CDIC 2023

[PR] ไอดีซี ประเทศไทย : การใช้จ่ายด้านไอซีทีปี 2558 โตน้อยกว่าปกติ แต่นักวิเคราะห์มองว่าจุดฟื้นตัวและยุคใหม่ของไอซีทีไทยจะอยู่ในปี 2559

ที่ กรุงเทพฯ วันที่ 15 กรกฏาคม 2558 – ภาพรวมของการใช้จ่ายด้านไอทีและการสื่อสาร (ไอซีที) ของประเทศไทยในปี 2558 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เติบโตเล็กน้อยและเงินลงทุนที่หดหายไปของภาคธุรกิจ รายงานการสำรวจนี้มาจากการปรับปรุงรายงานการใช้จ่ายไอซีทีของประเทศไทยในปี 2558 ที่มีฐานมาจาก ข้อมูลเชิงลึกในตลาดต่าง ๆ ของธุรกิจไอซีที จำนวน 11 ธุรกิจที่ไอดีซีทำการเก็บข้อมูลและคาดการณ์แนวโน้มตลาดอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อ IDC Tracker® การปรับปรุงนี้ได้มีการทบทวนการใช้จ่ายในตลาดหลัก ๆ เช่น ตลาดโทรคมนาคม ไคลเอนต์ดีไวซ์ ซอฟท์แวร์ในองค์กร ระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร (enterprise computing) บริการด้านไอที และ อุปกรณ์ต่อพ่วงไอทีต่าง ๆ

thailand-ict-spending

จนถึงขณะนี้ ประเทศไทยยังคงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับสินค้าและบริการด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าจะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาด้านการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2558 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีที่มีจากหน่วยงานภาครัฐฯ ภาคธุรกิจเอกชน และผู้บริโภครวมกัน จะอยู่ที่ราว 20.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นายไมเคิล อาราเนต้า ผู้จัดการประจำเทศไทย ระบุว่า “ในปี 2558 นี้ค่อนข้างเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจไอซีทีของไทย อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีทีโดยทั่วไปแล้วพบว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า จีดีพี ของประเทศราวร้อยละ 3-8 หน่วย แต่ทว่าในปีนี้ ส่วนต่างระหว่างช่วงดังกล่าวหดแคบลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1  อย่างไรก็ตาม ปี 2558 มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นสำหรับแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนที่ค่อนข้างเด่นชัดในตลาดไอซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลทฟอร์มที่ 3 อย่างเช่น คลาวด์, โมบิลิตี้ และ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เกิดขึ้น เราคาดว่า การฟื้นตัวจะค่อย ๆ เกิดขึ้นในปี 2559 แต่ในปีหน้าที่จะมาถึงเราจะเห็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของตลาดไอทีไทย บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ ไอซีที ที่มีโจทย์และความท้าทายใหม่กำลังจะเข้ามา”

ผลสรุปโดยย่อของรายงานฉบับนี้มี ดังนี้ :

  • ปี 2558 ค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของ จีดีพี ไอดีซี คาดกว่า การเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีที จะมีอัตราการเติบโตเทียบเท่ากับภาคการเกษตรของประเทศ โดยสัดส่วนของการใช้จ่ายนี้ บริการโทรคมนาคมจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 45.5 และไอทีอยู่ที่ร้อยละ 54.5 การเติบโตของตลาดไอทีในปี 2558 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างทรงตัวทีร้อยละ 1.9 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง  สำหรับตลาดบริการโทรคมนาคม จะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 6.2 ทั้งนี้กลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจเอกชนยังคงมีการเพิ่มการใช้บริการด้านรับส่งข้อมูลสูงขึ้น
  • การใช้จ่ายด้านสมาร์ทโฟนยังคงเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดไอซีทีในกลุ่มผู้บริโภค จากรายงานการศึกษาของไอดีซี พบว่า ธุรกิจสมาร์ทโฟนมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของการใช้จ่ายไอซีที ในกลุ่มผู้บริโภค และยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนยังมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขถึงสองหลักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ทว่า ในปีนี้ อัตราการเติบโตค่อนข้างจะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญเหลือเพียงแค่ตัวเลขหลักเดียว “แม้ว่าอัตราการเติบใช้สมาร์ทโฟนในบ้านจะมีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโดยรวมและราคาของอุปกรณ์เหล่านี้เริ่มมีราคาต่ำลง แต่ทว่า อัตราการเติบโตของตลาดในปีนี้คาดว่ายังคงชะลอตัวลง” นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว “แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ ตลาดสมาร์ทโฟนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยยอดจำหน่ายราว 20 ล้านเครื่องในปี 2558”
  • จะมีผู้บริโภคหน้าใหม่สำหรับสินค้าหรือบริการด้านไอซีทีที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ด้วยราคาที่สามารถซื้อหาได้และความคล่องตัวในการใช้งานของสมาร์ทโฟนได้ทำให้อุปกรณ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าในปี 2560 ประชากรไทยจะมีการใช้สมาร์โฟนสูงถึงร้อยละ 70” นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว “สำหรับผู้ใช้งานหลายล้านคนนี้ สมาร์ทโฟนถือเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขาเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มนี้ที่เพิ่งจะเรียนรู้ไอทีและเริ่มใช้งานไอที ถือเป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ให้บริการในการให้บริการหรือนำเสนอแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ อีกด้วย”
  • นวัตกรรมถัดไปที่จะเปลี่ยนแปลงตลาดจำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่มีความยั่งยืนในตลาดไอซีทีของผู้บริโภค ไอดีซีคาดว่า อัตราการจำหน่ายของสมาร์ทโฟนกำลังจะลดน้อยลงในอนาคต สอดคล้องกับการหดตัวของตลาดแทบเล็ต ผู้บริโภคกำลังเริ่มมองหานวัตกรรม ที่คล้ายคลึงกันกับการปรากฏตัวของสมาร์ทโฟนเมื่อแปดปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องโชคร้ายที่สิ่งที่คาดว่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญในปัจจุบันอย่างอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารชนิดสวมใส่ (wearable) ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดมากนัก และส่วนมากจะถูกจำกัดโดยหน้าที่การใช้งานเฉพาะเท่านั้น “อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารชนิดสวมใส่นี้ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับนวัตกรรมที่จะโดนใจและเข้าถึงผู้บริโภคลำดับถัดมา แต่กลับไม่พบเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมตลาดทั่วไปถึงต้องใช้งานสิ่งนี้ในปัจจุบัน” นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว “เราคาดว่าเวลาที่เหมาะสมในการทำตลาดสำหรับอุปกรณ์นี้น่าจะช่วงสิ้นปี 2559”
  • 4G จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล การใช้จ่ายด้านบริการโทรคมนาคมของประเทศซึ่งได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6.2 ในปี 2558 และร้อยละ 6.5 ในปี 2559 การให้บริการเชิงพาณิชย์สำหรับเครือข่าย 4G ถือเป็นจุดหักเหที่สำคัญต่ออัตราการเติบโตไม่เพียงแต่ธุรกิจโทรคมนาคมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

“ยังคงมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับเครือข่าย 4G ว่าจะเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลหรือไม่  ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วของ 4G ได้มีส่วนในการเพิ่มผลผลิต สร้างนวัตกรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาบริการใหม่รวมถึงการมีธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้น นายจาริตร์ สิทธุ กล่าว “เศรษฐกิจดิจิตอลนั้นจะเดินต่อไปได้หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับโครงข่ายบรอดแบนด์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงเกินกว่าจะสามารถคาดเดาได้”

ไอดีซี หวังว่า ความต้องการใช้งาน 4G จะก่อให้เกิดการใช้บริการรับส่งดาต้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น หากบริการ 4G มีการเปิดประมูลใบอนุญาตเกิดขึ้นจริงภายในปี 2558 คาดว่าจะเริ่มมีการติดตั้งและวางโครงข่ายทำให้เราจะสามารถใช้บริการนี้ได้ในครึ่งปีหลังของปี 2559

  • ตลาดผู้บริโภคยังชี้นำตลาดไอซีที แต่สิ่งนี้กำลังเปลี่ยนไป การใช้จ่ายไอซีทีของกลุ่มผู้บริโภคมีสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 65 แต่สัดส่วนดังกล่าวนี้คาดว่าจะลดลงตามลำดับในอนาคต การใช้จ่ายไอซีทีของภาคธุรกิจกับเริ่มเห็นแรงหนุนที่มาจากองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 เพื่อสร้างความยั่งยืนและคงความสามารถการแข่งขันของธุรกิจ ภาคธุรกิจคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายร้อยละ 6.1 ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4  อัตราการเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากความต้องการใช้งานบริการด้านไอทีและการใช้ซอฟท์แวร์สำหรับองค์กรที่เพิ่มขึ้น

ภาคบริการทางการเงินยังคงเป็นกลุ่มหลักในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในยุคถัดไปมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในด้าน ดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ หรือการทำเวอร์ชวลไลเซชั่น ตลอดจนการให้บริการต่าง ๆ ผ่านคลาวด์ของกลุ่มธุรกิจจะเกิดขึ้นภายในปี 2559

  • แผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องน่ายินดี แต่เรื่องนี้จะกระตุ้นการเติบโตตลาดไอซีทีหลังปี 2559 ไปแล้ว ในกรณีที่มีแผนแม่บทนี้จะผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนทั้งเศรษฐกิจของประเทศและอุตสาหกรรมไอซีทีของบ้านเรา อย่างไรก็ตาม ไอดีซีคาดว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559 เป็นต้นไป

“มีบางอย่างที่แน่นอนว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้เราจะได้เห็นประโยชน์ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ในเบื้องต้นจะเป็นโครงข่ายสาธารณูปโภคด้านไอซีทีขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือการให้การบริการเพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐฯ หรือองค์กรธุรกิจเอกชน” นายเสถียรพร สุวรรณสุภา นักวิเคราะห์ตลาด ประจำไอดีซีประเทศไทย “ผลกระทบนี้จะเริ่มขยายวงกว้างในที่สุด ตลาดผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่รู้สึกได้ถึงผลกระทบดังกล่าวนี้ แต่ตลาดกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะทำให้แผนงานนี้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้หรือไม่”

ไอดีซีเชื่อว่า ส่วนที่มีความท้าทายที่แท้จริงสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลจะมาจากการเกิดใหม่ของจำนวนผู้ประกอบการดิจิตอล นายเสถียรพร สุวรรณสุภา เสริม “ด้วยระบบ ไอซีที ทีพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะมีโอกาสอย่างมากในการกลายเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมของภูมิภาคนี้ ลองนึกภาพการเป็นยักษ์ใหญ่เรื่องเทคโนโลยียุคใหม่ที่เริ่มมาจากประเทศไทย”

 

เกี่ยวกับไอดีซี

IDC_Corporate_Logo

ไอดีซี บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูมเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เจาะลึก ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ ทางธุรกิจ ปัจจุบัน ไอดีซี มีนักวิเคราะห์มากกว่า 1,100 คน ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ และแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในแต่ละประเทศ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สะสมมามากกว่า 50 ปี ไอดีซีได้ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซีเป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสารเทคโนโลยีวิจัย และจัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ www.idc.com


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Paessler ประกาศเข้าซื้อกิจการ ITPS บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสวิส

3 ตุลาคม 2566 : Paessler AG ผู้นำด้านโซลูชันการมอนิเตอร์ระบบ IT, OT และ IoT มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นูเร็มเบิร์ก เยอรมนี ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ ITPS …

Raceku Webinar: Biggest Trends and Challenges Reshaping the Future of Service Industry

IFS ร่วมกับ Raceku Thai ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “Biggest Trends and Challenges Reshaping the Future …