CDIC 2023

8 คุณสมบัติของ IoT 2.0: ก้าวถัดไปของ Internet of Things ที่ทุกคนควรรู้

เมื่อ Internet of Things (IoT) ได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานทั้งในฝั่งของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ คลื่นลูกถัดไปของ IoT ภายใต้ IoT 2.0 ก็กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้ด้วยความสามารถใหม่ๆ ที่แก้ไขปัญหาเดิมๆ ของระบบ IoT อย่างครอบคลุม ทาง TechRadar ได้ทำการสรุปเนื้อหาตรงนี้ไว้ค่อนข้างดี ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอนำมาเล่าต่อเป็นภาษาไทยให้ได้อ่านกันดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com

 

1. อุปกรณ์ IoT 2.0 จะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ภายใต้ Ecosystem แบบเปิด

หนึ่งในประเด็นสำคัญของ IoT 2.0 นั้นก็คือมาตรฐานกลางสำหรับการสื่อสารระหว่างกันของอุปกรณ์ IoT ทำให้การนำอุปกรณ์ของหลายค่ายมาใช้งานร่วมกันทำได้ง่ายขึ้น และทำให้ภาพรวมของระบบ IoT นั้นมีราคาถูกลงไปด้วย ไม่ต้องมีปัญหาอย่างในปัจจุบันที่อุปกรณ์ IoT สำหรับวงการอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นมีมาตรฐานที่ต่างกันไป

 

2. IoT 2.0 จะทำให้ Contextual Commerce กลายเป็นที่แพร่หลาย

การนำอุปกรณ์ IoT เข้ามาช่วยในธุรกิจค้าปลีกเพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้ทั้งในร้านค้าจริงและในระบบ E-Commerce นั้นจะเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ด้วยการอาศัยเทคโนโลยี Machine Learning เพื่อทำนายว่าลูกค้าคนใดจะต้องการอะไรจากข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่รับเข้ามา และการสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยอัตโนมัติเพื่อเติมสินค้าอุปโภคบริโภคของลูกค้าแต่ละคนนั้นก็จะเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียที ทำให้มนุษย์ไม่ต้องคอยกังวลกับการจับจ่ายสินค่ามากอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป

 

3. การพัฒนา Application สำหรับ IoT 2.0 จะกลายเป็น Cognitive-first แทน

ถัดจากยุคของ Mobile-first และ Cloud-first นั้นก็จะเป็นยุคของ Cognitive-first ที่ชีวิตและการทำงานของเราจะรายล้อมไปด้วยอุปกรณ์ IoT, Sensor และอื่นๆ ที่ติดตั้งเอาไว้ในที่ต่างๆ และคอยรวบรวมข้อมูลปริมาณมหาศาลอยู่ตลอดเวลา ทำให้การนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อการทำนายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีฝั่ง Cognitive Computing, Artificial Intelligence (AI), Machine Learning และ Algorithm ต่างๆ นั้นมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ไปจนถึงการทำให้สถาปัตยกรรมการประมวลผลใหม่ๆ อย่าง Fog Computing หรือ Edge Computing ได้รับความนิยมสูงขึ้นมา เพื่อใช้พลังประมวลผลเหล่านี้ในการสอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความชาญฉลาดมากขึ้น และทำนายผลต่างๆ ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

4. อุปกรณ์ IoT 2.0 จะมีราคาถูกลงอย่างมหาศาล และก้าวเข้าสู่ยุค Software-defined ของ IoT

จากแนวโน้มของอุปกรณ์ IoT นั้นนับวันจะยิ่งมีราคาถูกลง ในขณะที่เทคโนโลยีประมวลผลนั้นจะยิ่งทรงพลังมากขึ้น ทำให้เหล่าอุปกรณ์ IoT ในยุค 2.0 นั้นนอกจากจะฉลาดมากขึ้นแล้วก็ยังจะมีราคาถูกลงไปด้วยในเวลาเดียวกัน รวมถึงยังจะมีขนาดเล็กลงด้วย จนในอนาคตอุปกรณ์ IoT จะสามารถทำงานได้แบบ General Purpose มากขึ้น และกลายเป็น Software-defined ไปในที่สุด

ตัวอย่างหนึ่งที่เริ่มเห็นได้ชัดแล้วคือชิป Bluetooth ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น, มีขนาดเล็กลง และยังเริ่มทำงานแบบ Software-defined แล้ว โดยมีผู้ผลิตบางรายที่สามารถลดขนาดของเสารับสัญญาณลงได้แล้วถึง 90%

 

5. ความมั่นคงปลอดภัย จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกฝังมาในอุปกรณ์และระบบ IoT 2.0 แต่แรก

หลังจากที่เราได้มีกรณีศึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยมากมายแล้วจาก IoT ในปัจจุบัน ก็ทำให้อุปกรณ์ IoT 2.0 นั้นได้รับความใส่ใจในแง่ของความมั่นคงปลอดภัยกันมากขึ้น โดย IoT 2.0 นั้นจะต้องรองรับความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยตั้งแต่ระดับของระบบปฏิบัติการขึ้นมาเลย ทำให้ต่อไปการมีระบบปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานกลางสำหรับ IoT โดยเฉพาะนั้นจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป อีกทั้งยังต้องมีระบบ Digital-signed Software Update เพื่อให้มั่นใจในทุกๆ อัปเดตว่าเป็นของจริง และแนวคิดทางด้านความมั่นคงปลอดภัยต่ออุปกรณ์ IoT นั้นจะกลายเป็น “ทุกอุปกรณ์ถือว่าเป็นอุปกรณ์อันตราย ตราบใดที่ยังไม่ได้พิสูจน์ความมั่นคงปลอดภัยของตนเอง”

 

6. การยืนยันตัวตนเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ IoT 2.0

การยืนยันตัวตนด้วย User ID, Pass-phrase และ Password นั้นไม่เหมาะต่ออุปกรณ์ IoT อีกต่อไป ในยุคของ IoT 2.0 นั้น นอกจากจะใช้ Certificate หรือ Private Key ที่ใช้ในการเข้ารหัสเพื่อยืนยันตัวตนของอุปกรณ์ IoT แล้ว ข้อมูลแวดล้อมอย่างเช่น Geolocation, Device Fingerprinting, เวลาที่ใช้ในการยืนยันตัวตนและเชื่อมต่อ รวมถึงข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ ที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้เป็นของจริงที่ไม่ได้ถูกแก้ไขหรือปลอมแปลงใดๆ ก็จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนด้วยเช่นกัน ในขณะที่การออกแบบความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มสำหรับ API ต่างๆ เพื่อใช้รับส่งข้อมูลระหว่างระบบ Cloud และอุปกรณ์ IoT ก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป

 

7. ต้องมีการใช้ 5G และ Software-defined Networking ผสานกันเพื่อตอบโจทย์ IoT 2.0

ถึงแม้ก่อนหน้านี้เราจะตั้งความคาดหวังกับเทคโนโลยี 5G ว่าจะกลายเป็นระบบเครือข่ายหลักของ IoT แต่ในปัจจุบันเรากลับพบแล้วว่า 5G นั้นไม่เพียงพอต่อการรองรับ IoT อย่างแน่นอน เพราะถึงแม้ 5G จะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารระยะไกลได้อย่างมั่นคงทนทานและมี Latency ที่ต่ำมาก แต่อุปกรณ์ IoT และ Appliction ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นต่างก็ถูกวิวัฒนาการขึ้นมาจนเริ่มมีการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพจากล้อง HD หรือ 4K และอื่นๆ ทำให้ Pattern ในการรับส่งข้อมูลสำหรับระบบ IoT นั้นมีความหลากหลายเกิดขึ้น

เพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ การนำเทคโนโลยีอย่าง Software-defined Networking มาใช้ร่วมกับ 5G เพื่อให้ระบบเครือข่ายสามารถปรับตัวได้ตามรูปแบบการใช้งานสำหรับรองรับทั้งอุปกรณ์ IoT และ Application ต่างๆ จึงกลายเป็นก้าวถัดไปของเหล่าผู้ให้บริการโครงข่ายและองค์กร

 

8. อุปกรณ์ IoT 2.0 จะนำเทคโนโลยีเก่าๆ ในอดีตมาใช้มากขึ้น

อีกแนวโน้มที่น่าสนใจไม่น้อย คือความพยายามในการทำให้เหล่าอุปกรณ์ IoT ในยุค 2.0 นั้นสามารถสื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet เช่น การใช้คลื่น Ultrasound ที่ทำการเข้ารหัสเพื่อส่งสัญญาณกันเองระหว่างอุปกรณ์ หรือการใช้คลื่นเสียงย่านต่างๆ ในการรับส่งข้อมูลกันเองระหว่างไมโครโฟนและลำโพง เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมถึงกันได้เอง ไปจนถึงเชื่อมต่อไปยัง Gateway และออกไปยัง Internet ได้ทางอ้อม สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา

 

IoT 2.0: อีก 5 ปีเจอกัน

ถึงแม้ตอนนี้เหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีจะเริ่มมีภาพของ IoT 2.0 ในใจกันบ้างแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า IoT นั้นยังเป็นเรื่องใหม่ที่หลายๆ ธุรกิจยังต้องศึกษาและนำมาใช้งาน ดังนั้นก็ต้องอาศัยเวลาอีกซักระยะเพื่อให้เราได้มองเห็นภาพรวมและปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มก้าวไปสู่อนาคตกัน ดังนั้นหลังจากนี้คำว่า IoT 2.0 ก็ยังจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกค่อนข้างมากด้วยการเกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ และรูปแบบการนำไปใช้งานแบบใหม่ๆ อย่างแน่นอน ถึงตอนนั้นเราก็ควรจะต้องติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ตามโลกทันนั่นเอง

 

ที่มา: http://www.techradar.com/news/a-closer-look-at-the-internet-of-things-20-and-why-its-inevitable


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Incident Response’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

Incident Response เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของแผนการที่ทุกองค์กรควรมือ คำถามคือทุกวันนี้องค์กรหรือบริษัทที่ท่านมีส่วนรวมมีแผนรับมือเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ครอบคลุมความเสี่ยงและเคยผ่านสถานการณ์จริงมาได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากปฏิบัติตามแผนได้ดีก็อาจจะช่วยลดผลกระทบของความเสียหายได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงอยากขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านมาเพิ่มพูนความรู้ในคอร์สสุดพิเศษจาก Sosecure โดยเนื้อหาจะกล่าวถึง Framework, Incident Response และ Incident Handling …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Threat Hunting’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

การต่อกรกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเท่านั้น และหากทำได้ดีเราก็สามารถลงมือตอบสนองก่อนเกิดเหตุได้เช่นกัน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งทีม Threat Hunting มีบทบาทอย่างมากในการทำงานร่วมกับระบบ SoC ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วทุกมุมโลกมาช่วยตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้  คำถามคือแล้วในงานเหล่านี้ควรมีทักษะเกี่ยวข้องในด้านไหนบ้าง Sosecure ขอชวนผู้สนใจในสายงานด้าน Cybersecurity ที่ต้องการรู้ลึก ทำได้จริง …