IBM เปิดตัว IBM Q ระบบ Quantum Computer สำหรับงานทางธุรกิจและวิทยาศาสตร์

IBM ประกาศเปิดตัวระบบ Quantum Computer สำหรับงานประมวลผลทางธุรกิจและวิทยาศาสตร์ภายใต้ชื่อ IBM Q และจะกลายเป็นกำลังสำคัญของ IBM Cloud ในอนาคต

Credit: IBM

IBM Q นี้จะเป็นระบบ Quantum Systems และ Service ซึ่งจะเปิดให้ใช้บริการได้ผ่านทาง IBM Cloud Platform และมีเป้าหมายเพื่อใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ระบบ Artificial Intelligence (AI) หรือ Cognitive Computing ไม่สามารถแก้ไขได้เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอให้ทำการศึกษา ทำให้ต้องอาศัยระบบที่มีพลังประมวลผลสูงมากเพื่อใช้คำนวนชุดของการจำลองจำนวนมหาศาลในระดับที่ระบบ Computer ทุกวันนี้ไม่อาจไปถึงได้ จนต้องใช้ Quantum Computer ซึ่งมีพลังประมวลผลที่สูงกว่าเข้ามาช่วย

ในการเปิดตัว IBM Q ครั้งนี้ ได้มีการเปิด API ชุดใหม่สำหรับ IBM Quantum Experience ที่ https://quantumexperience.ng.bluemix.net/qstage/#/community เพื่อให้ระบบ 5-Qubit Quantum Computer สามารถทำงานร่วมกับระบบ Computer ทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้โดยที่ไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Quantum Physics เชิงลึกแต่อย่างใดในการใช้งาน

นอกจากนี้ IBM Quantum Experience ยังได้มีการอัปเกรดวงจรภายในให้เป็นแบบ 20-Qubit ด้วย และจะเปิด SDK ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ภายในครึ่งแรกของปี 2017 นี้ โดย IBM นั้นมีเป้าหมายที่จะพัฒนา IBM Q ให้มีขนาดใหญ่ถึง 50-Qubit ให้ได้ภายในอีกไม่กี่ปีถัดจากนี้

IBM เองนั้นได้มีทีมนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เกี่ยวกับ Quantum Computer อยู่ตลอด เช่น งานวิจัยในการใช้ Quantum Processor เพื่อทำการจำลองปัญหาทางด้านเคมีโดยเฉพาะที่ https://arxiv.org/abs/1701.08213 และ https://arxiv.org/abs/1612.02058 และในอนาคตก็จะมีการขยายออกไปแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ยา, การแพทย์, การคมนาคมขนส่ง, การเงิน, AI และ Cloud Security ด้วย

ทั้งในในโครงการ IBM Quantum Experience ที่ได้เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทำการทดลองใช้งาน Quantum Computer ได้บน Cloud นั้น ก็มีผู้ที่สมัครเข้ามาทดลองใช้งานมากถึง 40,000 คน และทำการทดลองใช้งานไปกว่า 275,000 การทดลอง จนกระทั่งมีเปเปอร์งานวิจัยออกมาด้วยกันทั้งสิ้น 5 ชุดที่อ้างอิงว่ามีการใช้งาน Quantum Experience ที่ https://quantumexperience.ng.bluemix.net/qstage/#/community/question?questionId=73bfa1e0a6bacf71fa53b5cc81598b0d อีกทั้งยังได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก เช่น MIT, University of Waterloo และ EPFL เพื่อทำงานวิจัยต่างๆ อยู่ตลอด

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาเกี่ยวกับ IBM Q ได้ที่ http://www.ibm.com/ibmq ทันทีครับ ส่วนผู้ที่สนใจ API และตัวอย่าง Script สำหรับพัฒนาระบบต่างๆ บน Quantum Computer สามารถศึกษาได้ที่ https://github.com/IBM/qiskit-api-py และ https://github.com/IBM/qiskit-sdk-py เลยครับ

 

ที่มา: http://www-03.ibm.com/press/us/en/pressrelease/51740.wss

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เจาะลึกเครื่องมือการโจมตีแบบร้ายแรง Web DDoS “MegaMedusa” โดยกลุ่มก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ “RipperSec”

RipperSec เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากมาเลเซียหรือที่ถูกจัดประเภทว่าเป็นแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivism ทั้งนี้มีแรงจูงใจมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและชาติมุสลิม โดยคนร้ายมีการใช้เครื่องมือเพื่อทำ We DDoS ที่ชื่อว่า MegaMedusa โดยในบทความนี้ Radware จะชวนทุกท่านมาติดตามการดำเนินงานและกลยุทธ์ของเครื่องมือดังกล่าว โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

Microsoft เปิดตัว Office LTSC 2024 สำหรับใช้ในองค์กร

Microsoft ประกาศเปิดตัว Microsoft Office LTSC 2024 ไม่มี Subscription สำหรับใช้งานในองค์กรเท่านั้น