Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

VMware Cloud Disaster Recovery (VCDR): ทางเลือกในการวางระบบ DR ที่รวดเร็วและง่ายดาย พร้อมให้บริการแล้วโดย Yip In Tsoi

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีนั้นได้กลายเป็นหัวใจสำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาดในทุกอุตสาหกรรมไปแล้ว และการปกป้องเทคโนโลยีและข้อมูลที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ก็คือการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจด้วยอีกทาง การทำ Disaster Recovery เพื่อสร้างระบบสำรองให้กับธุรกิจจึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจทุกขนาด ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป

เพื่อช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถออกแบบ วางระบบ และใช้งานระบบ Disaster Recovery หรือ DR ได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายดาย VMware และ Yip In Tsoi จึงร่วมมือกันเพื่อนำเสนอโซลูชัน VMware Cloud Disaster Recovery ซึ่งเป็นบริการ Cloud DR ในแบบ SaaS ที่ใช้งานได้ง่าย คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และรองรับระบบได้ทุกขนาด ทำให้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้งาน VMware อยู่ก็สามารถทำ DR ได้อย่างง่ายดายในเวลาอันรวดเร็ว

4 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบระบบ Disaster Recovery สำหรับ VMware

ในการออกแบบระบบ Disaster Recovery หรือ DR ให้กับ Data Center ที่มีการใช้งาน VMware vSphere เป็นหลักนั้น จะมี 4 ประเด็นที่ทุกธุรกิจต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ดังนี้

  1. การ Replicate ข้อมูล ธุรกิจจะสามารถ Replicate ข้อมูลข้ามสาขาได้อย่างไรสำหรับระบบที่มี VM จำนวนมาก และแต่ละ VM ก็มีความสำคัญที่แตกต่างกัน
  2. การกู้คืนระบบ ความซับซ้อนในการกู้คืนระบบ และความเร็วในการกู้คืนระบบนั้น จะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการบรรเทาความเสียหายของธุรกิจ
  3. ระบบสำรองสำหรับการทำ DR จะออกแบบระบบสำรองอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน และยังคงสามารถทดสอบใช้งานกู้คืนระบบได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ระบบต้องพร้อมสำหรับการใช้งานทดแทนระบบหลักได้ทุกเมื่อ
  4. การเชื่อมต่อทำงานร่วมกันกับระบบเดิม ทั้งในแง่ของการเชื่อมต่อเครือข่าย, การบังคับใช้นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยให้เทียบเท่ากัน ไปจนถึงการกู้ระบบจากระบบสำรองกลับมายังระบบหลัก ทั้งหมดนี้ควรจะต้องเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายและไร้รอยต่อ

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ในตลาดจะมีโซลูชันด้าน DR ที่หลากหลาย แต่หากจะมองหาโซลูชันที่สามารถรองรับปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้ให้ได้เป็นอย่างดีนั้นก็ยังถือเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบระบบสำรองและการเชื่อมต่อระบบระหว่างกัน ที่ส่วนใหญ่แล้วผู้ดูแลระบบ IT ขององค์กรมักต้องเป็นผู้รับผิดชอบออกแบบระบบเหล่านี้ทั้งหมดด้วยตนเอง ซึ่งมักเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูง

ด้วยเหตุนี้ VMware จึงได้พัฒนาบริการ SaaS สำหรับการทำ DR ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้ภาคธุรกิจองค์กรได้นำไปใช้งานอย่างง่ายดาย ให้การทำ DR กลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจองค์กรทุกขนาดสามารถทำได้อย่างไม่ซับซ้อน ภายใต้ชื่อบริการ VMware Cloud Disaster Recovery หรือ VCDR นั่นเอง

VMware Cloud Disaster Recovery: การทำ DR ที่ใช้งานได้ง่ายในแบบ SaaS

VMware นั้นได้เอาชนะความท้าทายของความซับซ้อนในการทำ DR สำหรับธุรกิจองค์กรให้กลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยการเปิดตัวบริการ VMware Cloud Disaster Recovery หรือ VCDR ที่เป็นบริการ Cloud ในรูปแบบ SaaS สำหรับการทำ DR โดยเฉพาะ ด้วยวิธีการใช้งานที่ง่ายดายดังนี้

Credit: VMware
  1. ติดตั้งซอฟต์แวร์ Connector สำหรับการ Replicate ข้อมูลจาก vSphere ภายในองค์กรขึ้นไปสู่ VCDR ซึ่งอยู่บน VMware Cloud on AWS
  2. กำหนดนโยบายการ Replicate ข้อมูลสำหรับแต่ละ VM ซึ่งอาจมีความถี่ในระดับที่แตกต่างกัน
  3. ข้อมูลของ VM จะถูกจัดเก็บอยู่บน Scale-Out Cloud Storage ในบริการ VCDR โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดเก็บ เพื่อให้การกู้คืนหรือนำมาใช้งานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด
  4. สามารถทดสอบการกู้คืนระบบ โดยผู้ดูแลระบบสามารถ Login เข้าไปยัง VCDR เพื่อสั่งทดสอบการกู้คืน (Test failover) โดยระบบ VCDR จะนำเอาทรัพยากรบน VMware Cloud on AWS มาใช้ประมวลผล โดยคิดค่าใช้จ่ายตามชั่วโมงการใช้งานจริง
  5. ในกรณีที่ระบบหลักมีปัญหา ผู้ดูแลระบบสามารถ Login เข้าไปยัง VCDR และสั่งให้ทำการ Failover ขึ้นไปบน VCDR และใช้งานระบบต่อเนื่องได้ทันที โดยระบบจะนำทรัพยากรบน VMware Cloud on AWS มาใช้ประมวลผลข้อมูล VM ที่ถูกจัดเก็บอยู่บน VCDR โดยตรง
  6. เมื่อระบบหลักถูกซ่อมแซมแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ผู้ดูแลระบบสามารถ Login เข้าไปยัง VCDR และสั่งให้ทำการ Failback ส่งข้อมูลกลับมายังระบบหลัก และเปิดใช้งานระบบหลักแทนเมื่อข้อมูลถูกส่งกลับมาครบถ้วนแล้ว

VCDR นี้สามารถใช้งานได้ทั้งในกรณีที่ต้องการทำ DR ตามปกติ และการวางแผนรับมือกับ Ransomware สำหรับธุรกิจองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยตัวระบบจะมีการทำ Compliance เพื่อตรวจสอบข้อมูล VM ที่สำรองขึ้นไปบน Cloud อย่างต่อเนื่อง ให้มั่นใจว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถใช้งานกู้คืนระบบได้ทันทีที่ต้องการ

ในแง่ของค่าใช้จ่าย VCDR นี้จะมีการคิดค่าใช้จ่ายในแบบ Cloud ตามปริมาณการใช้งานจริง ทั้งในส่วนของการจัดการทำ Replication, DR และการใช้ทรัพยากรในกรณีที่ต้องทำ Failover ระบบ ทำให้องค์กรไม่ต้องลงทุนจัดซื้อและติดตั้ง Hardware หรือ Software ด้วยตนเองแต่อย่างใด ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นเป็นอย่างมากสำหรับระบบที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจองค์กรปัจจุบันที่มีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ

อย่างไรก็ดี บริการ VMware Cloud on AWS ที่ VCDR ใช้นั้นยังไม่มีศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย ดังนั้นทุกการ Replicate ข้อมูลและการกู้คืนระบบนั้นจะเกิดขึ้นบน Cloud Data Center ในต่างประเทศเสมอ ซึ่งผู้ดูแลระบบ IT สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ AWS Region ใด

ความง่ายดายจากระบบที่ไม่ซับซ้อน และการลงทุนที่ยืดหยุ่นเริ่มต้นได้สำหรับธุรกิจทุกขนาดนี้เอง ที่ทำให้ VCDR นั้นได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งสำหรับธุรกิจองค์กรและ SME ที่มองหาแนวทางในการปกป้องข้อมูลและเสริมสร้างความมั่นคงทนทานให้กับระบบ IT Infrastructure สำคัญของธุรกิจ

แน่นอนว่า Yip In Tsoi เองก็พร้อมนำบริการ VCDR นี้มาสู่ธุรกิจองค์กรไทยแล้ว โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อทีมงาน Yip In Tsoi เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือทำการทดสอบระบบได้ทันที

สนใจโซลูชันระบบ VMware Cloud Disaster Recovery สามารถติดต่อทีมงาน Yip In Tsoi ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน VCDR หรือโซลูชันอื่นๆ ของ VMware สามารถติดต่อทีมงาน Yip In Tsoi ได้ทันทีที่โทร 02-353-8600 ต่อ 3210 หรืออีเมล์ yitmkt@yipintsoi.com

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย