ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยสัมภาษณ์เดี่ยวกับคุณ Cas Brentjens ผู้ดำรงตำแหน่ง Director, Solution Consulting แห่ง Infor ในภูมิภาค APJ เกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจในการทำ Digital Transformation ที่ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) กำลังจะก้าวเข้าสู่ภาพของการทำ Multi-Enterprise Network เพื่อผสานรวมทั้ง Supply Chain เป็นระบบเดียว จึงขอสรุปเนื้อหาการพูดคุยเอาไว้ให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

2 ขั้นตอนสู่การทำ Digital Transformation ฉบับเข้าใจง่าย
ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ ได้เริ่มทำ Digital Transformation ด้วยวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม ทาง Infor นั้นได้รวมเอากรณีศึกษาเหล่านั้นมาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนของการทำ Digital Transformation ฉบับเข้าใจง่ายเอาไว้ ได้แก่
- Automation ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
- Differentiation นำเสนอประสบการณ์, บริการ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในแบบ Data-driven เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
อันที่จริงแล้วที่ผ่านมาโลกของเราก็ค่อยๆ ทะยอยเข้าสู่การทำ Digital Disruption ที่เทคโนโลยีเข้ามาทำลายธุรกิจแบบเก่าและเกิดเป็นธุรกิจแบบใหม่มาโดยตลอดอยู่แล้ว เพียงแต่รอบนี้การเกิด Digital Disruption นี้จะเกิดขึ้นกับทุกอุตสาหกรรมพร้อมๆ กัน และการเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วกว่าในอดีตเป็นอย่างมากด้วยปัจจัยด้านความพร้อมทางเทคโนโลยี ทั้งในมุมของผู้พัฒนาและลูกค้าผู้ใช้งาน โดยองค์ประกอบของการทำ Digital Disruption จะแบ่งออกเป็น 6 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันดังนี้
- Instrumented World การนำ Mobile, Sensor, Analytics และ IoT มาเป็นเทคโนโลยีหลักที่ทุกคนเข้าถึงได้
- Cloud ในฐานะของระบบประมวลผลขนาดใหญ่เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
- Digitization เปลี่ยนผลิตภัณฑ์, บริการ, ประสบการณ์ให้กลายเป็น Digital และมี Software เป็นศูนย์กลางในการทำธุรกิจ
- API Economy การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรสู่องค์กร และองค์กรสู่สาธารณะ
- Networks การทำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจด้วยกันเองจนเกิดเป็นชุมชน และเพิ่มขยายรองรับการเติบโตได้
- Data Science การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Big Data, Machine Learning และการทำ Predictive Analytics
ทั้ง 6 ประเด็นนี้คือโจทย์ที่องค์กรจะต้องตอบให้ได้ในการที่จะทำ Digital Disruption ให้เกิดขึ้นได้จริง

ในการทำ Digital Transformation ระบบ ERP จะยิ่งจำเป็นมากขึ้น และจะครอบคลุมธุรกิจทุกขนาดทุกอุตสาหกรรมได้
อย่างไรก็ดี ก้าวแรกของการทำ Digital Transformation นั้น ระบบ ERP เองก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญอยู่ในฐานะศูนย์กลางข้อมูลการทำธุรกิจขององค์กร แต่ภาพของระบบ ERP ในปัจจุบันนี้เองก็เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก โดยองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดกลางก็สามารถใช้งาน ERP ในการบริหารจัดการระบบงานต่างๆ ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เป็นผลจากการมาของเทคโนโลยี Cloud นั่นเอง ทำให้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างก็ก้าวเข้าสู่โลกของการทำ Digital Transformation และแข่งขันกันได้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ERP เองก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการทำ Digital Transformation ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับของการทำ Automation ที่จะต้องมีการเพิ่ม Input ข้อมูลปริมาณมหาศาลเข้าไปเพื่อนำไปประมวลผลและเกิดเป็นการตัดสินใจและทำสิ่งต่างๆ ได้เองโดยอัตโนมัติมากขึ้น หรือในระดับของการทำ Differentiation ที่ต้องมีการนำข้อมูลมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบของ Data-driven ก็ตาม

แต่ ERP เดี่ยวๆ นั้นไม่สามารถสร้างคุณค่าได้เพียงพอที่จะอยู่รอดในยุคของ Digital Transformation อีกต่อไป
ถึงแม้องค์กรจะเริ่มสามารถทำ Digital Transformation และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้สำเร็จ แต่ก้าวถัดไปจากการทำ Digital Transformation นั้นจะเป็นยุคที่ธุรกิจหลากหลายเริ่มร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เกิดเป็นกระบวนการการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ตลาดเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น สร้างความดุเดือดในการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจต่างๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้งานได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
การ Integrate ร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจให้ได้นี้จึงกลายเป็นก้าวของอนาคตที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการ Integrate กันระหว่างธุรกิจเดิมที่เคยทำงานร่วมกันอยู่แล้วเพื่อให้การทำงานระหว่างกันมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีก หรือการ Integrate ระหว่างธุรกิจที่ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อนเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมานำเสนอในตลาดให้ได้ก็ตาม
สร้าง Multi-Enterprise Network ผสาน ERP จากทุกธุรกิจสู่ Network Cloud ครอบคลุมทั้ง Supply Chain
ในก้าวแรกของการ Integrate ร่วมกันระหว่างหลายธุรกิจนี้ Infor มองว่าหนทางหนึ่งที่เริ่มต้นเป็นได้ไปง่ายที่สุดและเกิดขึ้นจริงหลายกรณีแล้วในยามนี้ คือการสร้าง Multi-Enterprise Network เพื่อเชื่อมธุรกิจภายใน Supply Chain เดียวกันทั้งหมดเข้าด้วยกัน เกิดเป็น Network Cloud ที่ธุรกิจภายใน Supply Chain เดียวกันนี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา และมีความเป็นอัตโนมัติสูง ทำให้ทุกๆ การผลิตสามารถทำนายผลลัพธ์ได้จากข้อมูลปัจจัยต่างๆ ตลอดสาย Supply Chain และการสื่อสารระหว่างธุรกิจเองก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ระบบ Network Cloud ที่ดีก็ควรจะมีคุณสมบัติในการทำงานร่วมกับระบบ ERP ได้โดยไม่จำกัดค่าย เนื่องจากในความเป็นจริงนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกๆ ธุรกิจใน Supply Chain เดียวกันจะใช้ระบบ ERP จากผู้ผลิตรายเดียวกัน ในขณะที่ประเด็นด้านความถูกต้องแม่นยำ, ความทนทานของระบบ และความมั่นคงปลอดภัยนั้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะละเลยไปไม่ได้เช่นกัน

Infor: อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับระบบ ERP และ Multi-Enterprise Network สำหรับองค์กร ด้วยลูกค้ามากกว่า 700 บริษัททั่วไทย
Infor นั้นได้เข้ามาทำตลาด ERP สำหรับธุรกิจองค์กรในเมืองไทยมาแล้วเป็นเวลากว่า 10 ปี และมีลูกค้ากว่า 700 องค์กรทั่วไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต, อาหารและเครื่องดื่ม, ยานยนตร์, การเงิน, ประกัน, กองทุน, อสังหาริมทรัพย์, โรงแรม, ขนส่ง และธุรกิจ Warehouse โดยหากมองถึงระดับภูมิภาคอาเซียนแล้ว Infor ก็มีลูกค้าองค์กรมากด้วยกันถึง 8,269 ราย และมีพนักงานคอยสนับสนุนการทำงานของเหล่าธุรกิจองค์กรรวมกันกว่า 1,500 คนเลยทีเดียว
สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของระบบ ERP จาก Infor ในเชิงเทคโนโลยีนั้นมีดังนี้
- มีระบบ ERP ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ แยกย่อยอย่างชัดเจน ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา Implement นาน
- เลือกติดตั้งใช้งานได้ทั้งแบบ On-premise, Private Cloud และ Multi-tenant Cloud ทำให้มีความหลากหลายด้านสถาปัตยกรรมระบบ
- สามารถเลือกใช้ Component ภายในระบบเองได้ว่าจะใช้ Open Source Software หรือ Commercial Software ทำให้มีความยืดหยุ่นด้านค่าใช้จ่าย
- มีระบบ Network Cloud เชื่อมต่อ ERP จากผู้ผลิตหลายรายเข้าเป็น Supply Chain เดียวกัน ให้ผู้ผลิตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain สามารถทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนระบบ ERP ที่ใช้งานอยู่เดิม
- ระบบ ERP ทั้งหมดของ Infor รองรับการทำงานร่วมกับ Internet of Things (IoT) ได้ทันที โดยมี Platform หลังบ้านและเครื่องมือในการเชื่อมต่อให้พร้อมใช้งานแล้ว
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Infor สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ http://www.infor.com/ ทันทีครับ