ยกระดับการสื่อสารผ่าน Video Call ไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี AR จาก Vuforia Chalk

Video Call เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติอย่างในขณะนี้ แม้การคุยผ่านวิดีโอจะช่วยให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับสารเข้าใจกันได้ง่ายยิ่งขึ้น PTC ผู้ให้บริการนวัตกรรม IT สำหรับอุตสาหกรรมได้ยกระดับการสื่อสารนี้ไปอีกขั้น ด้วยการผสานเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เข้าไป ซึ่งช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารให้เหลือน้อยที่สุด ตอบโจทย์การสื่อสารที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูงอย่างการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานจากระยะไกล หรือการฝึกสอนงานออนไลน์ เป็นต้น

Video Call ยังไม่ใช่เทคโนโลยีการสื่อสารระยะไกลที่ดีที่สุด

ในช่วงสถานการณ์ที่เชื้อ COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโรคอยู่ในขณะนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะซึ่งหน้าเป็นมาตรการที่ดีที่สุดที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรค เพื่อให้พนักงานงานยังคงทำงานและติดต่อสื่อสารหากันได้อย่างไม่ติดขัด หลายองค์กรจึงนำเทคโนโลยี Video Conference หรือ Video Call ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านทางวิดีโอเข้ามาใช้ การสื่อสารรูปแบบนี้ นอกจากจะช่วยลดระยะห่างระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังแล้ว ยังช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารลงอีกด้วย เนื่องจากการเห็นหน้าตาอีกฝ่ายและการใช้ภาษาภาย ทำให้การสื่ออารมณ์และส่งความหมายมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

แม้ว่า Video Call จะเป็นเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือประชุมออนไลน์สำหรับหลายๆ องค์กร แต่ภายใต้การสื่อสารบางประเภทที่ต้องการความแม่นยำและความถูกต้องที่สูง เช่น การดีไซน์ผลิตภัณฑ์ สถาปัตยกรรม หรือการดูแลเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สิน การเห็นภาพวิดีโออย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ถ้าผู้ส่งและผู้รับสามารถแชร์วิดีโอและขีดเขียนลงบนวิดีโอเพื่อให้คำแนะนำแบบเรียลไทม์ได้ ย่อมช่วยเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสารให้ถึงขีดสุด จึงเป็นที่มาของการที่ PTC นำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เข้าไปผสานรวมกับโซลูชัน Video Call

Vuforia Chalk: ยกระดับ Video Call ไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี AR

Vuforia Chalk คือ โซลูชัน Video Call ของ PTC ที่ต่อยอดด้วยการผสานเทคโนโลยี AR เข้าไป รองรับการติดต่อสื่อสารพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาหรือการโทรผ่านวิดีโอ เช่นเดียวกับ Collaboration Tools ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรอย่าง Zoom, Microsoft Teams หรือ Cisco Webex แต่จะเน้นใช้งานบนอุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตเป็นหลัก เนื่องจากต้องการความสะดวกในการเคลื่อนที่และต้องใช้หน้าจอแบบทัชสกรีนในการขีดเขียนเพื่อสร้างวัตถุลงบนวิดีโอที่แชร์ระหว่างกันอีกด้วย

ขั้นตอนการสื่อสารผ่าน Video Call และใช้เทคโนโลยี AR

1. เริ่มต้นการสื่อสารด้วยการสร้างเซสชัน ผู้รับสามารถเข้าร่วมเซสชันได้ผ่านทางการกรอกโค้ดหรือเปิดลิงค์เชิญที่ส่งมายังอีเมล

2. หลังจากที่เข้ามาในเซสชันแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะให้ใครเป็นผู้แชร์วิดีโอ จากนั้นระบบจะให้เจ้าของวิดีโอเลื่อนสมาร์ตโฟน (หรือแท็บเล็ต) เข้าออกตรงตำแหน่งที่ต้องการเริ่มใช้เทคโนโลยี AR เพื่อเก็บข้อมูลตำแหน่งต่างๆ บนวิดีโอ

3. ทั้งสองฝ่ายสามารถขีดเขียน วาดรูป หรือทำสัญลักษณ์ลงบนวิดีโอที่แชร์ได้ทันที (สิ่งที่วาดลงไปจะมีสีที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่าง สีเหลืองจะเป็นของผู้ใช้ท่านหนึ่ง และสีฟ้าจะเป็นของผู้ใช้อีกท่านหนึ่ง) สิ่งที่วาดลงบนวิดีโอจะผูกติดกับวัตถุจริง แม้จะเลื่อนกล้องวิดีโอ สิ่งที่วาดก็ยังคงผูกติดกับวัตถุ ไม่เลื่อนตามไปด้วย ในกรณีที่เลื่อนกล้องวิดีโอจนหลุดกรอบ จะแสดงลูกศรเพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่วาดอยู่ตำแหน่งด้านไหนของหน้าจอวิดีโอ

4. ทุกการวาดรูปบนวิดีโอ จะถูกทำ Snapshot เก็บไว้เพื่อดูเป็นรายงานย้อนหลังได้ว่าเริ่มต้นอย่างไรและจบลงอย่างไร

ดูวิดีโอขั้นตอนการใช้งานด้านล่างเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

คุณสมบัติเด่นของ Vuforia Chalk ได้แก่

  • เทคโนโลยี AR ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเพื่อให้การสื่อสารจากระยะไกลมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
  • เป็นโซลูชันแบบ Cloud-based เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงบนอุปกรณ์พกพาก็เริ่มใช้งานได้ทันที
  • รองรับการใช้งานบน Apple iOS และ Android
  • การสื่อสารผ่าน Video Call และ AR ใช้ Bandwidth ต่ำ โดยเฉลี่ยเพียง 800 Kbps เท่านั้น
  • เข้ารหัสการสื่อสารแบบ End-to-end เพื่อป้องกันการถูกดักฟัง
  • โทรหาพนักงานด้วยกันได้ง่ายเพียงแค่กดเลขรหัสของพนักงาน หรือเข้าร่วมประชุมผ่านโค้ด/ลิงค์ที่ส่งมายังอีเมล

ลดความคลาดเคลื่อนในการซัพพอร์ตและฝึกสอนด้วย Video Call ให้เหลือน้อยที่สุด

Use Case #1: การตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงาน

ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ขณะนี้ การเดินทางข้ามจังหวัดหรือข้ามประเทศเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก การตรวจสอบ ดูแล และซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่แต่ก่อนสามารถเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาที่โรงงานได้ ตอนนี้กลับต้องใช้วิธีคุยผ่าน Video Call แทน ด้วยเทคโนโลยี AR ของ Vuforia Chalk ที่ทำให้ช่างสามารถขีดเขียนและวาดรูปลงบนวิดีโอได้ จะช่วยเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำในการปฏิบัติงานของผู้ที่ดำเนินงานแทน ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย

Use Case #2: การอบรมหรือฝึกสอนออนไลน์

การเรียนรู้ให้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เกิดจากความเข้าใจที่ชัดเจนและการได้ลงมือปฏิบัติ เทคโนโลยี AR บนการอบรมหรือฝึกสอนออนไลน์ผ่าน Video Conference ของ Vuforia Chalk ช่วยให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้และแสดงตัวอย่างการทำงานได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ผู้เรียนก็สามารถวาดรูปหรือขีดเขียนเพื่ออธิบายสิ่งที่ตนเข้าใจให้ผู้สอนทราบได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน ทำให้การเรียนรู้ผ่านการจำลองการปฏิบัติงานแบบเสมือนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Use Case #3: การออกแบบผลิตภัณฑ์

แน่นอนว่า Video Conference เป็นเครื่องมือสำคัญในการพูดคุยหรือประชุมเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์แบบออนไลน์ เพราะสามารถเลื่อนกล้องไปมาให้เห็นตัวผลิตภัณฑ์ได้ครบ 360 องศา เทคโนโลยี AR ของ Vuforia Chalk ช่วยให้การคอมเมนต์ต่างๆ บนผลิตภัณฑ์ทำได้ง่ายผ่านการวาดรูปลงบนวิดีโอที่แสดงตัวผลิตภัณฑ์เลย ทำให้มั่นใจว่าการสื่อสารจะไม่ผิดพลาด และผลิตภัณฑ์จะได้รับการปรับแก้อย่างถูกต้องตรงจุด

นอกจากนี้ ในอนาคต Vuforia Chalk จะรองรับการใช้งานร่วมกับ RealWear HMT-1 Headset ซึ่งเป็นแท็บเล็ตแบบ Hand Free ที่ใช้สวมศีรษะ เพื่อให้มือทั้งสองของผู้ใช้มีอิสระอย่างแท้จริง เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ทดลองใช้ Vuforia Chalk ฟรี 3 เดือน ไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดใดๆ

ACA Pacific Group Co.,Ltd. เป็นผู้จัดจำหน่ายโซลูชัน Vuforia Chalk ของ PTC อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ออกโปรโมชันพิเศษสำหรับองค์กรที่สนใจใช้งาน Vuforia Chalk สามารถลงทะเบียนเพื่อขอทดลองใช้งานได้ฟรี 3 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดใดๆ

พิเศษ!! ผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อขอทดลองใช้งาน 30 ท่านแรก รับบัตร Starbucks มูลค่า 100 บาททันที

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Vuforia Chalk ติดต่อ ACA Pacific (Thailand) ได้ที่อีเมล sales@acagroup.com หรือโทร 02-760-2500

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

โอกาสของคุณมาถึงแล้ว!!! หากคุณคือสุดยอดนักนวัตกรรมประกันภัย ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และอยากพิชิตรางวัลระดับประเทศ…

OIC InsurTech Award 2024 เปิดรับสมัคร สตาร์ทอัพ นักประกันภัยรุ่นใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมการประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านการประกันภัย บนเวทีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี ในหัวข้อ “Limitless Insurance …