Black Hat Asia 2023

[PR] การวิจัยของไอเอฟเอสพบผู้ผลิตกำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันการเติบโตด้วยแนวทางการบริการภิวัฒน์

จากการศึกษาทั่วโลกยังพบด้วยว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่กำลังเริ่มใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล   เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมออกสู่ตลาดให้เร็วกว่าเดิม

Woman in protective clothing using touchpad in factory

ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร เปิดเผยผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้กำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตในเชิงพาณิชย์ด้วยแนวทางด้านการบริการภิวัฒน์ แต่กระนั้นปัญหาด้านการขาดแคลนทักษะ การกลัวและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และการไม่ค่อยเต็มใจให้ความร่วมมือกับบริษัทภายนอกถือเป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างมาก

การบริการภิวัตน์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากการผลิตสินค้าไปสู่การสร้างบริการใหม่ๆ ผ่านบริการภิวัฒน์” (Servitization) เป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแนวทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) โดย 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าบริการภิวัฒน์เป็นที่ยอมรับและให้ผลตอบแทนที่ดีและอยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากผู้บริหารแต่ก็มีเกือบ 1 ใน 3 ของบริษัทผู้ผลิตที่ได้รับประโยชน์จากบริการภิวัฒน์

บริการภิวัฒน์ของภาคการผลิตกำลังได้รับการผลักดันบางส่วนจากแรงกดดันด้านการแข่งขัน และจากลูกค้าที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและต้องการได้รับทุกสิ่งทุกอย่างให้เร็วยิ่งกว่าเดิมนายแอนโทนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวและว่าผู้ผลิตที่ยังไม่ได้ใช้โมเดลที่มีบริการเป็นศูนย์กลางกำลังสูญเสียรายได้และแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาข้อเสนอสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ดังนั้นเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและความต้องการที่กำลังเพิ่มมากขึ้น บรรดาผู้ผลิตจะต้องร่นระยะเวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ครอบคลุมตั้งแต่การนำความคิดจากการออกแบบไปผลิตเป็นสินค้าและนำออกขายในตลาดให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าวได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นว่าการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นแนวทางหลักที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มองว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกการเติบโตทางการค้าได้อย่างเห็นผล โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการกระตุ้นนวัตกรรมให้เกิดเร็วขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (ในสัดส่วนที่มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ) ขณะที่การสร้างความแตกต่างด้านการแข่งขัน (32 เปอร์เซ็นต์) ก็ยังติดปัจจัยห้าอันดับแรกของอุตสาหกรรมแห่งนี้ด้วย แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองประเด็นนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับปัจจัยทั่วไปที่ช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต นั่นคือประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานภายใน” (40 เปอร์เซ็นต์) และการประหยัดค่าใช้จ่าย” (33 เปอร์เซ็นต์)

อุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างเต็มที่

อุตสาหกรรมการผลิตกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมากเพื่อเร่งการเติบโต โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุสถานะการปรับใช้เทคโนโลยีของตนว่าใช้งานแล้ว” (enabled), “กำลังสำรวจตรวจสอบ” (exploratory) หรือเพิ่มระดับการใช้แล้ว” (enhanced) และไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่แถวหน้าของการปรับใช้เทคโนโลยี โดย 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าสถานะของตนว่าเพิ่มระดับการใช้แล้ว” (enhanced) หรือได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้ว” (optimized) ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) (29 เปอร์เซ็นต์) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) (21 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต 84 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพวกเขาคิดว่าได้ลงทุนเพียงพอหรือได้ประโยชน์แล้วซึ่งมีสัดส่วนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ 12 เปอร์เซ็นต์ยังระบุด้วยว่าเงินลงทุนมากเกินไปซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พบในในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่าบริษัทผู้ผลิตไม่ได้จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพหรือคุ้มค่ากับเงินที่ลงไป 

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายทางวัฒนธรรมที่อาจขัดขวางความพยายามด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดกว้างและความเต็มใจที่จะแบ่งปันกับบริษัทภายนอกองค์กร โดยเกือบ 1 ใน 3 (31 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าต้องการเพิ่มความร่วมมือในการทำงาน และระบุด้วยว่าการบริหารหลังการขาย/การประมาณการ“, “ซัพพลายเชนและการบริหารจัดการด้านการขาย/การประมูลเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ 57 เปอร์เซ็นต์ยังแจ้งด้วยว่าองค์กรของตนมีการบูรณาการทำงานภายในและสามารถทำงานข้ามแผนกได้อย่างแข็งแกร่งมาก ขณะที่การทำงานร่วมกับบริษัทภายนอกดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่มมากขึ้น

การขาดแคลนทักษะความสามารถ

บริการภิวัฒน์นำเสนอโอกาสใหม่ๆ ของงานสำหรับพนักงานภาคการผลิตที่ปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นงานเฉพาะด้านการผลิตเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 4 (23 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการขาดทักษะและความสามารถเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเทคโนโลยี เอไอ หรือหุ่นยนต์ และระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI) ถือเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น องค์กรด้านการผลิตมีโอกาสอย่างมากที่จะนำบริการภิวัฒน์และการเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรในที่ทำงานมาสร้างงานใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ โดย 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานระบุว่าการกลัวหรือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

อย่างไรก็ตาม 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อเพิ่มความสามารถที่มีอยู่เดิม ขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ก็กำลังมองหาการจ้างงานจากภายนอกด้วย

การขาดข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ได้รับการระบุว่าเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลอันดับหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องลงทุน แต่มีเพียง 1 ใน 4 (26 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้นที่กำลังใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อช่วยให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ทราบวิธีหาสร้างมูลค่าจากข้อมูลที่ตนมีอยู่ โดย 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาเพิ่งเริ่มต้นใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล และพบว่าสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เปรียบในด้านการแข่งขัน

การเดินหน้าผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้น

ทั้งนี้มีสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าบริษัทผู้ผลิตกำลังนำเอาระบบการทำงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้ชื่อว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมได้สูงสุด และยังพบแนวทางใหม่ๆ ในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อีกด้วย กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (55 เปอร์เซ็นต์) ได้เปลี่ยนไปใช้การผลิตระบบอัจฉริยะแล้ว และยังมีอีก 26 เปอร์เซ็นต์ที่คาดว่าจะดำเนินการดังกล่าวภายในสองปี หากต้องการนำหน้าในการแข่งขัน บริษัทต่างๆ จะต้องเร่งการปรับใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และบริษัทภายนอกสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ด้วยการเติมเต็มทักษะและทรัพยาการที่มีความจำเป็นอย่างมาก ผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมการผลิต 81 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าผู้จำหน่ายที่เป็นบริษัทภายนอกที่ตนใช้บริการอยู่ในปัจจุบันพร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลในอนาคตแล้วโดยรายงานแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตเห็นว่าบริษัทภายนอกมีบทบาทสำคัญในด้านการปรับเปลี่ยนหน่วยงานและองค์กรให้เป็นดิจิทัล“, “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการรายงานและกลยุทธ์ทางดิจิทัล

###

เกี่ยวกับการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของไอเอฟเอส

การสำรวจในครั้งนี้จัดทำโดยบริษัท ไอเอฟเอส เพื่อประเมินความพร้อมด้านการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ดาวน์โหลดรายงานได้ที่นี่ โดยบริษัท Raconteur ได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับมุมมองของบุคคลที่มีอำนาจการตัดสินใจจำนวน 750 คนใน 16 ประเทศ ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ การบิน การก่อสร้างและการรับเหมา การผลิต และการบริการ ซึ่งเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตนั้นก็มีผู้เข้าร่วมทำแบบสำรวจมากถึง 150 คน สำหรับประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สวีเดน เยอรมนี ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน โปแลนด์ ตะวันออกลาง (ภูมิภาค) และอินเดีย


About TechTalkThai PR 2

Check Also

Pure Storage นำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลและสตอเรจที่ใช้งานง่าย เปี่ยมประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในไทย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 29 มีนาคม 2566 – Pure Storage ® (NYSE: PSTG)  ผู้บุกเบิกด้านไอทีที่นำเสนอเทคโนโลยีและบริการด้านการจัดเก็บข้อมูลที่ก้าวล้ำที่สุดในโลก เปิดตัว FlashBlade //E™ โซลูชันสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data)  สามารถปรับขนาดแบบ Scale-out รองรับการเติบโตของข้อมูลอย่างรวด เร็วด้วยคุณสมบัติการประหยัดพลังงานระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม โดดเด่นด้วยต้นทุนการจัดซื้อที่ใกล้เคียงกับดิสก์ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ต่ำกว่ามาก FlashBlade …

ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ [Guest Post]

ยูจีน โฮ ได้รับการแต่งตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีลอยท์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากฟิลลิป หยวน โดยเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 มิถุนายน 2566