กลายเป็นสถิติใหม่ของกินเนสบุ๊ค หลังจากที่กรรมการวัดขนาดของชิ้นส่วนเครื่องบินเจ็ตโบอิ้ง 777X ซึ่งมีความยาวถึง 5.33 เมตร กว้าง 1.68 เมตร สูง 0.46 เมตร และมีน้ำหนักมากถึง 748.43 กิโลกรัม กลายเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่สร้างจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ
ชิ้นส่วนตัดประกอบขนาดเกือบ 750 กิโลกรัมนี้ ถูกพิมพ์แบบ 3 มิติโดยศูนย์วิจัยแห่งชาติ Oak Ridge (ONRL) โดยมีขนาดเทียบเท่ากับยานพาหนะสำหรับใช้แข่งขันขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ทดสอบการสร้างปีกของเครื่องบินเจ็ตโบอิ้ง 777X
ONRL ระบุว่า ใช้เวลาพิมพ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเพียง 30 ชั่วโมงเท่านั้น โดยสร้างจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ และสารประกอบเทอร์โมพลาสติก ABS
“เครื่องมือโลหะจากซัพพลายเออร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีราคาสูงกว่ามาก และปกติต้องใช้เวลา 3 เดือนในการผลิตโดยใช้เทคนิคยุคเก่า การผลิตชิ้นส่วน เช่น ส่วนหนึ่งของปีกเครื่องบิน 777X นี้ โดยสามารถประหยัดพลังงาน เวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่มีการนำเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D เข้ามาใช้ในส่วนโปรดักชันหลัก” — Leo Christodoulou ผู้อำนวยการโครงสร้างและวัสดุของโบอิ้งชี้แจง
Michale Empric กรรมการจากกิสเนสบุ๊คได้ทำการวัดขนาดชิ้นส่วนดังกล่าว และยืนยันว่ามันมีขนาดเกินความต้องการขั้นต่ำของวัตถุที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ 3D คือ 0.3 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหลังจากที่ชิ้นส่วนนี้ถูกนำไปทดสอบเพื่อยืนยันคุณสมบัติต่างๆ โบอิ้งเตรียมวางแผนที่ใช้ชิ้นส่วนดังกล่าวในกระบวนการผลิตที่ St. Louis