Black Hat Asia 2023

Udacity เปิดตัวบริษัทน้องใหม่ Voyage สตาร์ทอัพรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

Udacity สตาร์ทอัพเว็บคอร์สเรียนออนไลน์ประกาศตั้งบริษัทน้องใหม่ Voyage โดยมีเป้าหมายในการสร้างบริการแท็กซี่ราคาถูกด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

ไอเดียหลักของ Voyage นั้นคือการให้บริการรับส่งผู้โดยสารในราคาถูกด้วยรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติซึ่งสร้างจากการติดตั้งเซนเซอร์และซอฟต์แวร์ของบริษัทลงไปยังรถยนต์ทั่วไป โดยเป้าหมายเบื้องต้นคือการสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ลูกค้าสามารถสั่งการรถยนต์ด้วยเสียง เช่นการสั่งให้รถยนต์เริ่มการเดินทางหรือหยุด และการเล่นเพลงบนรถ โดยทางบริษัทได้รับการอนุญาตให้ใช้รถยนต์คลับเคลื่อนอัตโนมัติรับส่งผู้โดยสารได้แล้วในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

เป็นที่น่าเสียดายว่า Sebastian Thrun ผู้ร่วมก่อตั้ง Udacity ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโปรเจครถบนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Google ที่ถูกขนาดนามว่าเป็น “father of the self-driving car” นั้นปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับ Voyage ด้วยเหตุผลส่วนตัว อย่างไรก็ตาม Voyage จะนำทีมโดย Oliver Cameron VP ของ Udacity ผู้เป็นอีกหนึ่งในหัวหอกของคอร์ส Self-Driving Car Engineer Nanodegree เช่นกัน

เมื่อ 6 เดือนก่อน Udacity เปิดตัวคอร์ส Self-Driving Car Engineer Nanodegree ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเพื่อสร้างวิศวกรทางด้านนี้เข้าสู่ตลาด และซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สของ Udacity นั้นประสบความสำเร็จในการนำรถยนต์ไร้คนขับวิ่งบนถนน El Camino Real อันวุ่นวายของ Bay Area รวมระยะทาง 31 ไมล์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ Oliver Cameron ในการเริ่มโปรเจค Voyage แม้โปรเจคนี้จะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกสร้างโดยนักเรียนของ Udacity ก็ตาม

แม้ตลาดรับส่งผู้โดยสารนี้จะมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Uber อยู่แล้ว แต่จากการสำรวจล่าสุดของ Statista พบว่าเพียงร้อยละ 30 ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐเท่านั้นที่ใช้บริการเรียกรถโดยสาร จึงอาจนับได้ว่า Uber นั้นยังไม่ได้ชนะอย่างเต็มตัวเท่าไรนัก และ Oliver Cameron เชื่อว่า Voyage จะเข้ามาเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ถูกและสะดวกสะบายให้กับผู้โดยสารในอนาคต

 

ที่มา: http://www.businessinsider.com/voyage-autonomous-taxi-udacity-2017-4


Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

AIS Business เดินหน้าปี 2023 พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัลของทุกองค์กรไทย พลิกโฉมธุรกิจให้ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอาจถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องของสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ความไม่แน่นอนในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ จนกระทบมาถึงเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ ทุกองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปในอนาคตอันใกล้ AIS Business ในฐานะ Digital Service …