“Business Continuity” และ “Disaster Recovery” เพื่อความต่อเนื่องทางข้อมูลธุรกิจของคุณ โดย NetApp

สงคราม น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว พายุกระหน่ำ เหล่านี้ คือ ภัยพิบัติที่ไม่ใครอยากให้เกิดขึ้น ปัจจุบันภัยสงครามยังสามารถรับรู้และปรับตัวเอาตัวรอดได้ทัน แต่ภัยทางธรรมชาตินั่น ไม่มีกำหนดการณ์ให้รู้ตัวล่วงหน้า และยากจะต้านทานได้ ความเสียหายหลังเกิดเหตุภัยธรรมชาติล้วนแต่ตามมาด้วยความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่จะต้องฟื้นฟูกันใหม่ ด้านเศรษฐกิจเป็นสายป่านสำคัญที่หล่อเลี้ยงปากท้องของประชากร ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้ การวางแผนตั้งรับแบบยั่งยืน เพื่อความต่อเนื่องของธุรกิจ เป็นการ Forecast ความไม่ประมาทที่ดีที่สุด “Data Protection for Business Continuity”
 
Data Center คลังข้อมูลที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ การบริหารจัดการความปลอดภัยให้กับข้อมูลทางธุรกิจเป็นสิ่งที่หลายองค์กรพยายามให้ความสำคัญ ภารกิจนี้มีเป้าหมายเดียวกัน คือ “ปกป้องข้อมูลเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ” ไม่ว่าจะเป็นการถูกโจรกรรมจากผู้คุกคาม หรือภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2560 จากเหตุการณ์พายุเฮอริเคน ฮาวีย์ ถล่ม นครฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ หลังพายุสงบลง สิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประชากรกว่า 6 ล้านคน และอาคารบ้านเรือนที่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายของธรรมชาติที่มีความรุนแรงของพายุในระดับ 4 กำลังแรงที่สุดที่พัดถล่มรัฐเท็กซัสในรอบมากกว่า 50 ปี ด้วยความเร็วลม 209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้หลังคาอาคารบ้านเรือนถูกกระแสลมแรงพัดปลิว ต้นไม้และเสาไฟหักโค่น และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ด้านเศรษฐกิจกระทบต่อศูนย์กลางอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สที่สำคัญของสหรัฐฯ
 
พายุเฮอริเคน ฮาวีย์ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในรัฐเท็กซัส 40% ที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ทั้งผลกระทบจากความเสียหายต่ออาคารสำนักงานโดยตรง และบางส่วนกระทบต่อการใช้ชีวิตขั้นพื้นฐานของประชากรเป็นวงกว้าง ซึ่งองค์กรในอีก 60% ที่เหลือได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่ก็ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ขาดข้อมูลที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนธุรกิจที่เสียหายจากการเหตุการณ์พายุ
 
การกู้ข้อมูลทางธุรกิจจะต้องใช้ระยะเวลาในการคืนชีพให้กับธุรกิจมากพอสมควร องค์กรขนาดใหญ่ที่มีกำลังในการลงทุนวางระบบ Backup ข้อมูลระดับสูง สามารถกู้คืนระบบให้ธุรกิจสามารถยืนขึ้นมาก้าวต่อไปได้เร็ว ถึงแม้ว่าอาคารสำนักงานจะเสียหายมากจนไม่สามารถใช้การได้ แต่ถ้าองค์กรยังมีข้อมูลทางธุรกิจอยู่ นั่นก็หมายถึง ความต่อเนื่องทางธุรกิจแบบยั่งยืน
 
Backup คือ การ forecast ความไม่ประมาท
 
ระบบสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เป็นโจทย์ที่องค์กรต่างกำลังวางแผน และส่วนใหญ่จะมองไปที่ความสมบูรณ์แบบของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
  1. Performance ทำยังไงให้ระบบมีประสิทธิภาพและดูแลง่ายที่สุด
  2. Redundancy การทำสำเนาหรือคัดลอกและสร้างใหม่
  3. Availability ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและบริการ การสำรองทั้งข้อมูลและระบบ รวมถึงต้องมีแผนฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุขึ้น จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
  4. Manageability ความสามารถในการบริหารจัดการระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์กรส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ Performance ประสิทธิภาพของระบบที่เป็นระบบตั้งต้น โดยไม่ได้คำนึงถึง Availability ซึ่งเป็นความพร้อมที่สามารถใช้งานได้จริง หลายองค์กรไม่เคยตรวจสอบ หรือซักซ้อมการทำงานของระบบที่มีอยู่ จึงไม่สามารถประเมินว่าการสำรองข้อมูลนั้นๆ มีความถูกต้องหรือไม่ บริษัทฯ ขนาดใหญ่มักมีการลงทุนความทันสมัยของเทคโนโลยีทั้ง HA และ Data Visualization เพื่อสร้างให้ระบบมี High Performance มีการ Manageability ที่ครบเครื่อง บางครั้งเม็ดเงินในการลงทุนซื้อขีดความสามารถของระบบได้ แต่อาจจะได้เพียงแต่คำว่า “ฉันมีระบบระดับสูง”
 

เคยมีบทสนทนาระหว่างผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ กับผู้ให้บริการระบบ Data Protection พูดคุยกันถึงความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าฉุกคิดถึงความเป็นจริงที่สามารถจับต้องได้

ผู้ให้บริการระบบ…ถาม…

คุณเคยได้ลองใช้งานระบบ Backup ข้อมูลเหล่านั้นที่ลงทุนซื้อเข้ามาติดตั้งภายในองค์กรไหม เคยทดสอบคุณภาพของข้อมูลที่ทำการ Backup ไว้บ้างไหม ว่าข้อมูลหลังจาก Restore กลับมา มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญสามารถใช้งานได้จริงไหม?”

ผู้บริหารองค์กร…ตอบ…

เสียงแผ่วๆ ตอบว่า “ไม่เคยลอง” นั่นคือความเสี่ยง เสมือนมีให้อุ่นใจ แต่ไม่แผนการประเมินทดสอบ ซักซ้อมประสิทธิภาพของระบบ

ผู้ให้บริการระบบ…คำถาม...

“ถ้าตอนนี้ ได้มีโอกาศลองใช้งานจริง คาดว่าผลจะเป็นยังไงบ้าง?”

ผู้บริหารองค์กร…ตอบ…

คิดอยู่นาน ตอบว่า “ไม่มั่นใจ” เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด ความมั่นใจมาจากการได้เห็นสิ่งเหล่านั้นด้วยสายตาตัวเอง

“มีระบบให้อุ่นใจ แต่ไม่มั่นใจในผลลัพธ์ เพราะไม่เคยเห็นกับตา”
 
องค์กรส่วนใหญ่ โฟกัสไปที่ “ให้ระบบสามารถทำงานได้”
บางองค์กรไม่ลงทุนทำระบบ Backup นั่นคือ สิ่งที่เลวร้ายที่สุด
บางองค์กรมีระบบ แต่ไม่เคยได้ใช้งาน จนไม่รู้ว่าทำงานได้จริงหรือไม่
 
What are you protecting against?
คุณกำลังปกป้องอะไร
 
Local < 1 km.
  • Cluster A : Primary Site รูปแบบการ Backup ข้อมูลที่มีระบบสำรองอยู่ในที่เดียวกัน มักมีข้อเสียมากกว่าคุณประโยชน์ ข้อเสีย คือ Localized power outages : เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลานานๆ ปัญหาของระบบ Backup ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันก็จะจับมือระบบหลัก Down ไปด้วยกัน
Metro < 150 km.
  • Cluster B : Near disaster recovery site รูปแบบการ Backup ข้อมูลในระยะไกลออกไปคนละสถานที่กัน ต่างภูมิลำเนากัน ข้ามคนละจังหวัด หรือระยะห่างกันมากกว่า 150 กม. ขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติที่อาจจะกินพื้นที่รัศมีการทำลายล้างเป็นวงกว้างได้ อย่างเช่น พายุ แผ่นดินไหว ที่เคยมีให้เห็นแล้วที่รัฐเท็กซัส
Regional < 300 km.
  • Cluster C : Far disaster recovery site ระยะทางที่ไกลออกไปมากกว่า 300 กม. ขึ้นไป เป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องแลกมากด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งหมายถึง เกินระยะทำการของสาย Fiber Optic จึงนิยมสร้าง Backup Site ที่ 3 ขึ้นมา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อสื่อสารโอนถ่ายข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพบนข้อจำกัดได้
What is business continuity?
 
Business Continuity Management เครื่องมือในการจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลต่อการหยุดชงักของการดำเนินธุรกิจ การสร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กรมีความยืดหยุ่นในการขับเคลื่อนทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง คือเป้าหมายที่สำคัญต่อธุรกิจแบบยั่งยืน
 

สิ่งที่องค์กรควรจะเตรียมรับมือและประเมินไว้ล่วงหน้า คือ ระยะเวลาที่ข้อมูลสูญหาย (RPO) และ เวลาในการกู้คืนข้อมูล (RTO) ตามรูปด้านล่าง

Business Continuity มักมาพร้อมกับ PRO กับ PTO ประสิทธิภาพสูงสุดคือ ทำได้ภายในเสี้ยววินาที
  • RPO (Recovery Point Objective) คือ ระยะเวลาสูงสุดที่ยอมให้ข้อมูลเสียหาย เมื่อระบบ Backup ล่มลง ซึ่งนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่องค์กรยอมรับและเป็นผู้กำหนดออกมาเป็นตัวเลขด้วยตัวเอง อาทิเช่น ช่วงเวลาที่ข้อมูลจะสูญเสียหรือเสียหายได้มากที่สุดเท่ากับ 12 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง นั่นคือสิ่งที่จะต้องยอมรับ
  • RTO (Recovery Time Objective) คือ ระยะเวลาสูงสุดที่จะกู้ข้อมูลได้หลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ขึ้น
เทคโนโลยีสมัยก่อน รูปแบบการ Backup จะบันทึกลงบนเทปด้วยเทคโนโลยี “Backup and Recovery” ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทั้ง RPO และ RTO ในระดับ 12 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง หรือ 36 ชั่วโมง แต่เมื่อวิวัฒนาการพัฒนามาเป็นเทคโนโลยี “Disaster Recovery” ทำให้ระดับช่วงเวลาลดลงแตะที่หลักนาที แต่มนุษย์มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด จากเดือน นับวัน สู่นาที และแค่เสี้ยววินาที เพื่อผลักดันเข้าสู่ยุค Digital Transformation ที่มีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว การ Backup ข้อมูลจึงมองไปที่ความต่อเนื่องทางมูลธุรกิจ “Business Continuity” ถึงแม้ปัจจุบันจะมีระดับข้อมูลมหาศาลก็ตาม
 
จากกราฟด้านบนที่โชว์รูปแบบของ Business Continuity ที่ใช้เทคโนโลยี Sync replication จะมีค่า RPO และ RTO เท่ากับศูนย์ ซึ่งบนประสิทธิภาพในระดับนี้ ตัวเลขเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ แต่เบื้องหลังจะต้องแลกมาด้วยการลงทุนวางระบบที่สูงมาก แต่เมื่อมองกลับมาในเรื่องการสูญเสียมูลค่าทางธุรกิจแล้ว บางธุรกิจประเมินความคุ้มค่าออกมาเป็นเสี้ยววินาที กับการทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง “คุ้มค่าทุกนาที”
 
  1. Backup and Recovery มีค่า RPO และ RTO กว้างและใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานนับราย 12, 24 หรือ 36 ชั่วโมง ซึ่งใช้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลลงบนเทปที่นิยมใช้กันในอดีต ปัจจุบันยากที่จะรับได้กับระยะเวลา RPO และ RTO เช่นนี้
  2. Disaster Recovery ใช้เทคโนโลยี Async replication และ Sync replication ที่ใช้ระยะเวลาของ RPO, RTO ระดับนาที และเท่ากับศูนย์ตามลำดับ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรปัจจุบัน
  3. Business Continuity ใช้เทคโนโลยี Sync replication ในการขับเคลื่อน มีค่า RPO และ RTO ระดับเสี้ยววินาที ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่หยุดนิ่งได้อย่างลงตัว สำหรับยุค Digital Transformation 
NetApp แบ่ง Data Protection และ Business Continuity Solutions
 
ออกเป็นสองส่วน คือ Local Site Data Protection และ Remote Site Data Protection ซึ่งใช้เทคโนโลยี Snapshot, SnapMirror และ SnapVault นำเสนอโดย NetApp
 
  1. Local Site Data Protection เป็นการ Backup ข้อมูลที่อยู่ภายใน Site เดียวกัน
    • NetApp Snapshot Technology : กำหนด Policy ของ Snapshot ให้ทำ Snapshot ทุกๆ ชั่วโมง หรือ ได้ต่ำสุดที่ 1 นาที ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลที่ต้องการสำรองเก็บไว้
    • NetApp SnapRestore สามารถกู้ข้อมูลกลับมาใช้งานได้ในระดับนาที ลดระยะเวลาการรอคอยให้น้อยที่สุด
  2. Remote Site Data Protection เป็นการ Backup ข้อมูลไปไว้ที่ Site สำรอง ที่ไม่ได้อยู่ภายใน Site เดียวกัน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากเหตุฉุกเฉินใดๆ โดยใช้เทคโนโลยี SnapVault, SnapMirror, Clusters และ MetroCluster จาก NetApp สุดท้ายขึ้นอยู่กับความต้องการและระยะเวลารอคอยที่สามารถรับได้ด้วย เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีให้สามารถตอบโจทย์ได้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดของใจ

 

Snapshot ในมุมมองของ NetApp จะมีซอฟต์แวร์ประเภท Data Management ที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการ มีชื่อว่า “ONTAP Snapshot” ซึ่งหลายองค์กรที่ลงทุนติดตั้งระบบ Data Protection ของ NetApp ไม่เคยใช้งานฟีเจอร์ Snapshot เลย อาจจะเป็นเพราะไม่รู้ หรือกลัวจะเปลืองพื้นที่เมื่อเปิดขึ้นมาทำงาน โดยไม่ทราบว่า Snapshot สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การ Backup ข้อมูลมีคุณภาพและสะดวกง่ายดายขึ้น ได้สัมผัสทั้ง Efficient, Performance, Quick, Application และ Clones แล้วจะเสียดายถ้าไม่ได้ลอง

เปรียบเทียบระหว่าง การ Backup แบบปกติ ที่เรียกว่า “Traditional Data Protection” กับ “ONTAP” ทั้งเรื่อง Performance Impact, Data Protection และ Time and Efficiency การ Backup ในรูปแบบ ONTAP มีความเสี่ยงน้อยกว่าทั้งเรื่องการลดการใช้ขีดความสามารถทรัพยากรฮาร์ดแวร์ให้น้องลง ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่า และมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า นั้นทำให้เห็นว่า เมื่อเปลี่ยนเทคโนโลยีการสำรองข้อมูลจาก Tape Backup มาเป็น Copy Replication สามารถทำให้ค่าเวลา RPO และ RTO น้อยลงเช่นกัน

Data Protection Solutions

ภาพรวมของโซลูชันการ Backup ข้อมูล ไล่เรียงจาก Primary Data Center สามารถทำ Replication ข้ามอาคารกันได้ หรือขยับขึ้นมาก็สามารถ Backup ข้อมูลนำออกไปฝากไว้อีก Site หนึ่งได้เช่นกัน ในรูปแบบ Secondary Data Center หรือนำขึ้นสู่ระบบคลาวด์ ซึ่งจะมี ONTAP ของ NetApp เวอร์ชันที่ทำงานอยู่บน Cloud-native ทั้ง 3 ค่าย ทั้ง AWS, Azure และ Google ช่วยให้องค์กรไม่ต้องมาเสียเวลาดูระบบ เพราะทุกอย่างขึ้นไปทำงานอยู่ภายใต้ Native Service ของผู้ให้บริการระบบคลาวด์อยู่แล้ว

สำหรับองค์กรที่ใช้บริการ ONTAP จะมีซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า “SnapCenter” ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย NetApp ที่สามารถ Plug-ins เข้ากับ Database Platform ได้หลายตัว เช่น Windows Server, ORACLE Database, SAP HANA, SQL Server, VMware, MySQL, IBM DB2, MongoDB และ Custom Applications ช่วยให้องค์กรประหยัดเรื่อง Software Backup Licensed ทำให้การทำ Backup Solutions ร่วมกับ Application มีความสะดวกและง่ายมากขึ้น

ทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับ Business Continuity

ก็คือการทำ Continuous Data Replication

 

ซอฟต์แวร์ NetApp MetroCluster

เป็นโซลูชันที่รวมการทำคลัสเตอร์แบบอิงอาร์เรย์กับการจำลองแบบซิงโครนัสเพื่อให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง และการสูญเสียข้อมูลเป็นศูนย์ด้วยต้นทุนต่ำสุด MetroCluster จะทำสำเนาข้อมูลที่สำคัญต่อภารกิจทั้งหมดทันทีตามธุรกรรมต่อธุรกรรม ให้การเข้าถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลอย่างต่อเนื่อง MetroCluster ทำงานร่วมกับสภาพแวดล้อมโฮสต์ขององค์กรได้อย่างราบรื่นเพื่อให้ข้อมูลพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขจัดความจำเป็นในการสร้างและบำรุงรักษาสคริปต์เฟลโอเวอร์ที่ซับซ้อน

ประโยชน์ของ NetApp MetroCluster

  • การทำคลัสเตอร์แบบ Active-active Array-based ที่ให้ความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องสำหรับแอปพลิเคชันที่สำคัญ
  • การจัดการการเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์ ผ่านการจำลองการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้ การกำหนดค่า และข้อมูลแอปพลิเคชันโดยอัตโนมัติ
  • การหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนไว้เป็นศูนย์ และการกู้คืนข้อมูลอย่างรวดเร็วจากความล้มเหลวของ Data Center ที่เกิดจากความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ เครือข่าย และสภาพแวดล้อมหรือภัยพิบัติในเมืองใหญ่
  • การหยุดทำงานตามแผนเป็นศูนย์ ผ่านการอัปเกรดที่ไม่หยุดชะงักสำหรับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การจัดเก็บข้อมูล
  • การดูแลระบบเดียวผ่านฟังก์ชัน “set it once” ที่ง่ายต่อการปรับใช้ โดยไม่มีสคริปต์หรือการพึ่งพาแอพพลิเคชั่นหรือระบบปฏิบัติการ
  • ลดต้นทุน ไม่ต้องใช้คลัสเตอร์แบบโฮสต์ และเพิ่มประสิทธิภาพ

ซอฟต์แวร์ NetApp SnapMirror

เป็นโซลูชัน DR ที่ใช้งานง่ายและคุ้มค่าการลงทุน โดยจะจำลองข้อมูลด้วยความเร็วสูงผ่าน LAN หรือ WAN คุณจะได้รับข้อมูลพร้อมใช้งานสูง และ DR ที่รวดเร็วสำหรับแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อธุรกิจขององค์กร เช่น Microsoft Exchange, Microsoft SQL Server และ Oracle ในสภาพแวดล้อมเสมือนและแบบดั้งเดิม

เมื่อองค์กรทำการมิเรอร์ข้อมูลไปยังระบบจัดเก็บข้อมูลของ NetApp อย่างน้อยหนึ่งระบบ และอัปเดตข้อมูลที่มิเรอร์อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลขององค์กรจะถูกรักษาให้เป็นปัจจุบันและพร้อมใช้งานทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์การจำลองแบบภายนอก นอกจากนี้ ความสามารถระดับแนวหน้าด้านอุตสาหกรรมของ NetApp เมื่อมีการล้มเหลวไปยังจุดใดเวลาหนึ่งในสำเนา DR ช่วยให้องค์กรสามารถกู้คืนมาจากความเสียหายของข้อมูลที่มิเรอร์ได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของ NetApp SnapMirror

  • Standardized Multipurpose Replication Solution
    ซอฟต์แวร์ NetApp SnapMirror สามารถปกป้องธุรกิจขององค์กรด้วยการจำลองที่ง่าย และมีประสิทธิภาพสำหรับการกู้คืนจากภัยพิบัติ และสามารถขยายมูลค่าของข้อมูลที่ทำซ้ำเพื่อเร่งธุรกิจขององค์กรได้
  • Reduce Bandwidth Utilization and Storage Footprint
    การจำลองแบบบางเบา และการบีบอัดเครือข่ายแบบ Native ช่วยลดการใช้แบนด์วิดท์ได้ถึง 70% และลดความการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้มากถึง 90% ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง
  • Increase Availability
    จุดเฟลโอเวอร์แบบ Selective DR ในระดับอุตสาหกรรมชั้นนำ ช่วยปรับปรุงความพร้อมใช้งานของแอพพลิเคชั่น ช่วยให้คุณสามารถกู้คืนจากข้อมูลมิเรอร์เสียหายได้อย่างรวดเร็ว
  • Reduce Management Overhead
    คุณสามารถจัดการการจำลองแบบข้ามไฮบริดคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่แฟลชไปจนถึงดิสก์ไปจนถึงคลาวด์

ภาพรวมโซลูชัน
ด้านล่างนี้ เป็นภาพประกอบของโซลูชัน SnapMirror-Business Continuity (SM-BC)

คุณสมบัติหลักของ SM-BC

  • ความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับแอปพลิเคชัน SAN (iSCSI หรือ FC) พร้อมการป้องกันในสองส่วนแยกกัน
  • TAF สำหรับแอปพลิเคชันระดับองค์กร เช่น Oracle, Microsoft SQL Server, โซลูชัน VMware vSphere Metro Storage Cluster (vMSC) เป็นต้น (ไม่มีการเชื่อมต่อกับที่เก็บข้อมูลหรือการหยุดชะงักของผู้ใช้แอปพลิเคชัน)
  • Consistency group (CG) รักษาความสอดคล้องของคำสั่งเขียนแทนที่ขึ้นต่อกัน สำหรับการรวบรวมปริมาณสำหรับข้อมูลแอปพลิเคชัน
  • การบูรณาการอย่างแน่นหนาร่วมกับ ONTAP เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี NetApp ที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างการปกป้องข้อมูลระดับองค์กร
  • การจัดการข้อมูลที่ง่ายขึ้น สำหรับการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บ การเชื่อมต่อโฮสต์ และการสร้างสำเนา และการโคลน ด้วย NetApp Snapshot สำหรับทั้งสองไซต์

SM-BC ให้ประโยชน์อะไรบ้าง

  • รายละเอียดแอปพลิเคชันเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  • เฟลโอเวอร์อัตโนมัติพร้อมความสามารถในการทดสอบเฟลโอเวอร์ให้แต่ละแอปพลิเคชัน
  • LUN identity ยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นแอปพลิเคชันจึงมองว่าเป็นอุปกรณ์เสมือนที่ใช้ร่วมกัน
  • ความสามารถในการนำระบบสำรองมาใช้ซ้ำโดยมีความยืดหยุ่นในการสร้างโคลนทันที สำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับการทดสอบ Dev, UAT หรือ Report โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพ หรือความพร้อมใช้งานของแอปพลิเคชัน
  • การจัดการแอปพลิเคชันที่ง่ายขึ้นโดยใช้กลุ่มความสอดคล้องเพื่อรักษาความสอดคล้องของลำดับการเขียนที่ขึ้นต่อกัน

SnapMirror to Object Storage

Object Storage เหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลในระดับหลายร้อยล้าน หรือหลายพันล้านชุด หรือจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ที่ต้องการ Throughput ในการอ่านข้อมูลปริมาณมาก อีกทั้งยังสามารถกำหนด Metadata ที่ต้องการเองได้โดยไม่มีการจำกัดปริมาณ Tag ทำให้สามารถรองรับงาน Data Analytics ได้ดี และยังมีความคุ้มค่าในการลงทุนที่สูง

โดยทั่วไปมักพบ Object Storage ในฐานะของระบบจัดเก็บข้อมูลบน Cloud, ระบบจัดเก็บข้อมูล Static Content ขนาดใหญ่ และระบบ Backup Storage

ONTAP Hybrid Cloud mobility across Data Fabric

  • การสำรองข้อมูล snapshots ไปยัง Cloud Object Storage อย่างประหยัดพื้นที่
  • สร้างแอประบบคลาวด์เพื่อใช้ประโยชน์จากรูปแบบข้อมูลสำรองอัจฉริยะ

Extend FlexVol Snapshots to the Cloud

  • SnapMirror Cloud พร้อม ONTAP 9.8
  • เปิดใช้งานเวิร์กโฟลว์การปกป้องข้อมูลที่หลากหลายสำหรับไฮบริดคลาวด์

Supports multiple backup to cloud use cases

  • Public-Cloud : ONTAP ในองค์กรไปยัง AWS, Azure & GCP
  • Private-Cloud : ONTAP ในองค์กรไปยัง StorageGRID

Providing customers a choice for orchestration

  • Cloud Manager เป็นที่ต้องการสำหรับ ONTAP แบบ on-prem เพื่อสำรองข้อมูลบนคลาวด์
  • 3rd Party Backup สำหรับการสำรองข้อมูลบนคลาวด์แบบไฮบริด

MetroCluster ให้ความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องภายใน Data Center รวมกับ SnapMirror, SnapMirror สำหรับ SVM และ SnapVault สำหรับการป้องกันการกู้คืนจากภัยพิบัติแบบบูรณาการบนคลาวด์ไม่จำกัดระยะทาง

Data Protection ที่มีประสิทธิผลและจับต้องได้ สามารถวัดผลคุณภาพจากการนำข้อมูลที่มีคุณภาพกลับมาใช้งานได้จริง จะไป Business Continuity หรือ Disaster Recovery ไม่มีผิดหรือถูก ถ้าเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับระดับข้อมูลและวิถีการดำเนินธุรกิจขององค์กร เป้าหมาย คือ “เพื่อความต่อเนื่องทางข้อมูลธุรกิจ”

NetApp มีโซลูชันจัดการกับ Ransomware อย่างไรบ้าง

Ransomware เป็นมัลแวร์ที่ไม่ได้โจมตีเพื่อขโมยข้อมูล แต่จะใช้วิธีการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ส่งผลให้เปิดไฟล์เหล่านั้นไม่ได้

NetApp ไม่ได้อยู่อย่างประมาท โดยให้ความสำคัญในการปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการป้องกัน Ransomware ไม่ไห้เข้าถึงข้อมูลที่ถูก Backup ไว้ รวมไปถึงการ Restore ด้วย

NetApp แบ่งประเภทของไฟล์ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. File Whitelisting ไฟล์ทั่วไปที่ใช้งานกันในระดับองค์กรที่มีการแชร์กันมากที่สุด เช่น .xls, .xlsx, html, gif, jpg และ pdf เป็นต้น ไฟล์นามสกุลเหล่านี้คือเป้าหมายที่ Ransomware จะทำการโจมตีเข้ารหัส
  2. File Block Listing รายการของนามสกุลไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสจาก Ransomware เช่น AngleWare, antihacker2017, atlas, axx, BarRax, bin, bitstak, braincrypt, breaking_bad และ wcry เป็นต้น นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงจะมีการรายงานอัพเดตทุกๆ ปี สำหรับนามสกุลที่ถูก Ransomware Key Encryption 
  • Fpolicy โซลูชันที่ทำงานร่วมกับไฟล์แชร์ CIFS บน ONTAP ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบไฟล์ที่ “ไม่ต้องการ” ให้ทำการ สร้าง / เปลี่ยนชื่อ / แก้ไข / เปิด / ปิด / อ่าน และ เขียน ลงมาที่ไฟล์แชร์ในแต่ละ Volume ได้ ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบนามสกุลของ Ransomware สำหรับการเฝ้าระวังโดยอัตโนมัติ Fpolicy จะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนนามสกุลไฟล์ไปเป็นรูปแบบของ Ransomware ได้ นี่คือความสามารถที่ NetApp สามารถทำได้ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลองค์กร

 

รายการรูปแบบนามสกุลไฟล Ransomware ที่อัพเดตล่าสุดทั้งหมดจะเข้าไปอยู่ใน FPolicy ของ NetApp เพื่อเฝ้าระวังการถูกโจมตี
ทดสอบโดยการลองเปลี่ยนนามสกุลไฟล์เอกสารให้เป็นรูปแบบไฟล์ Ransomware
.wcry คือนามสกุลไฟล์ Ransomware ที่นำมาทดลองเปลี่ยนนามสกุลบนไฟล์เอกสาร
Fpolicy ตรวจพบและไม่อนุญาตให้เปลี่ยนรูปแบบนามสกุลเป็นไฟล์ Ransomware
  • Snapshot โซลูชันสำหรับการกู้คืนเมื่อติดกับดัก Ransomware เข้าแล้ว ด้วยฟีเจอร์ Anti-Ransomware Suite (Optional License) โดยจะทำงานเหมือนกับระบบ AI ใช้การเรียนพฤติกรรมการใช้งาน เช่น มีการใช้งานไฟล์ประเภทไหนบ้าง ทำงานในรูปแบบไหนบ้าง เป็นต้น ระบบจะทำการจดจำรูปแบบพฤติกรรมเหล่านี้จากการเรียนรู้ทั้งหมดไว้ เมื่อมีรูปแบบพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากปกติที่จดจำไว้ ระบบจะรีบทำการ Snapshot ข้อมูลในช่วงเวลานั้นโดยทันที เพื่อสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาสำรอง โดยใน Snapshot ของ ONTAP จะมีการทำงานแบบ SnapLock เพื่อทำให้ไฟล์นั้นอยู่ในรูปแบบ Read Only หรืออ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขใดๆ ได้ ทำให้เมื่อ Ransomware เข้ามาโจมตีได้ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อ Snapshot ที่บันทึกเก็บไว้

บทสรุปสาระสำคัญทั้งหมด

  1. Local Data Protection ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี Snapshot, SnapRestore และ SnapCenter
  2. Remote Data Protection ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี SnapVault, SnapMirror Async/Sync, SVM-DR, SM-BC และ MetroCluster
  3. Detect, Prevent & Remediate ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี Fpolicy, User Behaviour Analytics (UBA), Snapshot Monitoring และ SnapLock เพื่อปกป้องการโจมตีจาก Ransomware

ข้อมูลทั้งหมดที่พูดคุยกันมาเกี่ยวกับ Data Protection และ Business Continuity เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้องค์กรเห็นถึงขีดความสามารถของเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ทำงานให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสทธิภาพ และเป้าหมายเดียวกัน คือ “ความต่อเนื่องทางด้านข้อมูลธุรกิจ” 


 

ข้อมูลมาจาก Live Webinar หัวข้อ

Business Continuity and Disaster Recovery while secure your business data

by NetApp

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี Data Protection และอื่นๆ จาก NetApp รวมถึงกำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ข้อมูลขององค์กรสามารถโยกย้ายระหว่าง Cloud หลากหลายค่าย และโยกย้ายจาก On-premises Data Center กับ Cloud ได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย สามารถติดต่อทีมงาน NetApp Thailand เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เน็ตแอพ (ประเทศไทย) จำกัด โทร: 0-2126-9200

วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าด้านไอทีผ่านทางธุรกิจ 4 กลุ่มหลัก คือ คอนซูเมอร์, คอมเมอร์เชียล, โซลูชัน และดีไวซ์แอนด์ไลฟ์สไตล์ ภายใต้แบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 50 แบรนด์ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2032-9999 อีเมล pr@vstecs.co.th

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …