023

จาก Mobile Banking สู่ Open Banking: เมื่อธนาคารทั่วโลกต้องให้บริการทางการเงินผ่าน API ตอบโจทย์ธุรกิจในยุค Digital

ทุกวันนี้เราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจธนาคารกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ Mobile Banking ที่เรียกได้ว่าเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ทำให้เหล่าธนาคารนั้นได้ก้าวสู่การเป็น Digital Banking กันมากขึ้น และลูกค้าทุกคนนั้นก็สามารถเข้าถึงบริการทั้งหมดของธนาคารได้ผ่าน Smartphone หรือ Tablet ที่ตนเองมีอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องไปทำธุรกรรมต่างๆ ที่สาขาของธนาคารกันอีกต่อไป และส่งผลต่อให้ธนาคารนั้นเริ่มทยอยปิดสาขาของตนเองลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นผลจากการทำ Digital Transformation ครั้งใหญ่ของธนาคารนั่นเอง

แต่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจธนาคารเองนั้นจะยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ เพราะก้าวถัดไปที่เหล่าธนาคารต้องปรับตัวกันต่อไปนั้นก็คือการก้าวสู่ API Economy ที่จะทำให้บริการทางด้านการเงินของธนาคารนั้นสามารถเชื่อมต่อกับ Digital Product อื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Web Application, Mobile Application หรือบริการรูปแบบใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ผู้ใช้งานของ Digital Product นั้นๆ สามารถเรียกใช้งานบริการทางด้านการเงินได้อย่างสะดวกและง่ายดายยิ่งกว่าเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็มีชื่อเรียกกันว่า Open Banking นั่นเอง และบทความนี้เราก็จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับ Open Banking กันครับ

ทำไม Mobile Banking ถึงยังไม่เพียงพอต่อการตอบโจทย์ของธุรกิจ?

Credit: ShutterStock.com

ถึงแม้ Mobile Banking นั้นจะสร้างความสะดวกสบายแก่ลูกค้าของธนาคารเสมือนได้ยกธนาคารไปอยู่ในฝ่ามือของทุกคน และกลายเป็นกระแสใหม่ในการเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารไปแล้ว แต่ Mobile Banking นั้นก็ยังไม่ได้ตอบโจทย์ภาคธุรกิจต่างๆ ได้เป็นอย่างดีนัก

แน่นอนว่าด้วยแนวโน้มการทำ Digital Transformation ที่กำลังเกิดขึ้นกับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมในทุกวันนี้ ธุรกิจต่างๆ เองก็กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองไปอย่างรวดเร็ว แนวโน้มต่างๆ ทั้งการทำ Artificial Intelligence, Automation, Data Analytics และอื่นๆ กำลังเกิดขึ้นทุกๆ วัน ทั้งหมดนี้ก็ทำให้เหล่าธุรกิจต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การเป็น Digital Business กันมากขึ้น และระบบ IT เบื้องหลังธุรกิจเหล่านั้นเองก็ต้องการที่จะเชื่อมต่อกับระบบทางด้านการเงินของธนาคาร เพื่อให้การทำธุรกรรมต่างๆ ในธุรกิจนั้นๆ เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ สิ่งที่ภาคธุรกิจต้องการนั้นก็คือระบบที่จะช่วยให้ระบบ IT ของตนเองสามารถเชื่อมต่อกับระบบของธนาคารได้ และนี่เองที่ Mobile Banking ซึ่งเป็นช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับธนาคารนั้นไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป

หากจะนึกถึงตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจง่ายที่สุด ก็คือการยกตัวอย่างของระบบ Online Marketplace หรือร้านค้าออนไลน์ ที่ต้องการเปิดให้ลูกค้าสามารถทำการจ่ายเงินจากบัญชีของตนเองเพื่อซื้อสินค้าได้โดยที่ไม่ต้องออกจาก Web Application หรือ Mobile Application ของร้านค้าออนไลน์นั้นๆ เลย เพื่อให้ประสบการณ์การซื้อขายสินค้าเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด การที่ธุรกิจใดๆ จะสร้างระบบเหล่านี้ได้นั้น Mobile Banking ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างแน่นอน

สิ่งที่จะเข้ามาตอบโจทย์นี้ได้เป็นสิ่งที่แตกต่างออกไป และแนวคิดในการตอบโจทย์นี้ก็มีชื่อเรียกรวมๆ ว่า Open Banking นั่นเอง

ก่อนจะไปรู้จักกับ Open Banking มารู้จักกับ API กันก่อน

Credit: ShutterStock.com

ก่อนจะเล่าถึงเรื่องราวของ Open Banking นั้น ท่านผู้อ่านอาจจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า API ซึ่งย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface กันเสียก่อน โดยถึงแม้ชื่อเต็มของ API นั้นจะฟังดูเหมือนเป็นคำที่เฉพาะคน IT ควรจะต้องรู้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว API นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายมากๆ

ตรงนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านลองจินตนาการกันก่อนว่าทุกวันนี้ เวลาเราจะใช้ Application ใดๆ ไม่ว่าจะบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone ของเราก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องทำนั้นก็คือการออกคำสั่งให้กับ Application เหล่านั้นด้วยการคลิกหรือกดที่ปุ่มใดๆ, การป้อนข้อมูลด้วยการพิมพ์เนื้อหาต่างๆ หรือบาง Application ก็อาจจะรับคำสั่งด้วยเสียงแล้ว ช่องทางที่เราสามารถใช้สั่งงาน Application เหล่านี้เรียกกันว่า Interface นั่นเอง และ Interface นี้ก็คือตัว I ที่อยู่ในชื่อของ API ด้วย

อย่างไรก็ดี วิธีการรับคำสั่งด้วยแนวทางเหล่านี้คือช่องทางที่ถูกออกแบบมาให้มนุษย์ใช้เพื่อสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการให้ระบบ Application ในธุรกิจของเรา เชื่อมต่อและสั่งคำสั่งต่างๆ ไปยังระบบของธนาคาร เราจะทำอย่างไร? ตรงนี้เองที่ทำให้ API ถือกำเนิดขึ้นมา

API หรือ Application Programming Interface นี้ก็คือช่องทางที่จะทำให้ Application ต่างๆ ของเราสามารถคุยกับระบบ IT อื่นๆ ได้ โดยหากยกตัวอย่างในกรณีของระบบธนาคารนี้ ก็คือการที่ธนาคารจะต้องสร้างชุดคำสั่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อเปิดให้ธุรกิจอื่นๆ สามารถเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ผ่านระบบ Application ของตนเองมายังระบบ IT ของธนาคาร และทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ได้ผ่านคำสั่งเหล่านี้เสมือนกำลังใช้งาน Mobile Application หรือไปทำธุรกรรมตามสาขาของธนาคารเลย

ในทุกวันนี้ API ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการ IT อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว และเบื้องหลังของ Application ชั้นนำทั่วโลกที่เราใช้งานกันอยู่นั้นก็มีการใช้งาน API กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่หลายบริษัทเองก็สามารถทำเงินได้จากการเปิด API เหล่านี้ให้ผู้ใช้งานหรือธุรกิจอื่นๆ เข้าถึงได้ และตอนนี้ก็ถึงเวลาของธนาคารที่จะต้องเริ่มสร้าง API ของตนเองออกมาให้บริการแล้ว

Open Banking: สู่ยุคที่ธนาคารต้องก้าวสู่ API Economy ตอบโจทย์ธุรกิจแห่งอนาคต

Open Banking นี้คือคำที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เรียกเทคโนโลยีด้านการเปิด API ของธนาคาร โดยใน Wikipedia นั้นมีการสรุปคุณลักษณะของการเป็น Open Banking เอาไว้ด้วยกัน 3 ประการหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่

  1. การมี API แบบเปิดเพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอกสามารถสร้าง Application หรือบริการของตนเองที่เชื่อมต่อกับบริการทางการเงินของสถาบันการเงินได้
  2. การสร้างทางเลือกทางด้านความโปร่งใสให้กับเจ้าของบัญชีธนาคาร โดยมีตั้งแต่การเปิดข้อมูลทางการเงินของบัญชีให้เข้าถึงได้โดยสาธารณะ ไปจนถึงการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลทางการเงินเหล่านั้นได้โดยส่วนตัวเท่านั้น
  3. การใช้งานเทคโนโลยี Open Source ในการสร้างระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2 ข้อข้างต้น

โดยเดิมทีนั้น API เกิดขึ้นจากแรงผลักดันด้วยกันสองส่วนหลัก ได้แก่ นโยบายของทางยุโรปที่มีชื่อว่า Payment Services Directive หรือ PSD2 ที่ต้องการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านการจ่ายเงินบนโลกออนไลน์และผ่านอุปกรณ์พกพา โดยนอกจากยุโรปเองแล้วก็ยังมีญี่ปุ่นที่มีนโยบายในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย ในขณะที่ภาคธุรกิจเองที่มี Digital Business เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ วัน ก็ต้องการใช้งานบริการลักษณะนี้อยู่แล้ว

ด้วยเหตุนี้ Open Banking จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทิศทางสำคัญของเหล่าธนาคารทั่วโลก ที่จะต้องมีการพัฒนา API ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถเชื่อมต่อบริการทางการเงินและสร้างการทำงานแบบอัตโนมัติขึ้นมาให้ได้ ซึ่งในมุมของธนาคารนั้น การเปิด API ให้ธุรกิจอื่นๆ เข้ามาใช้งานได้นี้จะกลายเป็นจุดโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในช่วงแรกๆ ที่จะทำให้ธนาคารสามารถสร้างรายได้เพิ่มและสร้างฐานลูกค้าธุรกิจให้เติบโตมากขึ้นได้ และในระยะยาว Open Banking ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ธนาคารส่วนมากต้องมีไปในที่สุด

API ของธนาคารนี้จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้ากับบริการของธนาคารและสร้างความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานหรือการทำ Automation ในรูปแบบใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อย่างมากมาย ทำให้ธนาคารสามารถมีลูกค้าในกลุ่ม Digital Business ได้ทันที ในขณะเดียวกันหากธุรกิจจำนวนมากหันมาใช้งาน API ของธนาคาร ทางธนาคารเองก็จะสามารถขยายบริการให้เติบโตมากขึ้นได้เรื่อยๆ โดยการใช้ทรัพยากรบุคคลน้อยลง เพราะระบบทั้งหมดทำงานด้วยระบบ IT นั่นเอง

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ธุรกิจต่างๆ ภายนอกธนาคารเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ แต่การสร้างนวัตกรรมต่างๆ ภายในธนาคารเองก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน รวมถึงการเปิดความร่วมมือกับภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกันและมี API ที่ถูกสร้างขึันมาตอบโจทย์เฉพาะทางรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ความเป็นไปได้เหล่านี้เองที่ทำให้แนวคิด Open Banking นั้นกลายเป็นทิศทางสำคัญของหลายธนาคารทั่วโลก

ในงานวิจัยของ Boston University นั้นพบว่ามีการทำนายว่า API จะช่วยให้ธนาคารมีตลาดที่ใหญ่ขึ้นถึง 10.3% ในขณะที่การทำนายสำหรับปี 2025 นั้นก็ระบุว่ารายรับทั่วโลกกว่า 30% นั้นจะเกิดขึ้นผ่าน API ถือเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ส่วนทางด้าน Red Hat นั้นก็เคยมีประสบการณ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Platform ของ BBVA และทำให้ช่องทาง Digital ของธนาคารนั้นมีสัดส่วนที่สูงถึง 37.5% มาแล้ว

4 ตัวชี้วัดสำคัญของ Open Banking ที่ดี

อย่างไรก็ดี การพัฒนาระบบ Open Banking นี้ สิ่งที่ธนาคารต่างๆ จะต้องมองให้ออกก่อนนั้นก็คือเป้าหมายปลายทางของเทคโนโลยีนี้ และการชี้วัดที่ชัดเจนว่าระบบ Open Banking นี้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ซึ่งทาง Red Hat ที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการ Open Banking ในหลากหลายธนาคาร ก็ได้จำแนกตัวชี้วัดเอาไว้ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้

  1. รายรับที่เกิดขึ้นจาก Open Banking API ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะสามารถสร้างรายได้ให้กับธนาคารและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
  2. นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจาก Open Banking API นั้นจะช่วยให้ธุรกิจอื่นๆ สามารถสร้างนวัตกรรมของตนเองเพื่อตอบโจทย์ตลาดได้ในหลากหลายแง่มุม ดังนั้นธนาคารเองก็จะต้องพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ให้กับ API อย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการ Open Banking นี้เติบโตต่อไปได้
  3. Key Performance Indicator (KPI) ภายในระบบ Open Banking ไม่ว่าจะเป็นสถิติการเรียกใช้งาน API ต่างๆ, ความเร็วในการออกแบบและสร้าง API ใหม่ๆ โดยต่อยอดจาก API ที่มีอยู่เดิม ไปจนถึงการปรับแต่งระบบเพื่อให้ลดการใช้งานทรัพยากรทางด้าน IT ให้น้อยลง เป็นต้น
  4. การเติบโตของ Ecosystem ที่เกิดขึ้นจาก Open Banking API ที่ดีนั้นจะช่วยสร้าง Ecosystem ของธนาคารให้เติบโต มีธุรกิจชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรมมาร่วมใช้งานและพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ร่วมกัน ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กจำนวนมากก็สามารถนำ API ไปใช้งานได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

ตอบโจทย์ธุรกิจได้นั้นยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีความมั่นคงปลอดภัยด้วย

เมื่อบริการ Open Banking นั้นเกิดขึ้นในช่องทางออนไลน์ ประเด็นเรื่อง Security หรือความมั่นคงปลอดภัยจึงเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ธนาคารต้องใส่ใจในการออกแบบระบบ Open Banking เพื่อให้บริการนี้มีความน่าเชื่อถือ ลดความเสี่ยงที่ระบบของธนาคารจะถูกโจมตีผ่านช่องทางนี้ลงได้

Red Hat จะช่วยธนาคารทั่วโลกให้ก้าวสู่การเป็น Open Banking ได้อย่างไร?

Credit: Red Hat

ในเชิงเทคโนโลยีนั้น Red Hat ถือเป็นผู้ที่มีเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การทำ Open Banking ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Red Hat 3scale API Management สำหรับใช้ในการบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัยให้กับ API, Red Hat OpenShift Application Runtimes รองรับการพัฒนา API, Red Hat Fuse สำหรับการผสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน และ Red Hat OpenShift Container Platform เพื่อใช้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับระบบ API ที่สามารถเพิ่มขยายได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

โหลด E-Book ฟรี “API Best Practice” จาก Red Hat 3scale

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดด้านการทำธุรกิจโดยมี API เป็นหัวใจหลัก Red Hat มี E-Book ฟรีให้สามารถนำไปศึกษาได้อยู่ที่ https://go.techtalkthai.com/2019/05/red-hat-free-api-owner-best-practice-manual-for-businesses/ ซึ่งได้รวมเอาหัวใจสำคัญ 7 ประการในการออกแบบ API และตัวอย่างของธุรกิจจริงทั่วโลกที่สร้างรายได้ผ่าน API


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

5 เครื่องมือโอเพ่นซอร์สสแกนหาช่องโหว่

หลายท่านอาจคงมีเครื่องมือการสแกนหาช่องโหว่อยู่แล้วในมุมมองต่างๆ แต่ในบทความนี้เราขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ 5 เครื่องมือฟรี ที่ช่วยตอบโจทย์การค้นหาช่องโหว่

เชิญร่วมงานสัมมนาออนไลน์ Unlock the Limits of Your SAP System with Google Cloud โดย Tangerine [18 ต.ค. 2023]

พลาดไม่ได้! สำหรับองค์กรที่ใช้ระบบ SAP ซึ่งนับเป็นระบบสำคัญที่อยู่เบื้องหลังในการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จ ซึ่งภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้นความสำคัญก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นจะทำอย่างไร? ให้ธุรกิจสามารถรองรับการใช้งานตามความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และจะดีกว่าหรือไม่ หากสามารถนำข้อมูลภายใน SAP มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลภายนอก สร้าง Analytics Dashboard ได้ง่ายและรวดเร็ว …