
ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในปัจจุบัน CIO ของหลายๆ องค์กรต่างต้องเผชิญกับแรงกดดันเรื่องงบประมาณด้าน IT ที่ถูกตัด ทำให้จำเป็นต้องเน้นโฟกัสเฉพาะส่วนสำคัญหรือใช้เทคนิคเล่นแร่แปรธาตุเพื่อให้สามารถใช้งบประมาณในการปรับปรุงระบบและเร่งทำ Digital Transformation ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการยกระดับ Customer และ User Experience

การทำ Digital Transformation เป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อเสริมแกร่งเรื่อง Resilience, เพิ่มความคล่องตัว และยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะปรับปรุงเทคโนโลยี Infrastructure และ Process ต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Network หรือ Security ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นแทน
หนึ่งในการปรับปรุง Infrastructure ที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มความสามารถด้าน Visibility และ Analytics ให้ครอบคลุมข้อมูลที่รับส่งกันทั้งบนระบบ Network, Data Center, Virtual Environment และบน Cloud การมี Visiblity และ Analytics คลุมข้อมูลทั้งหมดเป็นผืนเดียวกันนี้ จะช่วยลดทราฟฟิกที่ถูกส่งไปยังเครื่องมือด้าน Network และ Security ได้มากถึง 90% ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เครื่องมือที่ใช้งานอยู่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากปริมาณทราฟฟิกส่วนเกินที่ไม่มีประโยชน์ได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ Simon Lee รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นของ Gigamon จึงได้เปิดเผยเทคนิค 5 ข้อสำหรับพลิกโฉมและใช้ Network Infrastructure ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้งบประมาณด้าน IT ที่จำกัด ดังนี้
1. De-duplication
โดยทั่วไปแล้ว เกินครึ่งของทราฟฟิกบนระบบเครือข่ายจะเป็น Network Packet ที่ซ้ำซ้อน (Duplicate) และในบางกรณีอาจมีสูงถึง 85% หรือ 90% ซึ่งไม่จำเป็นเลยที่เครื่องมือด้าน Network จะต้องตรวจสอบหรือประมวลผล Packet ที่ซ้ำซ้อนเหล่านั้น แม้ว่าบางเครื่องมือสามารถทำ De-duplication ได้ แต่ก็ต้องแลกกับการสิ้นเปลืองทรัพยากรมหาศาล
การทำ De-duplication จากศูนย์กลางของระบบเครือข่ายจึงเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่า จากนั้นค่อยแชร์ทราฟฟิกที่กลั่นกรองเรียบร้อยแล้วไปยังเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต้องจัดการต่อ การทำ De-duplication จากศูนย์กลางนี้จะช่วยลด Packet ที่ซ้ำซ้อนบนระบบเครือข่ายได้มากถึง 50% โดยเฉลี่ย
2. Application Filtering
เมื่อพนักงานในองค์กรย้ายไปทำงานแบบ Work from Home มากขึ้น การทำ Application Filtering จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยกรองเฉพาะแอปพลิเคชันที่สนใจไปยังเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต้องตรวจสอบและประมวลผลทราฟฟิกของแอปพลิเคชันเหล่านั้น
ด้วยการลดทราฟฟิกของแอปพลิเคชันที่ไม่เกี่ยวข้องหรือความเสี่ยงต่ำ เช่น วิดีโอสตรีม อัปเดตของซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและของ Windows จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องมือต่างๆ ได้เป็นอย่างดี Gigamon เองได้ใช้เทคนิค Application Filtering อันชาญฉลาดซึ่งช่วยลดปริมาณทราฟฟิกที่ส่งไปยังเครื่องมือต่างๆ ได้ถึง 50%
3. Flow Mapping
ในขณะที่ Application Filtering ทำงานในระดับแอปพลิเคชัน Flow Mapping ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่คล้ายคลึงกันแต่ทำงานในระดับพอร์ต Flow Mapping ช่วยให้ทีม IT สามารถจับคู่ทราฟฟิกที่สนใจ เช่น จากบางพอร์ต TCP ไปยังเครื่องมือที่ต้องการได้ และกรองทราฟฟิกส่วนที่เหลือออกไป เทคนิคนี้ ช่วยให้ลูกค้าบางรายของ Gigamon ลดปริมาณทราฟฟิกที่วิ่งไปยังเครื่องมือต่างๆ ได้ถึง 20% – 30%
4. Netflow
เครื่องมือด้าน Network Flow เป็นอีกช่องทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Infrastructure การใช้ Metadata ของทราฟฟิกระบบเครือข่าย แทนที่จะเป็น Packet ข้อมูลดิบ ช่วยลดปริมาณทราฟฟิกที่จะส่งไปยังเครื่องมือด้าน Monitoring ได้มหาศาล
นอกจากนี้ เครื่องมือด้าน Network Flow ที่เก่งๆ ยังสามารถสร้าง Full-fidelity, Unsampled Network Flow ได้ ซึ่งจะช่วยลดภาระการสิ้นเปลืองทรัพยากรของ Switch และ Router ลง ผลลัพธ์คือทราฟฟิกที่ถูกส่งไปยังเครื่องมือด้าน Network Performance Monitoring จะมีปริมาณลดลงสูงถึง 95%
5. Backward Tools Compatibility
เลือกใช้เครื่องมือด้าน Visiblity และ Analytics เผื่ออนาคต ยกตัวอย่างเช่น ควรหาเครื่องมือระดับ 1 หรือ 10 Gbps ที่รองรับเครือข่ายในปัจจุบันที่มีความเร็ว 25, 40 หรือ 100 Mbps ทำให้เมื่อต้องอัปเกรดความเร็วระบบเครือข่าย จะได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดเครื่องมือเหล่านี้ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค Digital Transformation ที่เห็นได้ชัดว่าปริมาณข้อมูลเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ระบบ IT ก็ต้องขยับขยายตาม การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การลงทุนมีความคุ้มค่ามากที่สุดและสามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว
เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.gigamon.com/