ในงานแถลงข่าวของ Cisco Asia-Pacific, Japan and China ในประเทศสิงคโปร์ ทาง Cisco ได้ออกมาเผยถึงรายงานผลสำรวจด้านความพร้อมในการทำ Digital Transformation ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งการเปิดรับนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม และพบว่าประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมต่อการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นอันดับต้นๆ

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Ready, Steady, Unsure – Are Companies in Asia-Pacific Ready for the Digital Transformation Fight?” ซึ่งเป็นผลการสำรวจจากเหล่า Senior IT Manager จำนวน 1,325 คนจากธุรกิจที่มีพนักงานมากกว่า 500 คนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีตัวเลขสรุปผลการสำรวจที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- เป้าหมายในการทำ Digital Transformation คือ 73% ต้องการเพิ่ม Productivity, 60% คือการลงค่าใช้จ่าย, 59% คือการเพิ่มรายรับ, 56% คือการสร้าง Mobile Workforce, 56% คือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และ 54% คือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
- 94% ของธุรกิจใน 6 ประเทศใหญ่ของ ASEAN มั่นใจว่ากลยุทธ์การทำ Digital Transformation ของตนเองจะช่วยให้ธุรกิจของตนมีขีดความสามารถที่เพียงพอต่อการแข่งขันในอนาคต และ 93% นั้นก็มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งาน ซึ่งธุรกิจในภูมิภาคนี้ก็มีความมั่นใจที่สูงกว่าทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกด้วย
- แต่ 19% ของธุรกิจที่มีขนาดเกินกว่า 10,000 คนกลับรู้สึกว่ายังไม่พร้อมในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อก้าวสู่การทำ Digital Transformation ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กกว่านั้นมีเพียง 7% ที่ยังรู้สึกไม่พร้อม
- ถึงแม้ธุรกิจจำนวนมากจะมีความมั่นใจ แต่ใน ASEAN นั้นก็มีเพียง 60% ที่เริ่มใช้งาน Cloud แล้ว, 59% เริ่มมีการใช้งาน Cybersecurity Solution อย่างจริงจัง, 55% เริ่มใช้งาน Big Data and Analytics และ 48% เท่านั้นที่เริ่มทำ Automation
- สำหรับ Cybersecurity นั้น มีธุรกิจมากถึง 47% ที่ลงทุนในเชิงรับ โดยจะเริ่มมีการลงทุนระบบใหม่ๆ หรืออัปเกรดระบบเดิมที่มีอยู่ก็ต่อเมื่อระบบถูกโจมตีจริงๆ แล้วเท่านั้น
- ธุรกิจที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้น้อยนั้น 47% เกิดจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ, 43% เกิดจากการขาดบุคลากรที่มีความสามารถ และ 42% เกิดจากการที่ขาดระบบ IT Infrastructure ที่เหมาะสม
- มีธุรกิจกว่า 92% ที่ได้มีการลงทุนอัปเกรดระบบ IT Infrastructure เพิ่มเติมภายใน 3 ปีที่ผ่านมา แต่ 46% ของกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ๆ และการสนับสนุนหลังการขายอย่างเต็มที่เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง นำไปสู่การที่ 37% ของกลุ่มนี้ขาดความมั่นใจว่าระบบ IT Infrastructure ที่มีอยู่จะสามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้
- 100% ของธุรกิจในเวียดนามรู้สึกมั่นใจที่จะเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ
- 95% ของธุรกิจในไทยเชื่อว่าระบบ IT Infrastructure ที่ตนเองมีอยู่จะพร้อมต่อการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต
- 65% ของธุรกิจในสิงคโปร์มีการใช้งาน Big Data Analytics แล้ว
- การเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ใน ASEAN มีดังนี้ 60% ใช้ Cloud, 59% มีโซลูชัน Cybersecurity, 55% มีการทำ Big Data and Analytics, 48% มีการทำ Automation, 38% มีการใช้งาน AI และ 28% มีการใช้งาน IoT
- ประเทศที่มีการใช้งาน AI สูงที่สุดคือประเทศไทยที่ 49% ตามมาด้วยเวียดนาม 45% และอินโดนิเซีย 42%
- ประเทศที่มีการใช้งาน Automation สูงที่สุดคือเวียดนามที่ 63% ตามมาด้วยไทย 59% และฟิลิปปินส์ 49%
- ประเทศที่มีการใช้งาน Big Data and Analytics สูงที่สุดคือสิงคโปร์ที่ 65% ตามมาด้วยมาเลย์เซีย 64% และไทย 56%
- ประเทศที่มีการใช้งาน Cloud สูงที่สุดคือเวียดนามที่ 77% ตามมาด้วยสิงคโปร์ 64% และอินโดนิเซีย 63%
- ประเทศที่มีการใช้งานโซลูชันด้าน Cybersecurity สูงที่สุดคือเวียดนาม 88% ตามมาด้วยสิงคโปร์ 60% และไทย 59%
- ประเทศที่มีการใช้งาน IoT สูงที่สุดคือสิงคโปรและเวียดนามเท่ากันที่ 36% ตามมาด้วยไทย 32% และมาเลย์เซีย 27%
- อุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ Cloud มากที่สุดคือวงการการศึกษาและค้าปลีก
- อุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ Cybersecurity มากที่สุดคือการเงิน
- อุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ Big Data and Analytics มากที่สุดคือสาธารณสุข
- อุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับ Automation มากที่สุดคือการเงิน, สาธารณสุข และโรงงานและการผลิต
- สำหรับหน่วยงานภาครัฐของไทย กว่า 79% เองก็กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในโครงการทางด้าน Big Data and Analytics อยู่ จึงถือเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก

ปัญหาโดยรวมที่ถูกเน้นหนักว่าเป็นอุปสรรคต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งานใน ASEAN นั้นก็คือการที่ภาคธุรกิจยังขาดการลงทุนอย่างเต็มที่ทั้งในการสร้างระบบ IT Infrastructure ที่เหมาะสม และการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะซึ่งจำเป็นต่ออนาคต อันเนื่องมาจากภาคธุรกิจยังคงให้ความสำคัญกับการลดงบประมาณการลงทุนทางด้าน IT เป็นหลัก ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาด้วยการตัดบริการและความสามารถต่างๆ ของระบบออกไป
สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นมีความได้เปรียบเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับธุรกิจใหญ่ เพราะธุรกิจเหล่านี้มักจะไม่ได้มีระบบ IT ขนาดใหญ่มากนัก การเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่และเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูงจึงสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ต้องกังวลกับระบบเก่าที่มีอยู่เดิมมากนัก
ส่วน Cybersecurity เองก็ควรจะต้องกลายเป็นอีกประเด็นสำคัญในกลยุทธ์ของเหล่าธุรกิจต่างๆ เพราะ Cybersecurity นั้นจะเข้าไปมีผลต่อทุกๆ การเลือกใช้เทคโนโลยีและกระบวนการการทำงานทั้งหมดในอนาคต และมุมมองที่มีต่อ Cybersecurity นั้นควรจะเปลี่ยนจากการป้องกันเป็นการรับมือ เพราะท้ายที่สุดแล้วทุกธุรกิจก็จะต้องถูกโจมตีอย่างแน่นอน แต่ธุรกิจที่ดีจะสามารถรับมือและจำกัดวงความเสียหาย รวมถึงบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นลงได้ ซึ่งเทคโนโลยีด้าน Cybersecurity สมัยใหม่เองก็จะเปลี่ยนไปเป็นการมุ่งเน้นการตรวจจับว่าธุรกิจถูกโจมตีเมื่อไหร่ เกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง และจะรับมือจำกัดวงความเสียหายเหล่านี้ให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุดได้ยังไง
ทั้งนี้ภาครัฐของแต่ละประเทศก็ควรมีบทบาทในการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจในประเทศเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาแข่งขันกัน และควรมีบทบาทหลักๆ ในการปรับปรุงด้านการศึกษาให้มีคุณภาพและสร้างบุคลากรที่มีทักษะตรงกับสิ่งที่ภาคธุรกิจในอนาคตจะต้องการ
รายงานฉบับนี้เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าไปทำการศึกษากันได้ที่ https://www.cisco.com/c/m/en_au/digital-ready/index.html ซึ่งจะมีทั้งรายงานฉบับเต็มและ Infographic ฉบับย่อให้เข้าไปศึกษา และยังมีแบบทดสอบความพร้อมขององค์กรให้ลองทำด้วยว่าองค์กรของเรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน แนะนำว่าผู้ที่สนใจก็ลองเข้าไปทำการประเมินองค์กรตัวเองได้เลยครับ