Black Hat Asia 2023

Amazon Elastic File System พร้อมให้บริการบน Production Cloud ของ Amazon แล้ว

สำหรับผู้ที่ติดตามระบบ File System ที่สามารถแชร์ได้ระหว่าง Amazon Web Services (AWS) EC2 Instance จำนวนหลายๆ เครื่องได้โดยมี Latency ต่ำ และบริหารจัดการได้ง่าย วันนี้ทาง AWS ได้ประกาศแล้วว่า Amazon Elastic File System (EFS) ได้พร้อมให้บริการแล้วในระดับ Production จริง

aws-600x300-banner-2

บริการ AWS EFS นี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของระบบที่มีขนาดใหญ่และมี Throughput การประมวลผลสูงโดยเฉพาะ โดยผู้ใช้งาน AWS สามารถบริหารจัดการและเพิ่มขยายระบบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้จาก Namespace เดียวและมีโครงสร้างของไฟล์แบบเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น AWS EFS นี้จึงเหมาะสมกับระบบเว็บไซต์ขนาดใหญ่, ระบบ High Performance Computing (HPC) และ Big Data ที่ต้องมีการเข้าถึงไฟล์จำนวนมากอยู่ตลอดเวลา

EFS นี้เป็น POSIX-compliant File Systems ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ EC2 Instance ได้ผ่านทาง NFS โดยไม่จำกัดขนาดสูงสุดในการใช้งาน รวมถึงไม่ต้องมีการทำ Provisioning ล่วงหน้าทั้งในแง่ของพื้นที่และ Bandwidth ซึ่ง AWS EFS จะทำการสำรองข้อมูลไฟล์ต่างๆ ของเราเอาไว้ในหลายๆ Availability Zones ให้โดยอัตโนมัติเพื่อความทนทาน โดยทุกครั้งที่ขนาดของ EFS ที่เราใช้งานมีการเติบโตมากขึ้น ระบบจะทำการเพิ่ม Performance ของระบบ Storage เหล่านี้ให้เราเองด้วยโดยอัตโนมัติ

ปัจจุบัน AWS EFS เปิดให้ใช้งานแล้วใน US East (Northern Virginia), US West (Oregon) และ Europe (Ireland)

ที่มา: https://aws.amazon.com/blogs/aws/amazon-elastic-file-system-production-ready-in-three-regions/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[Video Webinar] Securing Container and Cloud Workload in 2023

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย F5 Webinar เรื่อง “Securing Container and Cloud Workload in 2023” เพื่อเรียนรู้การปกป้อง Container และ Cloud …

MFEC เตรียมเดินหน้าสร้างศูนย์ CSOC ให้ลูกค้า ด้วยเครื่องมือที่พร้อมและครบครันจาก IBM

การป้องกันภัยคุกคามไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ตัวโซลูชันเพียงอย่างเดียว แต่การป้องกันที่ดียังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลายเป็น Rule หรือมาตรการบางอย่างเพื่อใช้ป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในองค์กรขนาดใหญ่มักจะมีห้องรวมตัวสำหรับเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่คอยติดตามภาวะภัยคุกคามที่รู้จักกันในชื่อ Cybersecurity Operation Center (CSOC) โดยมีหน้าที่หลายด้านที่ช่วยบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยเช่น มอนิเตอร์และตรวจสอบเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ตอบสนองเหตุภัยคุกคาม บริหารจัดการช่องโหว่และภัยคุกคาม แต่ทั้งหมดต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากบุคลากร นอกจากประเด็นเรื่องของบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยแล้ว …