CDIC 2023

บริหารจัดการโรงงานด้วย Kaizen ในแบบ Digital ด้วย Lumada Manufacturing Insights (MfI) จาก Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd.

หนึ่งในธุรกิจที่ต้องเร่งปรับตัวกันมากที่สุดในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ก็คือธุรกิจโรงงานและการผลิต ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดโดยตรงต่อทั้งสายการผลิต, Supply Chain ไปจนถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล การนำเทคโนโลยี Digital เข้ามาใช้ในการผลิตจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญ และในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Hitachi Lumada Manufacturing Insights (MfI) ที่จะช่วยให้การผลิตนั้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตามหลักการของ Kaizen

ปัญหาของการบริหารจัดการโรงงานที่ยังไม่มีการใช้งานเทคโนโลยี Digital

ธุรกิจโรงงานและการผลิตทั่วโลกนั้นมักมีแนวโน้มหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือการที่ธุรกิจโรงงานและการผลิตขนาดใหญ่หลายแห่งนั้นยังคงไม่ก้าวสู่การนำเทคโนโลยี Digital มาปรับใช้ในการผลิต เพราะคุ้นชินกับการทำงานแบบเดิม อีกทั้งธุรกิจเองนั้นก็มีขนาดใหญ่ และขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยปรับปรุงในส่วนนี้จนยากที่จะปรับนำเทคโนโลยี Digital มาใช้งาน

อย่างไรก็ดี ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าความท้าทายของธุรกิจโรงงานและการผลิตเองนั้นมีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางกระแสการทำ Digital Transformation และ Industry 4.0 ในทุกวันนี้ รวมถึงการมาของภัยโรคระบาดในปี 2020 นี้ที่ได้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ทุกธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าและการทำงานที่ต้องคำนึงถึงนโยบายการทำ Social Distancing

ปัจจัยเหล่านี้เองได้สร้างความท้าทาย 3 ประการต่อธุรกิจโรงงานและการผลิต ได้แก่

  1. การที่ความต้องการของลูกค้ามีหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตต้องปรับสายการผลิตให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ได้
  2. การแข่งขันในระดับโลกที่สร้างความกดดันอย่างมหาศาล ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย ทำให้ประเด็นด้านคุณภาพและราคานั้นส่งผลเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจของลูกค้า
  3. การเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ที่กำลังค่อยๆ เกษียณไปทีละราย ในขณะที่คนรุ่นใหม่เองก็ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจโรงงานและการผลิตน้อยลงเรื่อยๆ

ความท้าทายเหล่านี้ได้ส่งผลให้การผลิตในโรงงานนั้นมีความซับซ้อนและยุ่งเหยิงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งการที่เอกสารหรือกระบวนการต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นแบบกระดาษนั้นทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานสูง และทำให้กระบวนการทำงานนั้นมีความเชื่องช้า, การที่ไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาหรือวางแผนปรับปรุงสายการผลิตอย่างชัดเจน ไปจนถึงการขาดผู้เชี่ยวชาญที่ค่อยๆ เกษียณอายุไป ทำให้สายการผลิตนั้นขาดความมั่นคง

ด้วยเหตุเหล่านี้ การตัดสินใจนำเทคโนโลยี Digital เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ทุกกระบวนการขั้นตอนนั้นมีข้อมูลอย่างครบถ้วน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้กลายเป็น Priority หลักของหลายธุรกิจโรงงานทั่วโลก และถือโอกาสในช่วงที่สายการผลิตต้องหยุดชะงักจากวิกฤตโรคระบาดนี้ในการปรับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตกันมากขึ้นนั่นเอง

เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิต ด้วย Lumada Manufacturing Insights (MfI)

Lumada Manufacturing Insights หรือ MfI นี้ เป็นโซลูชัน Digital สำหรับช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตโดยเฉพาะ เพื่อเปลี่ยนให้การผลิตนั้นกลายเป็นแบบ Digital ซึ่งมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจและช่วยปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่องตามหลัก Kaizen ในสายการผลิต โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. Collect Data รวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในสายการผลิตโดยอัตโนมัติจากเครื่องจักรและระบบควบคุมต่างๆ ผ่านทาง PLC และ IoT Gateway โดยครอบคลุมข้อมูล 4M ได้แก่ huMan, Machine, Material และ Method
  2. Visualize นำข้อมูลสถานะการผลิตที่กำลังเกิดขึ้นมาแสดงผลแบบ Real-Time เพื่อให้สามารถตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที รวมถึงมีข้อมูลย้อนหลังเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงสายการผลิตได้อย่างแม่นยำตรงจุด
  3. Kaizen in the Shop Floor ทำการวัดคุณภาพและปรับปรุงแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมวัดผลหลังจากการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ติดตามผลลัพธ์ได้อยู่ตลอด

ทั้ง 3 กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ถูกนำมาออกแบบเป็นระบบย่อยภายใน MfI เพื่อให้ผู้ที่ทำงานในสายการผลิตตั้งแต่ระดับของผู้บริหารไปจนถึงปฏิบัติการนั้นสามารถทำงานด้วยข้อมูลแบบ Data-Driven ได้อย่างครบถ้วน ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ 4 ส่วน ได้แก่

  1. Factory KPI สำหรับให้ Factory Manager ทำการติดตามสถานะการผลิตและติดตามค่า KPI ของการทำงานในแง่มุมต่างๆ เช่น การผลิตสินค้าได้ทันเวลา ไปจนถึงการที่สายการผลิตสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก
  2. Equipment สำหรับผู้ดูแลเครื่องจักรใช้ในการติดตามสถานะการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง และสัญญาณผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน เพื่อให้สามารถวางแผนปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือตรวจสอบแนวโน้มการเกิดปัญหาได้ ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้กับสายการผลิต
  3. Process สำหรับ Production Manager ใช้ในการติดตามการผลิตและตรวจสอบปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้เกิดคอขวดในการผลิต รวมถึงติดตามสถานะจากข้อมูล 4M เพื่อให้สามารถระบุถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิตได้อย่างแม่นยำ
  4. Quality สำหรับ Quality Assurance Manager ใช้ในการติดตามสถิติการเกิดของเสียในสายการผลิต และตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขสายการผลิตให้มีคุณภาพในการผลิตมากขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

จะเห็นได้ว่า MfI นี้จะช่วยให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตสามารถตรวจสอบสถานะของการผลิต, เครื่องจักร และพนักงานได้อยู่เสมอ รวมถึงถ้าหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในการผลิต MfI ก็จะสามารถนำเสนอข้อมูลสำหรับการแก้ไขปัญหาและวางแผนป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ทั้งหมดนี้สามารถนำมาสะท้อนเป็น KPI ของสายการผลิตเพื่อวัดผลการทำงานได้อย่างครอบคลุม นำไปสู่การควบคุมคุณภาพ, การลดค่าใช้จ่าย และสร้างความมั่นใจในการส่งมอบสินค้าจากสายการผลิตให้แก่ธุรกิจโรงงานได้

จุดเด่นที่ทำให้ MfI ได้รับความนิยมในธุรกิจโรงงานและการผลิตนั้น ก็คือความง่ายดายในการติดตั้งใช้งานที่สามารถผสานระบบให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรรูปแบบต่างๆ, ระบบ ERP/MES ที่มีอยู่, ระบบ RFID/Barcode/QR Code และกระบวนการในการผลิตที่หลากหลายได้ และการเลือกเริ่มต้นใช้งานเฉพาะบางส่วนและค่อยๆ เพิ่มขยายในอนาคตได้ ในขณะที่ CFO ของโรงงานเองนั้นก็จะให้ความสำคัญกับการที่ MfI คิดค่าใช้จ่ายในแบบ Subscription-based ทำให้ไม่ต้องเกิดการลงทุนเป็นงบประมาณก้อนใหญ่ไปแต่แรก และเห็นค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ชัดเจน

พร้อมให้บริการในประเทศไทย ด้วย Lumada Center ที่เปิดให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตเข้าไปสัมผัสเทคโนโลยีจริงได้ด้วยตนเอง

Hitachi Asia  (Thailand) Co., Ltd. นั้นตั้งใจขยายตลาด MfI ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญอยู่มากมายอย่างเต็มที่ จึงได้มีการเปิด Lumada Center ด้วยกันถึง 2 แห่งในกรุงเทพมหานครและชลบุรี เพื่อให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตนั้นสามารถเข้ามาสัมผัสกับเทคโนโลยี Digital สำหรับการผลิตโดยเฉพาะได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้บริหารและผู้จัดการของโรงงานนั้นเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น และมองเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปปรับใช้ในโรงงานของตนเองได้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น

สนใจติดต่อ Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd. ได้ทันที

ผู้ที่สนใจโซลูชัน MfI สามารถติดต่อทีมงาน Hitachi Asia  (Thailand) Co., Ltd. ในประเทศไทยได้ทันทีที่อีเมล์ hasth.dx-sales.yq@hitachi.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ https://www.hitachi.co.th/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Gartner Hype Cycle ด้าน AI ปี 2023

Gartner ได้ออกคาดการณ์สำหรับการพัฒนาของ AI ในปี 2023 ซึ่งเจาะจงไปที่ Generative AI โดยหัวข้อแบ่งได้ 2 ส่วนคือ นวัตกรรมที่ได้รับการกระตุ้นจาก Generative AI และอีกส่วนคือ …

[รีวิว] Asus Zenbook 14X OLED รุ่น Sandstone Beige สีเบจ ให้ความรู้สึกเหมือนเซรามิก

Asus Zenbook 14X OLED มีการออกแบบที่โดดเด่นในสีเบจ Sandstone Beige เคลือบผิวด้วยเซรามิกรูปแบบใหม่ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนบนฝาแล็ปท็อป มีรูปทรงบางเบา ขนาดหน้าจอ 14.5” (2880×1800) OLED มาพร้อมพลังขับเคลื่อนชิป CPU …