CDIC 2023

[PR] ระบบ ERP ของคุณรองรับ IOT ภาคอุตสาหกรรมหรือไม่

รัฐบาลไทยกำลังดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศจากระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นบริการ รวมทั้งพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความสำคัญ  ภายใต้นโยบาย ประเทศไทย 4.0 รัฐบาลตั้งเป้าที่จะใช้ประโยชน์จาก Internet of Things (IoT) และเทคโนโลยีอัจฉริยะอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกำลังหลักของประเทศ  นอกจากนี้ รัฐบาลยังตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนากลไกที่ขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศเพิ่มเติมอีก 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อากาศยาน พลังงานชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิตอล และการแพทย์และการดูแลสุขภาพ

ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายโซลูชั่น Enterprise Resource Planning (ERP) 7 ใน 10 ราย กำลังพัฒนาโซลูชั่นที่พร้อมรองรับ Industry 4.0 ด้วยเพราะคาดหวังว่าเทคโนโลยี Industry 4.0 จะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และมีการเติบโตในส่วนของกระบวนการผลิตที่ปรับใช้หลักการของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้

แล้วอะไรทำให้ Industry 4.0 แตกต่างจากสิ่งที่เคยมีอยู่ก่อนหน้านี้ และเพราะเหตุใดระบบ ERP จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเรื่องนี้  ในการพัฒนาตามแนวทาง Industry 4.0 จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนสินค้าให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล รวมไปถึงกระบวนการผลิตสินค้าดังกล่าว  ทั้งนี้ ในภาคการผลิต แนวคิดดังกล่าวเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับ Industrial Internet of Things (IIOT) ซึ่งเครื่องจักรต่างๆ ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และบุคลากรสามารถดึงเอาข้อมูลออกมาจากเครื่องจักร และทั้งเครื่องจักรและบุคลากรสามารถเรียนรู้จากแนวโน้ม และดำเนินการตามการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมโดยอ้างอิงข้อมูลที่รอบด้าน  ทั้งหมดนี้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการผลิตที่เหนือกว่า มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยระบบ ERP ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและติดตามความคืบหน้า

ที่จริงแล้ว Industry 4.0 และ IIOT ไม่ได้เป็นเป้าหมายสุดท้ายในตัวมันเอง หากแต่เป็นกลไกที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ  รายงาน Industry of Things World 2017 Report ระบุว่า 62% ของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมระหว่างประเทศคาดหวังว่า IIOT จะรองรับโมเดลธุรกิจและช่องทางรายได้ใหม่ๆ และผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงแล้ว โดยองค์กรธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เป็นรูปแบบดิจิตอลมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าระดับเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลทางธุรกิจที่ชัดเจนสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีองค์กรธุรกิจเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่กำหนดให้ Industry 4.0 เป็นภารกิจสูงสุดในการพัฒนาองค์กร  ถ้าหากองค์กรของคุณจัดอยู่ในกลุ่ม 2 ใน 3 ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นดำเนินการเพื่อก้าวตามให้ทัน

สิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับ Industry 4.0 ก็คือ จะต้องวิเคราะห์ระบบไอทีที่มีอยู่ เพื่อให้คุณมองเห็นว่าระบบ ERP ที่คุณใช้งานอยู่สามารถรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่  ต่อไปนี้เป็นข้อควรพิจารณา 6 ข้อสำหรับการเริ่มต้นที่ดี

Credit: ShutterStock.com
  1. สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ ERP ที่คุณมีอยู่มีลักษณะเป็นอย่างไร

ตรวจสอบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของคุณ และประเมินว่ามีความพร้อมที่จะรองรับอนาคตมากน้อยเพียงใด  ตัวอย่างเช่น จำเป็นต้องชะลอการอัพเดตและการเปลี่ยนแปลงรีลีสเนื่องจากระบบทั้งหมดมี

ซอฟต์แวร์ ERP ในโลก Industry 4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มการจัดการส่วนกลางระหว่างฝ่ายผลิต ฝ่ายบริหารขององค์กร ลูกค้า และซัพพลายเออร์  ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการปรับขนาด การจัดการข้อมูล และการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ  ถ้าหากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากและก่อให้เกิดภาระที่ยุ่งยาก ก็แสดงว่าระบบ ERP ของคุณอาจไม่เหมาะกับ Industry 4.0  คุณอาจเปลี่ยนไปใช้ระบบที่ขับเคลื่อนด้วยชุดเทคโนโลยีที่สอดคล้องกัน เช่น Microsoft .NET ซึ่งรองรับการต่อขยายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อโค้ดโปรแกรม เพราะใช้สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นบริการ

  1. ระบบของคุณสื่อสารระหว่างกันอย่างไร

ตรวจสอบว่าแผนกต่างๆ ในองค์กรธุรกิจของคุณมีความสัมพันธ์และติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างไร และมีการแบ่งปันข้อมูลประเภทใดบ้าง  ตัวอย่างเช่น ถ้าหากฝ่ายบริหาร ฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโลจิสติกส์ หรือฝ่ายจัดการวัสดุ ต้องการข้อมูลการผลิต จะสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้อย่างไร  ต้องติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ แชร์เอกสารสเปรดชีต หรือต้องเรียกใช้อินเทอร์เฟซระหว่างระบบ ERP และระบบจัดการการผลิตเพื่อรับคำตอบใช่หรือไม่

เพื่อให้ได้รับประโยชน์จาก Industry 4.0 ทุกแผนกจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการผลิตแบบเรียลไทม์ที่ตรงกัน โดยคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งบนระบบ ERP  นอกจากนี้ ระบบ ERP ดังกล่าวอาจจะต้องถูกผนวกรวมเข้ากับระบบดำเนินการผลิต (Manufacturing Execution System – MES) ขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องอย่างแท้จริง  ถ้าระบบที่คุณมีอยู่ในปัจจุบันไม่มีการผนวกรวมในระดับนี้ คุณก็อาจจะต้องมองหาระบบใหม่

  1. การตัดสินใจของคุณอ้างอิงสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียวใช่หรือไม่

การตัดสินใจที่ฉับไวและถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อม Industry 4.0 แต่การตัดสินใจที่ว่านี้จำเป็นต้องอ้างอิงข้อมูลที่รอบด้าน ไม่ใช่อาศัยสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว  สำหรับองค์กรธุรกิจจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลการผลิตที่ละเอียดภายในเวลาอันรวดเร็วถือเป็นเรื่องยาก ดังนั้นผู้บริหารองค์กรธุรกิจจึงมักจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการตัดสินใจโดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตหรือสัญชาตญาณ

เราทุกคนล้วนเคยใช้วิธีนี้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ปัญหาก็คือ เราแทบจะไม่สามารถวัดผลสำเร็จหรือตรวจสอบผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment – ROI) ได้เลย  นอกจากนี้ ยังไม่มีความแน่นอนว่าคุณได้ทำการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะมีตัวเลขน้อยมากที่จะใช้สนับสนุนกลยุทธ์ของคุณ  อย่างไรก็ตาม ถ้าหากระบบ ERP ของคุณให้ข้อมูลเรียลไทม์ที่คุณต้องการ คุณก็สามารถคำนวณมูลค่าและกำหนดแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

  1. คุณกำลังใช้แหล่งข้อมูลหลายแหล่งใช่หรือไม่

ถ้าระบบ ERP ที่คุณมีอยู่เปิดโอกาสให้แผนกต่างๆ ในธุรกิจของคุณ ‘พูดภาษาเดียวกัน’ คุณก็พร้อมที่จะพัฒนาสู่ Industry 4.0

ด้วยฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงที่รวมอยู่ในระบบ โซลูชั่น ERP รุ่นใหม่จึงสามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลทั้งจากกระบวนการผลิต ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า ข้อมูลอีคอมเมิร์ซ B2B และข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาตลาด  ‘มุมมองที่เชื่อมโยงบนเครือข่าย’ สำหรับธุรกิจนี้ครอบคลุมการดำเนินงานในทุกแผนก และช่วยให้บุคลากรทุกคน ตั้งแต่แผนกการเงิน ไปจนถึงแผนกขาย แผนกการตลาด และแผนกพัฒนาธุรกิจ สามารถทำการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความนิยมที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง ทีมงานฝ่ายขายก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อกระตุ้นการเพิ่มยอดขายสำหรับสินค้าดังกล่าว  ในทางกลับกัน โรงงานผลิตจะสามารถตอบสนองด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างทันท่วงทีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว

  1. คุณมีฟังก์ชั่นเดียวกันในระบบคลาวด์หรือไม่

ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่ธุรกิจต้องการจากโซลูชั่น ERP ก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน  ระบบ ERP รุ่นเก่าบางระบบไม่มีตัวเลือกระบบคลาวด์หรือระบบไฮบริด มีแต่เพียงระบบที่ต้องติดตั้งภายในองค์กรจึงจะสามารถใช้งานฟังก์ชั่นทั้งหมดได้  แต่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้อาจมีข้อจำกัดอย่างมากสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ตัวอย่างเช่น ถ้าหากธุรกิจของคุณตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในพื้นที่ห่างไกล คุณอาจต้องการให้โรงงานแห่งใหม่นี้ใช้ซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ในช่วงระยะแรก เพื่อให้สามารถเริ่มต้นดำเนินงานได้ทันที และสามารถแชร์ข้อมูลและใช้กระบวนการต่างๆ ร่วมกับระบบส่วนกลาง

โซลูชั่น ERP ที่มีตัวเลือกระบบคลาวด์ ระบบที่ติดตั้งภายในองค์กร หรือระบบไฮบริด ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรมเดียวกัน มีฟังก์ชั่น โมเดลข้อมูล และลอจิกสำหรับธุรกิจ (Business Logics) แบบเดียวกัน จะให้ความยืดหยุ่นสูงสุดสำหรับการปรับขนาดของระบบและการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางด้านธุรกิจ

  1. ระบบ ERP ของคุณพร้อมสำหรับ IIOT หรือไม่

โซลูชั่น ERP รุ่นใหม่จะไม่เพียงแค่บอกเครื่องจักรว่าจะต้องทำอะไรบ้างเท่านั้น แต่จะสามารถรับคำสั่งจากเครื่องจักรได้ด้วยเช่นกัน  ตัวอย่างเช่น เมื่อชิ้นส่วนของเครื่องจักรในโรงงานผลิตที่ใช้ระบบ IIOT จำเป็นต้องได้รับการซ่อมบำรุง ก็จะส่งข้อความไปยังระบบ ERP และระบบก็จะจัดเตรียมการซ่อมบำรุงให้ก่อนที่จะเกิดปัญหา หรือเปลี่ยนลำดับความสำคัญของงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระดับการผลิต

ถ้าระบบของคุณมีความสามารถดังกล่าวแล้ว คุณก็พร้อมที่จะพัฒนาสู่ Industry 4.0  อย่างไรก็ตาม IIOT ในโลก Industry 4.0 ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของเครื่องจักรที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์  ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากเครื่องจักรควรจะถูกนำไปใช้สำหรับธุรกิจในวงกว้าง ตั้งแต่ข้อตกลงว่าด้วยระดับการให้บริการ ไปจนถึงกลยุทธ์ด้านการขายและการตลาดในระยะสั้นและระยะยาว  เมื่อธุรกิจของคุณเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน คุณก็พร้อมแล้วที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

โอกาสที่เกิดขึ้นจาก IIOT ครอบคลุมขอบเขตมากเกินกว่าการปรับปรุงงานบริการลูกค้าหลังการขายและวงจรการผลิตสินค้า  ที่จริงแล้ว มีโอกาสมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด เพียงแค่คุณมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม  ดังนั้นถ้าธุรกิจของคุณกำลังดำเนินการพัฒนาสู่ Industry 4.0 บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อตรวจสอบว่าโซลูชั่น ERP ที่คุณมีอยู่สามารถรองรับ IIOT ได้อย่างแท้จริงหรือไม่

###

เกี่ยวกับ Epicor ERP

Epicor ERP รองรับกระบวนการผลิตตามสั่งและการผลิตตามสต็อก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันได้อย่างลงตัว นับเป็นโซลูชั่นชั้นนำระดับโลกสำหรับการวางแผนทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning) มอบทางเลือกที่หลากหลาย ความยืดหยุ่น และความคล่องตัวในการขับเคลื่อนการเติบโตและโอกาสสำหรับทุกส่วนงานธุรกิจของคุณ โดยปราศจากความยุ่งยากซับซ้อนของแพลตฟอร์มรุ่นเก่า  Epicor ERP พร้อมใช้งานบนระบบคลาวด์หรือในรูปแบบของการติดตั้งภายในองค์กร  Epicor ERP นำเสนอแนวทางแบบโมดูลาร์ พร้อมความสามารถที่แข็งแกร่ง มุ่งเน้นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย การเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการต่างๆ และการปรับปรุงความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้า ครอบคลุมทุกส่วนงานภายในองค์กร รวมไปถึงภารกิจสำคัญๆ ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตและมีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง  ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์รวมโซลูชั่นของ Epicor ERP

เกี่ยวกับบริษัท เอปิคอร์ ซอฟต์แวร์

บริษัท เอปิคอร์ ซอฟต์แวร์ (Epicor Software Corporation) ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ  เรานำเสนอซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่น เหมาะกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า ธุรกิจค้าปลีก และบริการ  ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 40 ปี เราได้พัฒนาโซลูชั่นบนแพลตฟอร์มคลาวด์หรือโซลูชั่นที่ติดตั้งในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างหลากหลายของลูกค้าในด้านระบบงานธุรกิจและการดำเนินงาน โดยอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า โซลูชั่นของเอปิคอร์ช่วยกระตุ้นการเติบโต ลดความยุ่งยากซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ และลดภาระงานของบุคลากร ทำให้ลูกค้าสามารถมุ่งเน้นการขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเอปิคอร์ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.epicor.com


About TechTalkThai PR 2

Check Also

Paessler ประกาศเข้าซื้อกิจการ ITPS บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสวิส

3 ตุลาคม 2566 : Paessler AG ผู้นำด้านโซลูชันการมอนิเตอร์ระบบ IT, OT และ IoT มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นูเร็มเบิร์ก เยอรมนี ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ ITPS …

DGA เปิดผลงาน รัฐบาลดิจิทัล ประหยัด คุ้มค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8 พันล้านบาท ชูกลยุทธ์ เข้าถึงบริการภาครัฐ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบได้ ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ในบทบาท Smart Connector เชื่อมต่อภาครัฐทุกภาคส่วนกับประชาชน [Press Release]

DGA อัพเดทความก้าวหน้ารัฐบาลดิจิทัลของไทย มุ่งเป้ายกระดับงานบริการ ทั่วประเทศให้เป็นดิจิทัล พร้อมขยายบริการรัฐบนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ให้ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย สามารถรับบริการภาครัฐได้ แฮบปี้ คนไทยตื่นตัวการใช้บริการรัฐผ่านแอปพลิเคชัน และใช้บริการดิจิทัลภาครัฐทุกบริการรวมกว่า 4 ร้อยล้านครั้ง โดยไม่รวมบริการโครงสร้างพื้นฐาน DG …