ไมโครซอฟท์ จับมือ Thai SMEs สพธอ. และพาร์ทเนอร์เชิงนวัตกรรม เปิดโครงการไมโครซอฟท์ยกระดับเอสเอ็มอีไทย มุ่งผลักดันการนำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ เพื่อการกลับมาของธุรกิจไทยที่ยั่งยืน
- เปิดตัวพร้อมกับเทคพาร์ทเนอร์ Buzzebees, M.I.S. Outsourcing (MISO), Bigwork, Fusion Solution และ Techcons biz (Wolf Approve)
- ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้านอี-คอมเมิร์ซ การจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ การจัดการเอกสารแบบไร้กระดาษ งานข้อมูล และการสร้างแอปพลิเคชัน
- งานนี้จัดขึ้นต่อเนื่อง เปิดรับผู้ประกอบการหรือองค์กรที่สนใจ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงเดือนตุลาคม 2563
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และ เว็บไซต์ Thai-SMEs ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จัดเวิร์คช็อปฟรี มุ่งยกระดับธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถในตลาดนิวนอร์มัล กับโครงการ Microsoft ยกระดับ SMEs โดยเปิดตัว Series#1 ตอน “ไม่ต้องไฮโซแต่โต 10X ด้วยกลยุทธ์ติดปีก E-commerce” เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีไทยสร้างยอดขายได้มากกว่าที่คิด วางแต้มต่อธุรกิจได้เหนือใคร และ สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการนำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมเอสเอ็มอีไทย ในช่วงที่ผมเชื่อว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ต้องการดิจิทัลในการทำธุรกิจมากที่สุด เราอยากให้ธุรกิจเอสเอ็มอียืดหยุ่น สอดรับกับเศรษฐกิจและสถานการณ์ เทคโนโลยีต้องถูกนำไปใช้ในแกนหลักของธุรกิจและทำให้เทคโนโลยีเหมือนน้ำไฟ ที่สามารเปิดใช้ได้เสมอเมื่อต้องการ หรือนำไปเพิ่มยอด ปรับการทำงานหลังบ้านให้เร็วยิ่งขึ้น ตอบสนองคนทำงานหน้าบ้าน ส่งเสริมการขายด้วยการทำอี-คอมเมิร์ซ ทั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของไมโครซอฟท์ในการเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ทำได้มากกว่า เราอยากส่งเสริมเอสเอ็มอี และต้องการช่วยเพิ่มทักษะความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาปรับใช้ในการทำธุรกิจอย่างแท้จริง พร้อมความตั้งใจที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อในการหาพันธมิตรดิจิทัลให้กับเอสเอ็มอีไทย และมุ่งหวังให้ไมโครซอฟท์เปรียบเสมือนแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีให้กับเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยต่อไป”
นายภักดี อัญญะกมล รองกรรมการผู้จัดการสายงานกลุ่มลูกค้าองค์กร และ กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ไม่ว่าขนาดใดมองหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ระยะที่ต้องสู้กับโควิด แต่ยังต้องตอบโจทย์ระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ สร้างความสามารถในการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีประกบ ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งต้องหาเพื่อนคู่ใจหรือพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยี เพื่อที่จะมาช่วยดูแลให้ข้อมูล เป็นเพื่อนคู๋คิดในการทำ digital transformation ซึ่งผมหวังว่างานนี้ จะช่วยเปิดทางให้กับเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ได้เข้าถึงเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ได้ง่ายและมั่นใจยิ่งขึ้น”
ภายในงานจะได้พบการนำเสนอดิจิทัลโซลูชันใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมล่าสุดของไมโครซอฟท์ ที่เอสเอ็มอีสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ประกอบด้วย โซลูชันการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์จาก บริษัท M.I.S. Outsourcing (MISO) โซลูชันที่นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจกับ บริษัท Bigwork รวมถึงการนำเสนอการสร้างแอพพลิเคชันง่ายๆ ในวันเดียวจากบริษัท Fusion Solution และการนำเสนอโซลูชันระบบจัดการเอกสารแบบไร้กระดาษจากบริษัท Techcons biz (Wolf Approve) ซึ่งสามารถรองรับการทำธุรกิจที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมร่วมเจาะธุรกรรมออนไลน์แบบที่ใช่ ได้ยอดขายทันใจ พร้อมอัปเดทดิจิทัลโซลูชันใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์ และกลยุทธ์การปิดตำรามาลงมือทำ เริ่มต้นจนจบกับ Buzzebees E-Commerce
“งานสัมมนาในครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือของหลายฝ่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจอย่างก้าวกระโดดให้เอสเอ็มอี พร้อมต่อ ยอดธุรกิจของตนเองได้ง่ายขึ้นในยุคที่ต้องปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ต้องขอขอบคุณไมโครซอฟท์ในความร่วมมือในครั้งนี้ เพราะเราเชื่อมั่นว่าด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันของไมโครซอฟท์ จะช่วยสร้างความเติบโตให้ธุรกิจเอสเอ็มอีได้อย่างโดดเด่นไม่เหมือนใคร” นางสาวจิรพรรณ บุญหนุน ผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Thai-SMEs กล่าวเสริม
นายมีธรรม ณ ระนอง ผู้เชี่ยวชาญและรักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กล่าวว่า “ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไปในโลกยุคดิจิทัล ทำให้หลายธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวมาทำธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์สหรือออนไลน์ เพื่อให้อยู่รอดในตลาดได้ ทาง สพธอ. เองมีหน้าที่สำคัญในการดูแลธุรกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมทางการเงิน การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต (Online Complain Center) เพื่อกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคให้มีการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านออนไลน์อย่างโปร่งใส และสนับสนุนการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมออนไลน์ โดยยึดหลักตามกฎหมายให้สอดคล้องและถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ให้การขายสินค้าผ่านออนไลน์มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้”
โครงการ Microsoft ยกระดับ SMEs Series 1 ตอน“ไม่ต้องไฮโซแต่โต 10X ด้วยกลยุทธ์ติดปีก E-commerce” เป็นหนึ่งในห้ามินิซีรีย์เวิร์คช็อปที่ถูกจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตในการทำธุรกิจจากรูปแบบเดิมสู่การทำธุรกิจ ขายสินค้า และบริการบนโลกออนไลน์ ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารสำหรับซีรี่ย์ต่อไปทั้งหมดในเดือนตุลาคม 2563 ได้ที่ https://www.facebook.com/MicrosoftSME
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถรับชมงานเวิร์คช็อปย้อนหลังได้ที่ Facebook Fanpage ThaiSMEs
ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @Microsoft) ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ มีความสะดวกทันสมัย และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย (http://news.microsoft.com/th-th/) และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH