Intel มุ่งเน้นไปที่แผนขยายการลงทุนโรงงานในเวียดนาม

อยู่ในช่วงพิจารณาเพิ่มเม็ดเงินในการลุงทุนประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในประเทศเวียดนาม เพื่อขยายโรงงานทดสอบชิปและบรรจุภัณฑ์ของ Intel
 
ความเคลื่อนไหวนี้ ส่งสัญญาณถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นของเวียดนามในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกสำหรับเซมิคอนดักเตอร์ หลายบริษัทต่างพยายามลดการพึ่งพาจีนและไต้หวันเนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองและความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ซึ่งอีกแหล่งข่าวได้เผยว่า Intel กำลังชั่งน้ำหนักการลงทุนทางเลือกในสิงคโปร์และมาเลเซียด้วย
 
Intel บอกกับรอยเตอร์ว่า “เวียดนามเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายการผลิตทั่วโลกของเรา แต่เรายังไม่ได้ประกาศการลงทุนใหม่ใดๆ”
 
การขยายโรงงานในเวียดนามจะช่วยให้สามารถจัดการการหยุดชะงักของอุปทานได้ดีขึ้นเนื่องจากการพึ่งพาประเทศเดียวหรือโรงงานใดโรงงานหนึ่งเป็นจำนวนมาก โดยดึงดูดบริษัทต่างชาติในทั้งสามส่วนหลัก ได้แก่ การประกอบ การทดสอบและบรรจุภัณฑ์ การผลิตและการออกแบบ ซึ่งต้องใช้ทุนให้ลดน้อยลงและใช้แรงงานที่มีทักษะสูงมากขึ้นในเวียดนาม
 
นอกจากเวียดนาม Intel ยังมีโรงงานสำหรับการทดสอบและบรรจุภัณฑ์ในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
 
แผนการขยายการลงทุนของ Intel ครั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมสำหรับลด “การกระจุกตัวมากเกินไป” ของกำลังการผลิตในจีนและไต้หวัน ซึ่งคิดเป็น 60% ของกำลังการผลิตทั่วโลก โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงคาดหวังว่าการผลักดันให้มีการผลิตชิปในประเทศจะมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น
 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

G-ABLE เปิดบ้านต้อนรับนักวิเคราะห์ โชว์กำไร Q1/66 โตแกร่ง ย้ำศักยภาพผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น [Guest Post]

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ G-ABLE ผู้นำ “Tech Enabler” ที่ให้บริการด้าน Digital Transformation แบบครบวงจร นำทีมผู้บริหาร จัดงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst …

Opensignal เผยรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทย พฤษภาคม 2566 [Guest Post]

โดย โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal