Google เปลี่ยนชื่อ Bard AI เป็น Gemini แล้ว

Google ประกาศเปลี่ยนชื่อ Bard เป็น Gemini เพื่อให้สอดคล้องกับโมเดล LLM ที่ใช้งาน พร้อมเปิดตัว Gemini Advanced และ Mobile Application

Credit: Google

หลังจากที่ Google ได้เปิดตัวบริการ Bard ระบบ AI Chatbot มาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว ล่าสุด Google ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริการใหม่เป็น Gemini เพื่อให้สอดคล้องกับโมเดล AI ที่ใช้งานเบื้องหลัง ปัจจุบันผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Gemini แบบ Pro 1.0 model ได้แล้ว รองรับ 40 ภาษา รวม 230 ประเทศทั่วโลก

Google ยังได้เปิดตัวบริการ Gimini Advanced ออกมาพร้อมกัน โดยเป็นการใช้งานโมเดล Ultra 1.0 สำหรับบริการ Chatbot รองรับการประมวลผลด้าน AI ที่ซับซ้อนได้มากขึ้น ปัจจุบันให้บริการแล้วใน 150 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย บริการนี้สามารถใช้งานได้ผ่าน Google One AI Premium Plan มีค่าบริการอยู่ที่ 19.99 เหรียญต่อเดือน ผู้ที่สมัครใช้บริการจะสามารถเข้าถึง Gemini Advanced และได้รับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบน Google One ขนาด 2TB รวมถึงการใช้ความสามารถของ Gemini บน Gmail, Docs, Slides และ Sheets (แทนที่บริการเดิม Duet AI)

นอกจากนี้ Google ยังเปิดตัวแอพพลิเคชัน Google Gemini บนระบบปฏิบัติการ Android ให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถทำงานทดแทน Google Assistant เดิมได้ โดยรองรับการเรียกใช้งานผ่านปุ่มบนเครื่องและการสั่งงานด้วยเสียง ส่วนผู้ใช้งาน iOS นั้นจะสามารถเข้าถึง Gemini ได้ผ่านทางแอพพลิเคชัน Google ที่จะมีการอัปเดตหลังจากนี้

ที่มา: https://blog.google/products/gemini/bard-gemini-advanced-app/

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

ต่อยอดระบบ SAP เดิมสู่การใช้ SAP S/4HANA Cloud อย่างเต็มศักยภาพที่มาพร้อมกับ AI ด้วยโซลูชั่น RISE with SAP จาก NDBS Thailand

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีการใช้งาน SAP ECC 6.0 หรือ SAP S/4HANA มาอย่างยาวนานในอดีต อาจต้องเร่งขบคิดถึงแนวทางการอัปเกรดระบบ SAP สู่ S/4HANA Cloud รุ่นใหม่เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์การใช้งานระบบ ERP …

[Video Webinar] เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability จาก Gigamon

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย “เผยจุดบอด ลดความหัวร้อน ด้วย Deep Observability” พร้อมเรียนรู้กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติในการตรวจจับภัยไซเบอร์บน East-West Traffic บนระบบ Hybrid Cloud ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ