โดย อมิต ซูซีน่า
รองประธานกรรมการแอปพพลิเคชั่นประจำภูมิภาคอาเซียน ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ภาคธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในการมองหาและเติมเต็มความต้องการในการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการรับส่งสินค้า (ลอจิสติกส์) ปัจจุบัน ผู้นำตลาดทุกภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงข้อบกพร่องของการพึ่งพาแอปพลิเคชั่นด้านลอจิสติกส์ที่ตายตัวแบบเดิมมากกว่าที่เคยเป็น การก้าวขึ้นเป็นผู้นำท่ามกลางตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งนี้ ธุรกิจทั้งหลายต่างนำโซลูชั่นซัพพลายเชนแบบครบวงจร ที่มีความทันสมัยและยืดหยุ่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้องค์กรพร้อมปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์นวัตกรรม องค์กรจำเป็นที่จะต้องเชื่อมขั้นตอนต่างๆ ให้อำนาจแก่พนักงาน และทำให้รูปแบบการทำงานและระบบซัพพลายเชนง่ายดายยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงแบบพลิกโลก (Disruptive technology) เช่น IoT ทำให้การเปลี่ยนผ่านของระบบ
ลอจิสติกส์และซัพพลายเชนในปัจจุบันเกิดขึ้นได้ ด้วยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกัน ทำให้องค์กรเห็น รับรู้ และเกิดการวิเคราะห์จากข้อมูลเรียลไทม์ ทำให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม ปกป้องผลประโยชน์ และบริการของลูกค้าได้ เปอร์เซ็นต์ของประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสำหรับธุรกิจ นั่นอาจหมายถึงความแตกต่างระหว่างการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน กับการตามหลังเส้นโค้งแห่งดิจิทัลอยู่ถึงสองก้าว
เหตุผล 5 ประการที่องค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องนำ IoT เข้ามามีบทบาทในกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านระบบซัพพลายเชน
1. IoT ช่วยปรับปรุงการเติบโตของภาคธุรกิจ ทำให้ทุกหน่วยงานมองเห็นภาพธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
วิวัฒนาการของธุรกิจดิจิทัล ศักยภาพในการเห็นและคาดการณ์ทางธุรกิจ ทำให้รูปแบบการดำเนินงานช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและความแตกต่างทางด้านการแข่งขัน เส้นทางแห่งยุคดิจิทัลเริ่มต้นจากการผสานทุกหน่วยงานในองค์กร ด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบ End-to-end อันสมบูรณ์แบบ IoT คือด้ายเส้นสำคัญที่จะเชื่อมฟังก์ชั่
นต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน
2. IoT จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและเพิ่มผลผลิตด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)
การชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ต่างๆ อาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายอันมหาศาลให้แก่องค์กร แต่หากมีการรายงานข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์แบบเรียลไทม์ ธุรกิจสามารถรู้ที่มาของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก่อนที่หายนะอันใหญ่หลวงนั้นจะทำให้กำไรลดลง ด้วยIoT บริษัทสามารถเปรียบเทียบโรงงานแต่ละแห่ง และทำการวัดผลอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นใจว่าโรงงานทุกแห่ง และสายงานการผลิตมีการดำเนินงานอย่างราบรื่น IoT ทลายอุปสรรคที่ขวางกั้นระหว่างลูกค้ากับองค์กร ด้วยข้อมูลที่ได้จากการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ต่างๆ และการป้อนข้อมูลกลับเข้าไป ทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เริ่มจากการให้บริการและผลักดันนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า
3. IoT จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยระบบดูข้อมูลกลุ่มรถแบบเรียลไทม์ (Fleet Monitoring)
บริษัทสามารถทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานและการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของยานพาหนะได้แบบเรียลไทม์ การเชื่อมต่อยานพาหนะและสินค้ากับ IoT จะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ให้คงสภาพพร้อมใช้งาน เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าด้วยการคาดการณ์เวลาที่สินค้าจะถึงมือลูกค้าได้เร็วขึ้น (ETA) รวมถึงยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย IoT ยังสามารถช่วยให้บริษัทติดตามพฤติกรรมพนักงานขับรถ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคาดการณ์การซ่อมบำรุง บริษัทสามารถตัดสินใจและใช้ประโยชน์จากความอัจฉริยะในการคาดการณ์ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและประโยชน์ให้กับระบบซัพพลายเชน
4. IoT ช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์จากการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ
การติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์บนอุปกรณ์ใดก็ได้ ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจที่มาและการทำงานของข้อมูลเหล่านั้นว่าเป็นไปอย่างไร เมื่อมีข้อมูลว่าอุปกรณ์นั้นๆ ต้องการการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน จะมีการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติไปยังเจ้าหน้าที่ให้บริการทางเทคนิคเพื่อเข้ามาประเมินสถานการณ์ บริษัทยังสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากความเสื่อมเสียหรือทราบแม้กระทั่งว่ามีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อป้องกันการลักทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถในการติดตามเฝ้าดูสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น และการติดตามตำแหน่ง ข้อมูลเชิงลึกของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ ทำให้องค์กรสามารถคาดการณ์การซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบ
ซัพพลายเชน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ของลูกค้าโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น
5. IoT ช่วยติดตามพฤติกรรมพนักงานเพื่อลดความเสี่ยง
การที่พนักงานได้รับอุปกรณ์สวมใส่ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตIoT ทำให้บริษัทสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน บริษัทสามารถเฝ้าติดตามดูสุขภาพสถานที่และการปฏิบัติตามกฎระเบียบของพนักงานแต่ละคนได้ข้อมูลที่มีการรวบรวม ทำให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงนโยบายต่างๆ ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและป้องกันอุบัติเหตุได้ IoT ทำให้เกิดการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ รวมถึงการติดตามการทำงานซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดความผิดพลาดอันอาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงได้
สัญญาณจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด เปิดโอกาสให้องค์กรสามารถจัดการ ตีความ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ องค์กรที่มีเครื่องมือในการผสมผสานข้อมูลบนอุปกรณ์เข้าไปในขั้นตอนการทำธุรกิจพร้อมด้วยแอปพลิเคชั่น จะสามารถเพิ่มจำนวนข้อมูลเชิงลึกที่มีการคาดการณ์และขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่าการลงทุน สาระสำคัญก็คือ IoT จะช่วยให้ธุรกิจสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการที่รวดเร็ว และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้าได้
กำหนดกระบวนการทางธุรกิจและการปฏิบัติงานโดยอัตโนมัติด้วย IoT
ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต ทำให้องค์กร รวมถึงระบบลอจิสติกส์และซัพพลายเชนจำเป็นที่จะต้องขยับตัวให้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย การนำโซลูชั่นที่เอื้อให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์และตอบโต้กับข้อมูลเรียลไทม์ที่ได้จาก IoT และรวบรวมข้อมูลเชิงลึกส่งไปยังส่วนการตลาดที่กำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบันจะสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจในระยะยาว
แอปพลิเคชั่น IoT รองรับฟังก์ชั่นสำคัญ 3 รูปแบบคือ การลงทะเบียนอุปกรณ์และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความ รวมถึงการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจง การนำเอาเทคโนโลยีที่ผสมผสานข้อมูลเชิงคาดการณ์ขั้นสูงเข้ากับข้อมูลส่งจากอุปกรณ์ ทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถคำนวณค่า KPI สำหรับธุรกิจเฉพาะทางที่มีความซับซ้อนและสั่งปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ได้โดยอัตโนมัติ
ธุรกิจไม่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพียงเพื่อต้องการเป็นเจ้าของความสามารถในการดำเนินการที่ดีและใหม่กว่าเท่านั้น สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือปัญหาที่ต้องการแก้ไขการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อาจหาทางออกให้แก่ปัญหานั้นได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่าทางออกนั้นเป็นไปในทางเดียวกันกับกลยุทธ์เชิงธุรกิจโดยรวม บทบาทของ IoT ในที่นี้ ทำให้บริษัทใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่พัฒนาไปให้เหมาะสมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพเพื่อช่วยพัฒนาการเติบโตของธุรกิจให้ได้ดียิ่งขึ้น
###