กรณีศึกษา: API กับการทำ Open Banking และการนำ API ไปต่อยอดธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นทั่วโลก

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ข้อมูลได้เข้ามามีบทบาททั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคนเป็นอย่างมาก และ API นั้นก็ถือเป็นเบื้องหลังที่สำคัญอันหนึ่งในการทำให้การนำข้อมูลมาใช้งานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างแพร่หลายและกว้างขวางอย่างทุกวันนี้ ในบทความนี้เราจะมาเล่าถึงกรณีศึกษาในการนำ API มาใช้ในธุรกิจต่างๆ ทั้งกรณีของการทำ Open Banking ที่กำลังเป็นแนวโน้มใหญ่ และการใช้งาน API ในธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้นำไปประยุกต์ใช้เข้ากับธุรกิจของตนเองได้

ปูพื้นฐาน Application Programming Interface (API) คืออะไร?

ก่อนจะเล่าถึงเรื่องราวของ Open Banking หรือการนำ API ไปใช้งานนั้น ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า API ซึ่งย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface กันเสียก่อน โดยถึงแม้ชื่อเต็มของ API นั้นจะฟังดูเหมือนเป็นคำที่เฉพาะคน IT ควรจะต้องรู้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว API นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายมากๆ

ตรงนี้ขอให้ผู้อ่านทุกท่านลองจินตนาการกันก่อนว่าทุกวันนี้ เวลาเราจะใช้ Application ใดๆ ไม่ว่าจะบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone ของเราก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องทำนั้นก็คือการออกคำสั่งให้กับ Application เหล่านั้นด้วยการคลิกหรือกดที่ปุ่มใดๆ, การป้อนข้อมูลด้วยการพิมพ์เนื้อหาต่างๆ หรือบาง Application ก็อาจจะรับคำสั่งด้วยเสียงแล้ว ช่องทางที่เราสามารถใช้สั่งงาน Application เหล่านี้เรียกกันว่า Interface นั่นเอง และ Interface นี้ก็คือตัว I ที่อยู่ในชื่อของ API ด้วย

อย่างไรก็ดี วิธีการรับคำสั่งด้วยแนวทางเหล่านี้คือช่องทางที่ถูกออกแบบมาให้มนุษย์ใช้เพื่อสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการให้ระบบ Application ในธุรกิจของเรา เชื่อมต่อและสั่งคำสั่งต่างๆ ไปยังระบบของธนาคาร เราจะทำอย่างไร? ตรงนี้เองที่ทำให้ API ถือกำเนิดขึ้นมา

API หรือ Application Programming Interface นี้ก็คือช่องทางที่จะทำให้ Application ต่างๆ ของเราสามารถคุยกับระบบ IT อื่นๆ ได้ โดยหากยกตัวอย่างในกรณีของระบบธนาคารนี้ ก็คือการที่ธนาคารจะต้องสร้างชุดคำสั่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อเปิดให้ธุรกิจอื่นๆ สามารถเรียกใช้คำสั่งเหล่านี้ผ่านระบบ Application ของตนเองมายังระบบ IT ของธนาคาร และทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ได้ผ่านคำสั่งเหล่านี้เสมือนกำลังใช้งาน Mobile Application หรือไปทำธุรกรรมตามสาขาของธนาคารเลย

ในทุกวันนี้ API ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการ IT อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว และเบื้องหลังของ Application ชั้นนำทั่วโลกที่เราใช้งานกันอยู่นั้นก็มีการใช้งาน API กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่หลายบริษัทเองก็สามารถทำเงินได้จากการเปิด API เหล่านี้ให้ผู้ใช้งานหรือธุรกิจอื่นๆ เข้าถึงได้ และตอนนี้ก็ถึงเวลาของธนาคารที่จะต้องเริ่มสร้าง API ของตนเองออกมาให้บริการแล้ว

กรณีศึกษาการใช้งาน API ในสถาบันการเงิน

Credit: ShutterStock.com

Emirates NBD คือหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของ United Arab Emirates (UAE) ที่ให้บริการด้านการเงินแก่เหล่าธุรกิจค้าปลีก, ค้าส่ง และองค์กรทั้งทั้ง UAE และทั่วโลก โดยโจทย์สำคัญของ Emirates NBD นี้ก็คือการให้บริการทางการเงินแก่ลูค้าให้ได้ในแบบ Real-time มากที่สุด โดยมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับเหล่าธุรกิจ Startup ทางด้านการเงินรายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาในตลาดได้นั่นเอง

หนึ่งในโครงการสำคัญภายใต้การทำ Digital Transformation ของ Emirates NBD นี้ก็คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบ IT ภายในให้กลายเป็นระบบ Private Cloud ที่มีความสามารถทางด้าน Cloud Native อย่างครบถ้วน พร้อมเปิดให้บริการ API ของธนาคารเพื่อสร้างความคล่องตัวในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลให้มากที่สรุด เพื่อให้ธนาคารและพันธมิตรรายต่างๆ สามารถเร่งสร้างนวัตกรรมออกมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงปี 2018-2019 ที่ผ่านมา Emirates NBD ได้มีการใช้งาน Container มากถึง 1,200 ระบบเพื่อให้บริการ API มากกว่า 500 รายการ โดยมีการเติบโตของการเรียกใช้งาน API ในแต่ละเดือนที่สูงมากถึง 20-30% ส่งผลให้เป้าหมายที่จะเร่งการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย API นั้นประสบความสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี

Banco Galicia นั้นคือหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของ Argentina ที่ต้องการเปลี่ยนให้การใช้บริการต่างๆ ของธนาคารนั้นเข้าสู่รูปแบบของ Digital อย่าง 100% จึงได้มีการริเริ่มโครงการในการพัฒนาระบบ API สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลจากบริการหลักๆ ของธนาคาร ให้สามารถถูกเรียกใช้งานและเข้าถึงได้โดยพันธมิตรในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสร้าง Ecosystem ในแต่ละวงการบนโลก Digital ที่เข้มแข็งได้ และเปลี่ยนภาพของการขายบริการต่างๆ ของธนาคารเอง ให้กลายเป็นแบบ Omni-Channel ได้ในอนาคต

กรณีศึกษาการใช้งาน API ในธุรกิจการบิน

Credit: ShutterStock.com

Amsterdam Airport Schiphol คือหนึ่งในสนามบินที่มีวิสัยทัศน์ในการก้าวไปสู่การเป็น Digital Airport ที่ดีที่สุด จึงได้มีการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรองรับ API ให้เป็น Container และใช้ระบบ API Management ในการบริหารจัดการการเข้าถึงและใช้งาน API เพื่อให้ระบบ API นั้นสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

API นั้นถูกใช้งานภายใน Amsterdam Airport Schiphol ในฐานะของระบบ IT ที่มีความสำคัญสูงต่อธุรกิจ โดย API ได้เข้าไปมีบทบาทตลอด Customer Journey ของผู้โดยสารในสนามบินทั้งหมด ตั้งแต่การนำไปใช้ช่วยลดเวลาในการจองตั๋วเดินทาง, การให้บริการข้อมูลเที่ยวบินต่างๆ แก่ผู้โดยสาร ไปจนถึงการเปิด Flight API เพื่อให้ภาคธุรกิจและภาครัฐต่างๆ สามารถเข้าถึง Open Data ของสนามบินและนำไปต่อยอดในระบบ Application ต่างๆ ได้

ปัจจุบันนี้ API ของ Amsterdam Airport Schiphol ถูกใช้งานโดยผู้โดยสารมากกว่า 63.6 ล้านคนในแต่ละปี โดยการเริ่มต้นวางโครงสร้างให้กับระบบ API นี้เกิดขึ้นได้ในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น

ทางด้าน AVIATION I.T. GROUP ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรที่มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบ IT เพื่อเชื่อมผสานระหว่างสนามบิน, สายการบิน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเข้าด้วยกันนั้น ก็ได้ใช้ API เป็น Interface หลักในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านทาง Application ของสนามบินและสายการบินที่หลากหลาย ทำให้การพัฒนา Application และการเข้าถึงข้อมูลด้านการบินนั้นเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายผ่านตัวกลางนี้

AVIATION I.T. GROUP ได้ให้บริการ API ผ่านทาง Simple Object Access Protocol หรือ SOAP เป็นหลัก โดยระบบ API นี้มีบทบาทเป็นอย่างมากในธุรกิจการบิน และยังช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เติบโตขึ้นได้เป็นอย่างมากจากการช่วยให้ขั้นตอนการ Onboard ผู้โดยสารคนใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวยิ่งกว่าเดิม ไม่ต้องซับซ้อนอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป รวมถึงเร่งให้กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในสนามบินนั้นเกิดอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การจัดการกับสัมภาระ อีกทั้งยังทำให้สนามบินสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 3D Barcode มาใช้ในการอ่าน Mobile Boarding Pass ได้ด้วย

กรณีศึกษาการใช้งาน API ในธุรกิจข้อมูลข่าวสาร

Credit: ShutterStock.com

Weathernews คือธุรกิจที่ให้บริการด้านข้อมูลสภาพอากาศให้แก่ภาคธุรกิจและภาครัฐจำนวนมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำข้อมูลสภาพอากาศไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้ และแน่นอนว่าการให้บริการ API ด้านข้อมูลสภาพอากาศนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของ Weathernews ด้วยเช่นกัน

ก่อนหน้าที่ Weathernews จะหันมาใช้ API นั้น ก็มีการพัฒนาระบบ Centralized Development Platform กลางมาก่อนเพื่อให้ภาคธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศที่ตนเองต้องการได้ แต่แนวทางนี้ก็แลกมากับการที่ Weathernews ต้องทำการดูแลระบบที่มีความซับซ้อนสูง และไม่สามารถเข้าถึงเพื่อใช้งานข้อมูลในแบบ Two-Way ได้มาก่อน ทำให้ Weathernews ตัดสินใจพัฒนา API ควบคู่ไปด้วยเพื่อรองรับต่อความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หลังจากการพัฒนา API แล้วเสร็จ Weathernews ก็สามารถเปิดให้บริการข้อมูลสภาพอากาศได้ด้วยความคล่องตัวที่สูงขึ้น, สามารถเพิ่มฟังก์ชันใหม่ๆ ในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลสภาพอากาศได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น, ระบบมีความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้น ในขณะที่ลูกค้าของ Weathernews เองก็สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการด้าน API ที่ประสบความสำเร็จกันทุกภาคส่วน

เบื้องหลังระบบ API Management คือ Red Hat 3Scale

Credit: Red Hat

Red Hat นั้นได้เข้าซื้อกิจการของ 3Scale มาและกลายเป็น Red Hat 3Scale เพื่อเป็นโซลูชันหลักทางด้านระบบ API Management ที่มีความสามารถหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี เช่น

  • การทำ Access Control และ Rate Limit ให้กับ API เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความทนทานให้กับบริการ API สำคัญ
  • เสริมระบบ Security ในการเรียกใช้งาน API เช่น การรองรับ Authentication Pattern และ Credential ที่หลากหลาย
  • มีระบบ API Lifecycle ที่ครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน, การออกแบบ, การติดตั้งใช้งาน, การเปิดให้บริการ, การควบคุมการใช้งาน, การตรวจสอบการทำงาน, การวิเคราะห์ข้อมูล, การปรับแต่งประสิทธิภาพการทำงาน และการยกเลิกบริการ API
  • มี Developer Portal เพื่อให้พันธมิตรหรือลูกค้าสามารถศึกษาข้อมูลและวิธีการเรียกใช้งาน API ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเร่งใช้งาน API ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
  • มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งาน API พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ง่ายต่อการดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • มีเครื่องมือในการคิดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ผ่านทาง API ให้พร้อมใช้งาน ตั้งแต่การตั้งราคา, การออกใบเสร็จ, การเก็บเงิน และการผสานระบบเข้ากับ Payment Gateway ที่ต้องการ

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Red Hat 3Scale สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.redhat.com/en/technologies/jboss-middleware/3scale และ https://www.3scale.net/

สนใจระบบ API Management ติดต่อ Red Hat ได้ทันที

Credit: Red Hat

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันทางด้าน API Management เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจของตน และต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat ได้ทันทีที่คุณ Alisa Email asaeung@redhat.com หรือโทร 065-632-6145

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …