Google เสริมความสามารถใหม่ให้ ML Kit – Language Identification และ Smart Reply

ทีมพัฒนา Android ได้ออกมาเผยความสามารถใหม่ของ ML Kit เพื่อช่วยให้การพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ของ Application เป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ได้แก่ Language Identification และ Smart Reply

Credit: Google

2 ความสามารถนี้ถือว่าแตกต่างจากความสามารถที่มีอยู่เดิมใน ML Kit ค่อนข้างมาก เพราะความสามารถเดิมของ ML Kit นั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่การประมวลผลภาพและวิดีโอเป็นหลัก ในขณะที่ 2 ความสามารถนี้จะเป็นความสามารถทางด้าน Natural Language Processing หรือ NLP โดยจะสามารถใช้งานได้ผ่าน ML Kit SDK รุ่นล่าสุดบน iOS 9.0 เป็นต้นไป และ Android รุ่น 4.1 เป็นต้นไป

สำหรับการทำ Language Identification นี้จะทำให้นักพัฒนารู้ว่าข้อความหนึ่งๆ พิมพ์มาเป็นภาษาอะไร เพื่อช่วยให้ทำการวิเคราะห์ข้อความนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ และตอบสนองด้วยภาษาที่ถูกต้องกลับไปได้ โดยปัจจุบัน ML Kit รองรับการจำแนกได้มากถึง 110 ภาษา รวมภาษาไทยด้วย ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://firebase.google.com/docs/ml-kit/identify-languages

ส่วน Smart Reply นั้จะเป็นความสามารถสำหรับใช้ใน Messaging App โดยเฉพาะ ซึ่ง ML Kit จะทำการสร้างข้อความโต้ตอบอัตโนมัติกลุ่มหนึ่งตามคำถามของอีกฝ่ายย้อนหลังไป 10 ประโยคล่าสุด ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกนำไปตอบได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถนี้สามารถประมวลผลได้บนตัวอุปกรณ์โดยตรง ไม่ต้องส่งข้อความไปวิเคราะห์บน Server แต่อย่างใด ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://firebase.google.com/docs/ml-kit/generate-smart-replies

ที่มา: https://android-developers.googleblog.com/2019/04/ml-kit-expands-into-nlp-with-language.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน