ความปลอดภัยของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประการแรก ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ใช้ที่จะตัดสินใจถูกต้อง พฤติกรรมออนไลน์สามารถช่วยป้องกันข้อมูลบ่งชี้ตัวตนของคุณ, เงินตรา และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ หรืออาจจะทำให้ตกเป็นเหยื่ออาชญกากรได้ง่าย ๆ แคสเปอร์สกี้ แลปต้องการดึงความสนใจมายังปัญหานี้ด้วยการ ทดสอบที่ช่วยผู้ใช้ประเมินระดับความเก๋าทางไซเบอร์ ( cyber savviness ) และเข้าใจว่าพฤติกรรมทางอินเทอร์เน็ตของตนนั้นปลอดภัยหรือไม่
จากการสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของคอนซูมเมอร์ประจำปี ค.ศ. 2015 พบว่าผู้ใช้กังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ เพราะต่างเก็บข้อมูลส่วนตัวเอาไว้บนอุปกรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มิได้มีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่น ผู้ตอบการสำรวจที่พร้อมจะกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินบนเว็บไซต์ที่แม้จะไม่ค่อยมั่นใจเท่าใดนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว – จาก 30% เป็น 31% ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ใช้ที่เชื่อว่าตนเองพ้นเงื้อมมือภัยไซเบอร์เพราะตนไม่ใช่เป้าหมายเพิ่มจาก 40% เป็น 46%
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากมักไม่สังเกตภัยแม้จะอยู่ตรงหน้าก็ตาม ข้อมูลนี้มาจากการทดสอบโดยแคสเปอร์สกี้ แลป กับผู้คน 18,000 รายทั่วโลก ผลชี้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงอันตรายหลายต่อหลายครั้งเป็นประจำเวลาท่องเว็บ ดาวน์โหลดไฟล์ หรือเข้าโซเชียลเน็ตเวิร์คไซต์ต่าง ๆ ในการทดสอบแต่ละสถานการณ์ก็จะมีหลายคำตอบให้ผู้ทดสอบเลือกตอบ และแต่ละคำตอบก็จะมีคะแนนมากน้อยขึ้นอยู่ความเลวร้ายของสถานการณ์ ยิ่งตอบได้ปลอดภัยที่สุดเท่าใด คะแนนก็จะสูงตามไปด้วย
ตัวแทนจาก 16 ประเทศได้คะแนนเฉลี่ย 95 คะแนนจากที่ควรจะได้ 150 นี่หมายความว่าเขาเลือกออพชั่นที่ปลอดภัยเพียงกึ่งเดียวของสถานการณ์จำลอง ส่วนสถานการณ์อื่นที่เหลือ ผู้ทดสอบเปิดช่องรับความเสี่ยงโอกาสข้อมูลสำคัญรั่วไหล เป็นต้น
ระหว่างการทดสอบ มีเพียง 24% ของผู้ทดสอบเท่านั้นที่สามารถระบุเว็บเพจของแท้ได้ถูกต้องโดยไม่เลือกไซต์ที่เป็นฟิชชิ่งเพจ ( เช่น ปลอมหน้าเพจ ) และ 58% เลือกฟิชิชิ่งไซต์ที่ออกแบบเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญส่วนตัวโดยไม่ได้เลือกเพจแท้เลย นอกจากนี้ เมื่อได้รับอีเมล์น่าสงสัย หนึ่งในสิบของผู้ใช้พร้อมเปิดไฟล์แนบโดยไม่ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน มีค่าเท่ากับคลิ๊กเปิดการทำงานของโปรแกรมร้าย อีก 19% จะยกเลิกการทำงานของโซลูชั่นเพื่อป้องกันความปลอดภัยหากปิดกั้นการลงโปรแกรมเพียงเพราะอาจเป็นโปรแกรมที่อันตรายก็ได้
คุณสามารถสแกนอุปกรณ์ว่ามีมัลแวร์หรือช่องโหว่อันตรายหรือไม่โดยใช้ ทูลจากแคสเปอร์สกี้ แลป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ http://free.kaspersky.com และหากต้องการทดสอบว่าคุณเก๋าเพียงใดด้านไซเบอร์ เราเชิญคุณไปทดสอบกับเราทึ่ https://blog.kaspersky.com/cyber-savvy-quiz/ หากต้องการคำแนะนำเคล็ดลับการใช้ชีวิตออนไลน์อย่างปลอดภัยได้ที่ https://blog.kaspersky.com/tag/cybersavvy
เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป
แคสเปอร์สกี้ แลป คือหนึ่งในบริษัทระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก และเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยติดอันดับหนึ่งในสี่ของโลกในลำดับผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยด้านไอที ( ไอดีซี ปี พ.ศ. 2557 ) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา แคสเปอร์สกี้ แลป นับเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และนำเสนอโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยทางดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภัยคุกคามสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และคอนซูมเมอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทสากล ปฏิบัติงานกระจายอยู่ 200 ประเทศและเขตท้องที่ทั่วโลก คอยให้การปกป้องดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com