เทคโนโลยีนั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม และวงการการศึกษาเองก็ย่อมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ในโรงเรียน, บทบาทของ E-Learning ที่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการที่ผู้คนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการศึกษา ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกกันถึงความเป็นไปได้ 3 ประการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เปลี่ยนแปลงการศึกษาในระดับชั้นต่างๆ
ทำไมวงการการศึกษาไทยถึงต้องการการเปลี่ยนแปลง?
การศึกษานั้นถือเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยในการก้าวตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ให้สำเร็จ การดูแลเยาวชนและให้การศึกษาที่ทันสมัยรวมไปถึงการเสริมสร้างทักษะทางด้านการใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเตรียมตัวสู่โลกยุคดิจิทัล ในขณะที่เหล่าผู้ใหญ่วัยทำงานเองก็ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีและสร้างทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าในอนาคตนั้น การศึกษาจะเป็นเรื่องของทุกคนในทุกช่วงวัย ไม่ใช่เพียงแค่เด็กเท่านั้นที่จะต้องเรียนอีกต่อไป
นอกจากนี้ การศึกษาจะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ สถานที่ ไม่ได้ถูกจำกัดแต่เพียงในสถาบันการศึกษาเท่านั้น และการเรียนการสอนภายในสถาบันการศึกษาเองก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นและเกิดการโต้ตอบมากยิ่งขึ้น ส่วนการเรียนรู้นอกสถาบันการศึกษานั้นก็จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการปรับปรุงให้การศึกษานั้นเหมาะสมกับทักษะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เป้าหมายเหล่านี้ก็จะสามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่การวางแผนในระยะยาวที่ดีนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย
ในการตอบรับต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 ให้สำเร็จนี้ การศึกษา 4.0 ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้คนไทยในอนาคตมีทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ให้ได้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้การปรับปรุงให้การศึกษามีประสิทธิผลที่สูงยิ่งขึ้น และการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้เหมาะสมกับอนาคตมากยิ่งขึ้นไปด้วย
อีกประเด็นหนึ่งซึ่งสำคัญต่อด้านการศึกษา 4.0 ของไทยนั้นก็คือการทำให้การศึกษาสามารถถูกเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม เพื่อให้เยาวชนไทยทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหนก็ยังสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับของคุณภาพที่ใกล้เคียงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สอนหรือเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนก็ตามแต่ ปริมาณของครูและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ครูสามารถเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้นนั้นจึงกลายเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
ส่วนเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนเองนั้นก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ด้วยการศึกษาตามหลักสูตร STEM นั้น คอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์จะต้องถูกยกขึ้นมาเป็นวิชาหลัก ไม่ใช่วิชารองเหมือนอย่างแต่ก่อน ในขณะที่การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งจะลดการสอนแยกรายวิชาลงไป และเปลี่ยนการสอนเป็นแบบบูรณาการที่นำเนื้อหาจากหลากหลายวิชามาสาธิตถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริงในหลากหลายแง่มุม ก็จะกลายเป็นอีกแนวทางการสอนแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการศึกษาเหล่านี้
ทั้งหมดนี้ถือเป็นก้าวใหญ่ที่คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืนภายในประเทศไทย ในขณะที่เทคโนโลยีก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการสอนของครู และความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงยิ่งขึ้นไปได้
สำหรับ 3 แนวทางในการปรับปรุงการศึกษาด้วยเทคโนโลยี มีดังต่อไปนี้
1. สร้างสถาบันการศึกษาแห่งอนาคตด้วยแนวคิด Connected Campus
จากการที่เนื้อหาการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงไปจากการใช้กระดาษไปสู่รูปแบบที่เป็นดิจิทัล สถาบันการศึกษาเองก็ต้องมองหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนและการนำสื่อเหล่านี้มาใช้สอนผู้เรียนให้ได้ ดังเช่น
-
หนังสือและสื่อการเรียนแบบดิจิทัล: การแจกเอกสารการเรียนการสอนในรูปแบบของไฟล์ PDF, DOCX, PPTX, วิดีโอ และทำการส่งต่อผ่านบริการ Cloud ก็ได้เริ่มกลายเป็นแนวทางพื้นฐานที่ถูกใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตเอกสารการเรียนการสอนเหล่านี้ก็จะถูกเปลี่ยนรูปแบบไปสู่การเป็น Immersive Textbook ที่สามารถถูกใช้เรียนรู้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงเปิดให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้โดยตรง
-
การสร้างและใช้สื่อการเรียนแบบดิจิทัล: อุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงจะถูกนำมาใช้บันทึกการเรียนนการสอนที่เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง Smart Whiteboard เองก็จะช่วยให้สามารถบันทึกเนื้อหาการสอนทั้งการเขียนกระดาน, การเปิดไฟล์นำเสนอ หรือการเปิดวิดีโอให้นักเรียนดูนั้นง่ายขึ้น
-
การนำ Augmented Reality/Virtual Reality มาใช้สอน: สื่อการเรียนการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้นั้น จะเริ่มถูกนำเสนอผ่าน Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) กันมากขึ้น และแม้แต่วิดีโอแบบ 360 องศาเองก็จะถูกนำมาใช้ในการสอนด้วยเช่นกัน
-
สื่อสารภายในชั้นเรียนด้วยแนวคิด Connected Classroom: ครูและนักเรียนจะต้องมีแนวทางการสื่อสารระหว่างกันในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การสื่อสารสอบถามประเด็นต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียน สำหรับโรงเรียนชั้นประถมหรืออ่อนกว่านั้น ช่องทาการสื่อสารเหล่านี้อาจต้องครอบคลุมถึงการสื่อสารระหว่างครูและผู้ปกครองด้วย เพื่อช่วยให้สามารถปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้อย่างแท้จริง
-
การเรียนรู้ตลอด 24×7: การเรียนการสอนนนั้นจะเกิดขึ้นทั้งที่บ้านและภายในสถาบันการศึกษา และเปลี่ยนจากการเรียนเพียงแค่ 8 ชั่วโมงภายในห้องเรียนไปสู่การเรียนแบบ 24×7 ที่เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลาแทน
-
การปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล: ด้วยการประยุกต์นำ AI มาใช้ เด็กนักเรียนแต่ละคนก็จะได้รับแผนการเรียนและเนื้อหาการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปตามทักษะของตนเอง
-
การเรียนรู้ผ่านเกม: เพื่อให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การเรียนรู้ผ่านเกมนั้นก็จะกลายมาเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจจากนักเรียนได้
-
การทำแบบทดสอบออนไลน์: การทดสอบเพื่อชี้วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเทคโนโลยีสำหรับป้องกันการโกงการสอบแบบออนไลน์นั้นก็จะถูกนำมาใช้งานด้วย
-
โครงการวิจัยที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนเสริม: การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปเสริมให้กับสาขาต่างๆ อย่างเช่น การแพทย์, กสิกรรม และวิศวกรรมนั้นจะช่วยให้การศึกษาในระดับปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาเอกนั้นมีการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น และยังสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางด้านงานวิจัยที่ผสานเทคโนโลยีเข้าไปได้อีกด้วย
แนวโน้มใหม่ๆ เหล่านี้จะช่วยนำวงการการศึกษาไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น อุปกรณ์อย่าง Tablet, Smartphone และคอมพิวเตอร์นั้นจะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการเรียน และการเชื่อมต่อ Internet นั้นจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนจะไม่สามารถขาดได้อีกต่อไป
ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ก็มีบางโรงเรียนที่เริ่มนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้สอนนักเรียนแล้ว สื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ได้ถูกใช้เพื่อดึงความสนใจในห้องเรียนในแต่ละวิชาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน ในขณะที่คอร์สเรียนแบบออนไลน์เองก็มีบทบาทสำคัญในการที่ทำให้นักเรียนนสามารถเลือกเรียนสิ่งที่ตนเองสนใจได้ ในขณะที่หลายๆ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเองก็ได้เริ่มปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน IT เพื่อให้รองรับต่อการทำงานวิจัยใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนแล้ว
2. สร้างสถาบันการศึกษาที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ในขณะที่วิธีการในการเรียนรู้นั้นเปลี่ยนแปลงไป อีกหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษานั้นก็คือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัยให้กับเหล่าผู้เรียน ซึ่งการรักษาความปลอดภัยในสถาบันการศึกษานั้นจะต้องขยายจากเพียงแค่ความปลอดภัยในเชิงกายภาพไปสู่การปกป้องเชิงดิจิทัลด้วย ดังนี้
-
ระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะและเทคโนโลยีรู้จำใบหน้าซึ่งเชื่อมต่อกับระบบล็อคประตู: การผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกันจะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับอาจารย์, นักเรียน และเจ้าหน้าที่ได้ด้วยระบบ Authorized-based Access Control สำหรับสถาบันการศึกษา
-
ระบบ ID นักเรียนอัจฉริยะ, ระบบติดตามตำแหน่ง, ระบบติดตามรถบัสรับส่งนักเรียน: เพื่อติดตามว่านักเรียนอยู่ที่ไหน ทำให้อาจารย์และผู้ปกครองสามารถติดตามดูแลนักเรียนแต่ละคนได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
-
ระบบประกาศเสียงตามสายแบบ IP-based: เพื่อสื่อสารกับอาจารย์, นักเรียน และเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการตั้งค่าประกาศต่างๆ ล่วงหน้าได้
-
ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล: เพื่อปกป้องทุกคนในสถาบันการศึกษาจากภภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ และลดความเสี่ยงในการเกิดกรณีข้อมูลรั่วไหล
ด้วยจำนวนของอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายที่สูงขึ้น ในขณะที่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานแต่ละคนก็มีมูลค่ามากยิ่งขึ้นในแต่ละวัน ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งอนาคต
ประเด็นนี้อาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับวงการการศึกษาในเมืองไทยมากนัก เพราะเทคโนโลยีระบบกล้องวงจรปิดนั้นก็เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งสถาบันการศึกษาในไทยบางแห่งก็เริ่มทดสอบการต่อยอดไปสู่การนำ AI มาใช้ระบุตัวตนกันแล้ว สิ่งที่สถาบันการศึกษาในไทยยังขาดสำหรับการต่อยอดนี้ก็มักจะเป็นการขาดระบบ Data Center Infrastructure ที่เหมาะสม ซึ่งครอบคลุมถึงทั้งระบบ Server และ Storage สำหรับประมวลผลไฟล์วิดีโอจากระบบกล้องวงจรปิดนั่นเอง
3. สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน IT ใหม่เพื่อรองรับสถาบันการศึกษาแห่งอนาคต
ด้วยความหลากหลายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษาแห่งอนาคต ระบบ IT Infrastructure นั้นก็จะต้องถูกอัปเกรดครั้งใหญ่เพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆ เหล่านี้ แบนด์วิดธ์ของระบบ Wi-Fi นั้นก็จะต้องสูงพอที่จะรองรับการใช้งาน Application ใหม่ๆ เช่น AR, VR, วิดีโอ 360 องศา ได้ และนักเรียนหรืออาจารย์จำนวน 40-50 คนก็จจะต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายพร้อมๆ กันเพื่อเข้าถึงเนื้อหาเหล่านี้ภายในห้องเรียนได้ ในขณธเดียวกัน อุปกรณ์อย่างเช่น Smart Whiteboard ก็จะกลายเป็นอุปกรณ์ประจำห้องเรียนทุกห้องในอนาคต และการบันทึกเนื้อหาต่างๆ จาก Smart Whiteboard และกล้องบันทึกวิดีโอเองนั้นก็จะต้องใช้ระบบเครือข่ายความเร็วสูงเพื่อส่งเนื้อหาเหล่านี้ไปบันทึกที่ระบบกลางให้ได้
ทางด้าน Internet of Things (IoT) ภายในสถาบันการศึกษาสำหรับเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนและเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกคนในสถาบันการศึกษานั้น จำนวนของอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยตัวเองโดยไม่มีผู้ใช้งานนั้นก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างมหาศาลในเวลาอันสั้น ระบบเครือข่ายจะต้องครอบคลุมการเชื่อมต่อทั้งแบบมีสายและไร้สาย รองรับการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ด้วยวิธีการอันหลากหลาย และมีการควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายได้สำหรับอุปกรณ์แต่ละชนิดอย่างเฉพาะเจาะจง โดยความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่ายได้จากศูนย์กลาง, การตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างทั่วถึง และการเชื่อมระบบเข้ากับระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย และระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านความมั่นคงปลอดภัยนั้นจะกลายเป็นความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่ออนาคต อีกทั้งกระบวนการในการบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบเครือข่ายนั้นก็จะต้องเป็นไปแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน ไปจนถึงการกำหนด VLAN, ACL, QoS และการตั้งค่าอื่นๆ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล Log เพื่อตรวจสอบในภายหลังด้วย
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยเองก็ได้มีการจับมือกับเหล่าผู้ให้บริการโครงข่าย 4G เพื่อให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT เพื่อทดสอบโครงการใหม่ๆ และงานวิจัยใหม่ๆ กันบ้างแล้ว ในขณะที่ระบบบริหารจัดการเครือข่ายแบบอัตโนมัติและระบบ Wi-Fi อัจฉริยะเองก็เริ่มถูกนำมาใช้งานเพื่อตอบรับต่อความต้องการของเหล่านักเรียนและอาจารย์กันมากขึ้น และตอบโจทย์ด้านข้อกฎหมายของเมืองไทยในแง่มุมของ Security ไปด้วย
Alcatel Lucent Enterprise: เชื่อมโยงระบบเครอข่ายเพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพให้กับอาจารย์และนักเรียน
Alcatel Lucent Enterprise เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และการสื่อสารสำหรับองค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระดับองค์กรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถาบันการศึกษานั้นจะนำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับความมั่นคงปลอดภัยในระบบเครือข่าย พร้อมใช้งานได้อย่างมั่นใจ
Wired & Wireless Networking: Alcatel Lucent Enterprise มีทั้งเทคโนโลยีระบบเครือข่ายมีสายและไร้สาย ได้แก่ OmniSwitch Series และ OmniAccess Stellar Series ซึ่งสามารถถูกบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ผ่าน OmniVista และควบคุมนโยบายการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติได้ด้วย ClearPass Policy Management System อีกทั้งยังรองรับการเสริมความสามารถด้าน Location-based Services เพื่อสนับสนุนการติดตามตำแหน่งของอุปกรณ์และผู้ใช้งานที่ทำการเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นอีกแนวทางในการเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับเหล่านักเรียนและอาจารย์ภายในสถาบันการศึกษาได้
IoT Networking: ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและจัดการอย่างอัตโนมัติ Alcatel Lucent Enterprise จึงสามารถนำเสนอโซลูชันระบบเครือข่ายอัจฉริยะสำหรับสถาบันการศึกษาที่มาพร้อมกับระบบ Intelligent Fabric เพื่อรองรับการจัดการอุปกรณ์ IoT ได้อย่างอัตโนมัติ พร้อมทั้งยังมีระบบ Network Analytics ที่จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น และสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายได้อย่างทันท่วงที มั่นใจได้ว่าระบบเครือข่ายกำลังให้บริการอย่างมั่นคงและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานทุกคนในสถาบันการศึกษา
Rainbow: บริการ Cloud-based UC Service (UCaaS) เพื่อให้อาจารย์, นักเรียน, เจ้าหน้าที่ และผู้ปกครองมีช่องทางการสื่อสารของตนเองได้ ด้วยการนำเทคโนโลยี Contact Management, Presence, Chat, Audio/Video Call, Screen Sharing และ File Sharing มาผสานรวมกัน ระบบ Rainbow นี้ก็สามารถตอบโจทย์การสื่อสารภายในสถาบันการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในกันเอง หรือการสื่อสารระหว่างอาจารย์และนักเรียน และด้วย API ของ Rainbow นั้นก็ทำให้ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Application อื่นๆ อย่างเช่นระบบบริหารจัดการห้องเรียน หรือระบบ E-Learning ที่มีอยู่ได้ ทำให้การสื่อสารนั้นเกิดขึ้นได้จากช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน
เกี่ยวกับ Alcatel Lucent Enterprise
ด้วยนวัตกรรมและความทุ่มเทเพื่อให้ลูกค้าประสบความสำเร็จมาตั้งแต่อดีตนั้น ก็ได้ทำให้ ALE ภายใต้แบรนด์ Alcatel-Lucent Enterprise นี้กลายเป็นผู้ให้บริการหลักทางด้านระบบเครือข่าย, การสื่อสาร และบริการสำหรับองค์กรให้แก่ลูกค้าทั่วโลกกว่า 830,000 ราย ALE นั้นมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก และให้ความสำคัญกับทุกภูมิภาคด้วยพนักงานมากกว่า 2,200 คนและพันธมิตรมากกว่า 2,900 รายใน 50 ประเทศทั่วโลก https://www.al-enterprise.com