Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[PR] ไอเอสเอสพีแนะจุดแข็ง SME ไทย ใช้คลาวด์ ขยายฐานลูกค้าในอาเซียน

ไอเอสเอสพี วิเคราะห์ปัจจัยหนุนจุดแข็งธุรกิจ SME ไทย ในปี 2559 ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการนำคลาวด์มาเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมย้ำการนำคลาวด์มาใช้บริหาร ทำให้ธุรกิจ SME ไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว หากกล้าเปลี่ยน ธุรกิจไทยจะสามารถแข่งขันในตลาด AEC ได้อย่างง่ายดาย

issp-cloud-sme

นายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัดหรือไอเอสเอสพี ( ISSP ) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง จำเป็นต้องวิเคราะห์การตลาดของประเทศ เพื่อกำหนดกลยุทธ์หรือทิศทางในการก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดที่ใหญ่กว่าในประเทศได้ ซึ่งจุดแข็งของประเทศไทยในตอนนี้คือ 1.เป็นฐานการผลิต 2. มีวัตถุดิบ 3. มีแรงงานที่มีฝีมือเฉพาะด้าน อาทิ ด้านบริการท่องเที่ยว, ผลิตภัณฑ์ความงาม และงานฝีมือ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แต่สิ่งที่ขาดและจำเป็นต้องให้ความสำคัญ คือการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะพบว่าผู้ประกอบการไทยไม่ได้นำเรื่องระบบไอทีเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจเท่าที่ควร ทำให้การแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนเป็นเรื่องยาก

นายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัดหรือ ISSP
นายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัดหรือ ISSP

“เมื่อเปิดเสรีอาเซียนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน เงินทุน ทุกอย่างจะเข้ามาประเทศไทยได้หมด คนที่ได้เปรียบคือคนที่จัดการทุกอย่างได้ถูกและรวดเร็วที่สุด ไอเอสเอสพีมั่นใจว่าบริการคลาวด์จะช่วยเสริมธุรกิจของคนไทยที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่การแข่งขันในระดับภูมิภาคของอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่ท้าทาย เพราะจากที่ผ่านมาประเทศไทยส่งสินค้าไปขายในอาเซียนเพียง 18-19 เปอร์เซ็นต์ จากกลุ่มคนกว่า 600 ล้านคน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงอยากให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญกับตลาดตรงนี้ โดยอาศัยจุดแข็งและข้อได้เปรียบที่มีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผล”

ที่ผ่านมาอาจมองว่าประเทศไทยได้เปรียบด้านฐานของการผลิตที่ดี อยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของด้านโลจิสติกส์ แต่การแข่งขันของธุรกิจในอนาคตจะเป็นเรื่องของออนไลน์หมด ความได้เปรียบดังกล่าวจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เท่ากับการวางแผนเรื่องระบบปริหารจัดการข้อมูลที่ดี ซึ่งประเทศไทยค่อนข้างเสียเปรียบในเรื่องความรู้ความเข้าใจด้านไอที หากเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การที่มีบริการคลาวด์ออกมาในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะเข้ามาใช้เทคโนโลยี หรือซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการ อย่างเรื่อง ระบบการสำรองข้อมูล ระบบบัญชี ระบบหารบริหารจัดการคลังสินค้า ฯลฯ ผ่านบริการคลาวด์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรทางด้านไอที ซึ่งสามารถเริ่มใช้งานได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต่อไปจะเป็นการแข่งขันกันด้วยเรื่องเวลา และเรื่องของการจัดการให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า อยากให้คนทำธุกิจในเมืองไทยมองเห็นความสำคัญของการนำเอาเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ เพราะโดยมากธุรกิจจะมองที่ยอดขายเป็นสำคัญ แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการหลังบ้าน ซึ่งจริง ๆ แล้วค่าใช้จ่ายต้นทุนที่เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ดีล้วนแต่เป็นต้นทุนธุรกิจทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อเปิดเออีซีแล้ว เรื่องการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ความได้เปรียบเสียเปรียบในอดีต ที่เป็นกลยุทธ์ในการจัดการธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง อย่างระบบการสำรองข้อมูล, ระบบบัญชี, ระบบบริหารคลังสินค้า, การจัดเก็บข้อมูลฐานลูกค้า, การจัดการหน้าเว็บไซต์ ฯลฯ แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถใช้งานระบบเหล่านี้ได้ผ่านบริการคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย และจะได้ระบบจัดการที่เหมือนบริษัทใหญ่ที่มีระบบไอทีขององค์กรเอง โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์หรือระบบไอทีเอง อยู่ที่ไหนก็ใช้ซอฟต์แวร์ได้ เพียงแค่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อ

“ฉะนั้นหากผู้ประกอบการไทยพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน นำเทคโนโลยีคลาวด์มาอยู่ในทุกกระบวนการทางธุรกิจ จะทำให้สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้ไม่ยาก และคลาวด์เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ในประเทศเป็นอย่างมาก เพราะมีราคาถูก ไม่ต้องลงทุนสูง แต่ก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องการบริหารจัดการ สามารถปรับเพิ่ม ขยาย ลดความต้องการใช้งานโซลูชั่นต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เมื่อมีระบบบริหารจัดการที่ดี เชื่อว่า SME จะก้าวไปขยายตลาดในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างแน่นอน” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย

About TechTalkThai_PR

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว