การทำธุรกิจในโลกยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดนั้นถือว่ามีความท้าทายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Generative AI (Gen AI) ที่กำลังร้อนแรง Cybersecurity ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือเรื่องวัฒนธรรมการทำงานของคนที่เปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญทั้งสิ้น แต่ด้วยทรัพยากรและเวลาที่จำกัด การจัดการให้ทุกอย่างปกติดีด้วยตัวเองทั้งหมดนั้นอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเกินไปสำหรับหลาย ๆ องค์กร และอาจใช้เวลามากจนส่งผลกระทบกับธุรกิจหลักได้เลย
ดังนั้น การมีพาร์ตเนอร์ที่พร้อมสนับสนุนในทุกด้านอย่าง “AIS Business” ที่มีโซลูชันทันสมัยครบวงจร ตอบโจทย์การทำงานในยุคอนาคต และพร้อมปกป้องจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น จะช่วยให้องค์กรมีเวลาไปมุ่งเน้นพัฒนาแกนหลักของธุรกิจจริง ๆ ได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งล่าสุดในงาน “AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION” ทาง AIS Business ประกาศขับเคลื่อนในทิศทาง “Ecosystem Economy” เศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่พร้อมเป็นพันธมิตรเดินไปด้วยกันกับทุกองค์กร รวมทั้งเปิดตัวบริการใหม่หลายรูปแบบสำหรับยุคดิจิทัลแห่งอนาคต แนวคิด Ecosystem Economy คืออะไร มีประกาศบริการใหม่อะไรภายในงานบ้าง รวมไว้ให้แล้วในบทความนี้
อนาคตของธุรกิจดิจิทัล ขับเคลื่อนด้วย “Ecosystem Economy”
“โลกปัจจุบันที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สงครามการค้า ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ทำอย่างไรถึงจะทำให้สามารถรันธุรกิจให้มีความต่อเนื่อง ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ตลอดเวลา ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังคงแข่งขันได้กับโลกภายนอก” คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร (CEBO) แห่ง AIS Business กล่าวในช่วงเริ่มต้นงาน “สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากคือเรื่องของ ‘คน’ ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้ทรัพยากรต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้คนทำงานได้สมาร์ตขึ้น มีตัวช่วยมากขึ้น และยังคงบริหารจัดการค่าใช้จ่ายขององค์กรได้”
เพราะการดำเนินธุรกิจดิจิทัลในโลกอนาคตนั้น นอกจากเรื่องเทคโนโลยีที่พัฒนาไปแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาเรื่องความยั่งยืนทางธุรกิจด้วย เหตุนี้เอง คุณธนพงษ์จึงฉายภาพวิสัยทัศน์ของการดำเนินธุรกิจของ AIS ที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบ “Ecosystem Economy” หรือ “เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน” ในการขับเคลื่อนประเทศและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน ผ่าน 3 องค์ประกอบที่ทั้งกลุ่ม AIS จะผลักดันต่อไปในอนาคต ได้แก่
- Digital Intelligence Infrastructure การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงข่ายเน็ตเวิร์ก และปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ทางดิจิทัลให้แข็งแกร่งขึ้น อันเป็นสิ่งที่ AIS จะยังคงเดินหน้าต่อไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการและโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับทุกภาคธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีโครงข่าย 5G ที่ตอบโจทย์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ โครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สำหรับธุรกิจ ระบบนิเวศน์คลาวด์ AIS Cloud X และแพลตฟอร์มนวัตกรรมรวมศูนย์ AIS Paragon Platform เป็นต้น
- Human Capital & Sustainability ผลักดันการพัฒนา 2 ส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกองค์กร ได้แก่ เรื่องคนและการทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ที่จะต้องเสริมแกร่งให้พนักงานมีเครื่องมือที่ทันยุคสมัย พร้อมประยุกต์ใช้ความสามารถของ AI ที่หนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ยังคงสร้างสรรค์สิ่งที่ดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการธุรกิจได้อย่างยั่งยืนควบคู่กันไปด้วย
- Cross Industries Collaboration พัฒนาโซลูชันต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมหลักที่มีโอกาสเป็น New S Curve ใหม่ของไทยและอาจมีบทบาทสำคัญต่อ GDP ของประเทศอย่างมากในอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) คมนาคมและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) และอสังหาริมทรัพย์กับค้าปลีก (Property & Retail) พร้อมทั้งร่วมผลักดันองค์กรจากต่างอุตสาหกรรมให้เกิดร่วมมือใหม่ ๆ และเติบโตไปด้วยกันได้ในอนาคต
เปิดตัว 5 โซลูชัน เร่งเสริมศักยภาพให้ทุกภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล
ภายใต้ 3 องค์ประกอบที่ AIS Business ผลักดันให้เกิด Ecosystem Economy เติบโตอุ่นใจไปด้วยกันในการทำธุรกิจ ภายในงานทาง AIS Business จึงได้เปิดตัวบริการใหม่หลากหลายรูปแบบที่พร้อมสนับสนุนองค์กรธุรกิจให้สามารถพลิกโฉมรูปแบบการทำงานเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกอนาคตผ่าน 5 บริการ ได้แก่
1. AIS Communications Platform as-a-Service (AIS CPaaS)
โซลูชันแพลตฟอร์มสื่อสารแบบครบวงจรใหม่ภายใต้ความร่วมมือกับ Bridge Alliance ที่เชื่อมต่อการสนทนาทั้งรูปแบบเสียง วีดีโอ หรือ SMS ให้สามารถเชื่อมโยงได้กับทุกแพลตฟอร์มบนโลกนี้ผ่านแพลตฟอร์ม “AIS CPaaS” ที่เดียว พร้อมทั้งสามารถกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ได้ตามความต้องการอย่างยืดหยุ่น
ตัวอย่างเช่น การปรับให้การแสดงเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวของพนักงานส่งสินค้าบนหน้าจอโทรศัพท์ผู้รับสายให้แสดงเป็นเบอร์โทรจากองค์กรอย่างเป็นทางการแทน เพื่อให้ผู้รับสายมีความมั่นใจได้ว่าสายที่โทรเข้ามานั้นไม่ใช่สายที่หลอกลวง (Scam) ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ พร้อมทั้งทำให้ประสบการณ์ของพนักงานส่งสินค้าดีขึ้นอีกด้วย
2. AIS Cloud PC for Business
หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจที่สุดของงาน คือการจับมือกับทาง ZTE เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ “AIS Cloud PC” ที่จะทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์กลายเป็นรูปแบบ “Desktop-as-a-Service (DaaS)” โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาดเท่าฝ่ามือและน้ำหนักเบาเพียงแค่ “55 กรัมเท่านั้น”
พนักงานองค์กรจะสามารถพกพา AIS Cloud PC นี้ไปเชื่อมต่อเข้าโครงข่ายองค์กรจากที่ไหนก็ได้ เนื่องจากระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน ข้อมูล และหน่วยการประมวลผลทั้งหมดนั้นจะอยู่บน Cloud ทั้งหมด แล้วใช้ AIS Cloud PC เชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อเข้าไปที่เครื่องในโครงข่ายขององค์กรและทำงานต่อได้ทันที ซึ่งนอกจากความสะดวกแล้ว ยังทำให้การบำรุงรักษาด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) นั้นสามารถดำเนินการได้อย่างรวมศูนย์ และที่สำคัญยังทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เป็น CAPEX แปลงไปเป็น OPEX ได้อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
3. Microsoft 365 Copilot for Enterprise
บริการใหม่ที่จะยกระดับการทำงานให้กับทุกธุรกิจด้วย Gen AI จาก AIS Business กับ Microsoft นั่นคือ “Microsoft 365 Copilot” หรือเครื่องมือ Copilot ที่เป็น Gen AI ที่แทรกซึมอยู่ในทุกส่วนบน Microsoft 365 ระดับองค์กรอันทรงพลัง เปรียบเสมือนผู้ช่วยนักบินที่จะช่วยทำให้หลาย ๆ งานของผู้ใช้นั้นเสร็จเร็วขึ้นอย่างฉับไว ได้งานแทบจะทันทีตามที่จินตนาการไว้ หรือใช้เวลาหาข้อมูลน้อยลงมาก ตัวอย่างเช่น
- Excel การสร้าง Pivot Table ที่แต่ก่อนต้องใช้ทักษะในการจัดทำ แต่ด้วยบริการใหม่นี้ เพียงแค่ส่งคำสั่งผ่าน Prompt ให้ Copilot ระบบ Gen AI ก็จะจัดการสร้างสรรค์สิ่งที่ร้องขอให้ได้อย่างรวดเร็วทันที
- PowerPoint ที่สามารถบอกให้ Copilot ช่วยสร้างสไลด์บน PowerPoint ให้จำนวน 7 หน้า เพื่อนำเสนอเรื่อง Customer Insight Report ซึ่ง Copilot ก็จะจัดทำให้ขึ้นมาได้เลยภายในไม่กี่นาที
- Teams โดย Copilot สามารถช่วยจดบันทึกการประชุม (Minutes of Meeting) แบบสรุปใจความสำคัญว่าในประชุมมีการพูดคุยกันเรื่องอะไรกันบ้าง ออกมาเป็นไฟล์เอกสารได้ทันที
4. Microsoft Teams Phone Operator Connect
ถือได้ว่าเป็นที่แรกในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยที่มีบริการโซลูชัน “Microsoft Teams Phone Operator Connect” ที่เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้ในประเทศไทยผ่านทาง AIS Business โดยเป็นโซลูชันที่ทำให้องค์กรสามารถใช้ Microsoft Teams ติดต่อกันเองภายในหรือกับลูกค้าได้ทุกแพลตฟอร์มอย่างไร้ขีดจำกัด
ไม่ว่าจะเป็นเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 02 หรือ Fixed Line อื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้อุปสรรคในการสื่อสารขององค์กรผ่านแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันนั้นหายไปทั้งหมด รวมทั้งยังส่งผลให้การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นกว่าเดิม และที่สำคัญยังพร้อมเชื่อมโยงกับบริการ CPaaS ได้ด้วย
5. AI Voice Bot
โซลูชันที่สามารถยกระดับการให้บริการลูกค้าผ่านระบบ AI อย่าง “AI Voice Bot” ที่จะช่วยทำให้การดูแลลูกค้ามีความสะดวกสบายขึ้น ผ่านน้ำเสียงที่เป็นมิตรตลอดเวลา พร้อมความสามารถอันหลากหลายที่เรียนรู้ได้จากข้อมูลภายในขององค์กร รวมทั้งยังสามารถ Upsale และปิดการขายต่อได้ทันทีแบบส่วนบุคคล ซึ่งยังมีข้อมูล Log ที่ให้องค์กรนำไปวิเคราะห์ในภายหลังได้ด้วย
AI Voice Bot จะทำให้การบริการดูแลลูกค้าขององค์กรมีความเป็นอัตโนมัติ (Automated) ปลดล็อกพนักงานบางส่วน และคลายความกังวลในการทำงานซ้ำ ๆ และการดูแลลูกค้าจำนวนมหาศาลลงไปได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในทางกลับกันยังสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย
ผลักดันความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจให้ประเทศ
ในช่วงเซสชันเสวนาระหว่างตัวแทน 6 องค์กรจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.), การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย (THAiLOG) นั้น เผยให้เห็นชัดเจนว่าภาคอุตสาหกรรมตอนนี้ยังมีความท้าทายอยู่อีกมากในการไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ให้ได้จริง รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำธุรกิจในในภาคอุตสาหกรรม โดย NECTEC ได้ยก 4 ปัญหาความท้าทายที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่
- ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ไม่รู้ว่าจะจัดลำดับความสำคัญอย่างไรดี หรือว่าควรจะปรับปรุงส่วนใดก่อน เช่น ควรกำหนดกลยุทธ์ก่อน หรือว่าควรจะปรับเรื่องคนก่อน
- ขาดองค์ความรู้ ไม่รู้ว่าควรจะใช้เทคโนโลยีแบบใด ของเจ้าใดดี หรือว่าควรจะใช้ Vendor รายใดจึงจะเหมาะสม
- ขาดแหล่งทุน เพราะการปรับเปลี่ยนจะต้องมีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งบริษัทขนาดกลางหรือเล็กก็มักจะติดขัดในการเข้าถึงแหล่งทุนหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีให้ผู้ประกอบการ
- ไม่มั่นใจในการลงทุน เพราะยังไม่มั่นใจว่าเมื่อลงทุนไปแล้ว จะสามารถคืนทุนได้จริงหรือไม่ หรือว่าจะเกิดประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โฆษณาไว้ขนาดไหน
แม้ว่าองค์กรที่ร่วมเสวนาจะมีแนวทางผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภายในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว แต่อีกหนึ่งแนวทางที่เห็นพ้องต้องกัน คือ “การสร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industry Collaboration)” ให้เป็น “Ecosystem” ที่เดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความเห็น ความท้าทาย รวมไปถึง Use Case ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ที่อาจจะส่งผลให้เป็นไอเดียหรือเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือเกิดความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อันเป็นสิ่งที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนของธุรกิจได้ในประเทศไทย
Use Case จริง ใช้งานจริงแล้วในภาคอุตสาหกรรม
ในช่วงสุดท้ายของงาน คือเรื่องราวความสำเร็จ Use Case ประสบการณ์จากองค์กรธุรกิจที่อยู่ใน 3 ภาคอุตสาหกรรมหลักที่ AIS Business จะเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิด Ecosystem Economy โดยองค์กรเหล่านี้ได้มีการประยุกต์ใช้งานโซลูชันดิจิทัลต่าง ๆ ของ AIS Business เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลายแห่งถือว่าเป็นการพลิกโฉมทรานส์ฟอร์มรูปแบบการทำงานไปอย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้ โดยองค์กรที่มาแบ่งปัน Use Case ภายในงานนั้น ได้แก่
- Siam Toyota Manufacturing โรงงานผลิตเครื่องยนต์และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำ Automation จึงเลือกทรานสฟอร์มด้วยการใช้ AIS 5G Private Network ร่วมกับ Energy Management Platform เชื่อมต่อระบบ ERP ภายใน และหุ่นยนต์ Automation แบบต่าง ๆ จึงทำให้โรงงานมี Automation และสามารถติดตามการใช้พลังงานได้แบบ Real-Time แล้วในวันนี้
- Somboon Advance Technology บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สัญชาติไทยอายุกว่า 61 ปี ที่มีข้อจำกัดในการผลิตและการขนย้ายที่เกิดความเสียหาย จึงทรานสฟอร์มด้วยการปรับใช้หุ่นยนต์ 3D Vision Robot ร่วมกับ Unmanned AGV และ ASRS Warehouse ผ่านเครือข่าย AIS 5G ที่มี Latency ต่ำ จึงทำให้ปัญหาหมดไปเป็นที่เรียบร้อย
- Hutchison Ports ผู้ให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการขนย้ายสินค้า Cargo จากเรือได้เร็วขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัย (Safety) และความมั่นคงปลอดภัย (Security) ให้สูงขึ้น จึงทรานสฟอร์มด้วยการใช้ AIS 5G Private Network ร่วมกับ Remote Control Crane พร้อมกับ Autonomous Truck รถบรรทุกไร้คนขับที่สามารถทำงานร่วมกับรถบรรทุกที่มีคนขับได้ ซึ่งถือว่ากรณีนี้เป็นที่แรกของโลกที่มีการใช้งานลักษณะดังกล่าวได้สำเร็จ
- ARV บริษัท Spin Off จาก ปตท.สผ. ผู้พัฒนา Horrus โดรนอัตโนมัติด้วย AI (AI Autonomous Drone) ที่มีปัญหาเรื่องข้อจำกัดของคลื่นวิทยุ 2.4 GHz จึงเลือกใช้โครงข่าย 5G จาก AIS Business จึงทำให้โดรนสามารถบินไปได้ไกลขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนสามารถรองรับ Use Case ได้มากขึ้น อาทิ การสำรวจสภาพการจราจรวันหยุด ในวันที่มีการจราจรที่หนาแน่น หรือใช้ AI หาจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
- NCC ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ตัดสินใจปิดซ่อมแซม (Renovate) ไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้เป็นศูนย์ประชุมระดับโลกที่พร้อมรองรับการประชุมในทุกอุตสาหกรรม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกองค์กรที่มาจัดงานใน QSNCC จึงเลือกใช้บริการอย่างหลากหลายจาก AIS Business ทั้งโครงข่าย 5G, AIS Corporate Internet, AIS Domestic Data Circuit (DDC) ฯลฯ
- Central Pattana บริษัทสำหรับการพัฒนาดูแลและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 42 ปี โดยเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจาก AIS Business จึงทำให้ศูนย์การค้ามีประสบการณ์การใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดีเยี่ยม
- The Mall Group กลุ่มบริษัทธุรกิจค้าปลีกสัญชาติไทย ผู้ให้บริการห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, ดิ เอ็ม ดิสทริค และศูนย์การค้าสยามพารากอน ที่มีความท้าทายในการทำให้ห้างมีความทันสมัยและรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง จึงเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานจาก AIS Business ในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง 5G, WiFi, Fibre Optic ที่ทำให้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่งทั่วทั้งศูนย์การค้า
- SCG บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ต้องการให้ธุรกิจเติบโตได้แข็งแกร่งในขณะที่ทำเรื่อง ESG ด้วย โดยในธุรกิจเหมืองที่ต้องการเน็ตเวิร์กครอบคุลมได้กว้างทั้งพื้นที่ แต่ไม่สามารถลากสายใด ๆ ได้เลย จึงเลือกใช้ AIS 5G ร่วมกับ Autonomous EV Truck เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง อันส่งผลให้สุขภาพและสภาพการทำงานของพนักงานดีขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 35%
บทส่งท้าย
ทั้งหมดนี้คือแนวคิด “Ecosystem Economy” ที่ AIS Business ได้ประกาศไว้ล่าสุดในงาน “AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION” รวมทั้งโซลูชันดิจิทัลใหม่ที่มีการเปิดตัวภายในงานนี้ เพื่อขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมให้เกิดการ “Cross Industry Collboration” กันมากขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้องค์กรทุกภาคส่วนมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น อันเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าและสามารถเติบโตอุ่นใจไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน
สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรใดที่สนใจผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันดิจิทัลใด ๆ จากทาง AIS Business เพื่อนำไปปรับใช้พลิกโฉมธุรกิจได้อย่างครบวงจร สามารถติดต่อทาง AIS Business ในทุกช่องทางได้ทันที หากต้องการดูรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.ais.th/business
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email: business@ais.co.th
Website: www.ais.th/business