CDIC 2023

Amazon เปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับ Reverse Logistics ใหม่

นโยบายใหม่นี้เพิ่งมีผลบังคับใช้ โดยเปลี่ยนวิธีการจัดการต้นทุนการส่งคืนสินค้า
Reverse Logistics ในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม” โดย:
 
ก่อนหน้านี้ หากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้นจากการคืนสินค้า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกซัพพอร์ตโดย Amazon
 
ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2023 เป็นต้นไป นโยบายเกี่ยวกับ Reverse Logistics ได้ถูกบังคับใช้ โดยหากมีการส่งคืนสินค้าในลักษณะที่มีค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการขนส่ง ผู้ขายจะเป็นผู้ชำระเงิน นโยบายใหม่นี้ถูกบังคับใช้กับคำสั่งซื้อที่ดำเนินการจัดส่งโดยผู้ขายเองเท่านั้น และจะไม่สามารถใช้ได้กับผู้ขายที่ใช้บริการแบบ Fulfillment by Amazon (FBA)
 
  • Fulfilled by Merchant แบบที่ไม่ใช้ FBA เป็นรูปแบบที่สินค้าจะจัดเก็บ (Stock) อยู่ที่ผู้ขายเอง เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ผู้ขายจะดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางด้วยตนเอง
  • Fulfilled by Amazon (FBA) สินค้าจะถูกนำจัดเก็บ (Stock) ณ คลังสินค้าของทาง Amazon เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทาง Amazon จะดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางแทน ซึ่งรวมไปถึงระบบติดตามสินค้าระหว่างทางให้ผู้ขายและลูกค้า นั่นหมายถึงผู้ขายจะไม่ต้องดำเนินการใดๆ เลย
การเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่เกี่ยวกับ Reverse Logistics ของ Amazon ทำให้ FBA มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ขายจะไม่ต้องเสี่ยงกับการเผชิญหน้ากับต้นทุนที่ไม่คาดคิดที่เกิดจากการคืนสินค้า ทำให้ผู้ขายสามารถลดต้นทุนของตนได้ หรือสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนด้านลอจิสติกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ต้นทุนเชื้อเพลิงและพลังงานที่เพิ่มขึ้น ผู้ขายอาจจะต้องการวางแผนควบคุมต้นทุนสำหรับการจัดส่งและการคืนสินค้าให้เหมาะสมที่สุด
 
David Jinks หัวหน้าฝ่ายวิจัยผู้บริโภคของ ParcelHero กล่าวว่า “มีการส่งคืนคำสั่งซื้อในช่วงคริสต์มาสประมาณ 1.5 พันล้านปอนด์” ซึ่งเพิ่มขึ้น 25% จากปีก่อนหน้า
 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Sirisoft ผนึกกำลัง Red Hat และ VST ECS นำเสนอ Red Hat OpenShift Platform Plus [Guest Post]

Sirisoft (สิริซอฟต์) ผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของไทย ผนึกกำลัง Red Hat (เร้ดแฮท (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก และ VST ECS (วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) …

ความท้าทายของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าข้อมูลอินเทอร์เน็ตกว่า 97% ต้องพึ่งพาอาศัยเคเบิ้ลที่เดินข้ามมหาสมุทรให้เราทุกคนในโลกสามารถพูดคุยกันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าตัวสายเคเบิ้ลใต้น้ำเองก็มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในแง่ของการชำรุดเสียหาย หรือความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่ทราบมาก่อน