การปรับระบบ IT Infrastructure เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกยุค Multi-Cloud และ Hybrid Working นั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ฝ่าย IT ของธุรกิจองค์กรทุกแห่งกำลังให้ความสำคัญ
Windows Server 2022 ที่ได้เข้าสู่สถานะ GA เมื่อปลายปี 2021 ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหลักในการวางระบบ IT Infrastructure ภายในองค์กรเพื่อบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อระบบ IT ไปจนถึงเครื่อง
Client ภายในองค์กร
และสำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจอัปเกรดระบบไปสู่ Windows Server 2022 อย่างเต็มตัว Dell Technologies ก็พร้อมตอบโจทย์นี้ด้วย Dell PowerEdge Servers 15G ที่รองรับการติดตั้ง Windows Server 2022 ได้อย่างสมบูรณ์
ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความโดดเด่นของ Windows Server 2022 ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจองค์กร พร้อมความสามารถของ Dell PowerEdge Servers 15G ที่จะช่วยเสริมให้ระบบ IT Infrastructure ของธุรกิจองค์กรมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

Windows Server 2022: ตอบโจทย์การวางระบบ IT Infrastructure สำหรับธุรกิจองค์กรแห่งอนาคตได้อย่างครบถ้วน
Windows Server 2022 เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ Server ระดับธุรกิจองค์กรล่าสุดจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การวางระบบ IT Infrastructure ในยุค Multi-Cloud และ Hybrid Work โดยเฉพาะ พร้อมเสริมความมั่นคงปลอดภัยครั้งใหญ่ ซึ่งโดยรวมแล้วมีจุดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้.

1. Advanced Multilayer Security
ด้วยแนวคิด Secured-core Server อุปกรณ์ Server จากพันธมิตร OEM ของ Microsoft นั้นจะได้รับการรับรองถึงความสามารถทางด้าน Security ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ Hardware, Firmware และ Driver เช่น
- Hardware Root-of-Trust ด้วยการใช้ TPM 2.0 จึงทำให้สามารถตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยและความถูกต้องของชุดโค้ดที่ใช้ทำงาน รวมถึงทำการเข้ารหัสข้อมูลได้อย่างมั่นใจ
- Firmware Protection มีระบบสำหรับการสอบทานกระบวนการบูทระบบด้วย Dynamic Root of Trust for Measurement (DRTM) และทำการแบ่งส่วนการเข้าถึงหน่วยความจำของ Driver ด้วย Direct Memory Access (DMA) Protection
- UEFI Secure Boot ปกป้องการโจมตี Server จาก Rootkit ด้วยการตรวจสอบและใช้งานเฉพาะ Firmware ที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิตเท่านั้น
- Virtualization-based Security (VBS) และ Hypervisor-based Code Integrity (HVCI) ช่วยปกป้องระบบ Virtualization ด้วยเทคโนดลยีที่หลากหลาย ทั้งการแบ่งส่วนหน่วยความจำ, การทำ Credential Guard, การตรวจสอบความถูกต้องของชุดโค้ดที่ใช้ทำงาน และการทำ Kernel Data Protection (KDP)
นอกจากนี้ Windows Server 2022 ยังมาพร้อมกับแนวคิด Secure Connectivity ที่ช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับทุกการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ได้แก่
- Transport ปรับให้ HTTPS และ TLS 1.3 ถูกเปิดใช้งานเป็น Default
- Secure DNS ใช้ DNS-over-HTTP เพื่อเข้ารหัสการทำ Name Resolution
- SMB เข้ารหัสข้อมูลภายใน Cluster ของ SMB บน Storage Spaces Direct
- SMB Direct & RDMA Encryption ทำการเข้ารหัสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบ Storage เพิ่มเติมเพื่อความมั่นคงปลอดภัย
- SMB over QUIC ใช้ QUIC แทน TCP ในการให้บริการ SMB พร้อม TLS 1.3 เพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยไปพร้อมกัน
2. Hybrid Capabilities with Azure Arc
Windows Server 2022 ยังได้เสริมความสามารถด้าน Hybrid Cloud เพื่อตอบรับต่อโลกยุค Hybrid Multi-Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีความสามารถที่น่าสนใจเช่น
- Azure Arc Enabled Windows Server
สามารถบริหารจัดการและเชื่อมต่อ Windows Server เข้ากับ Microsoft Azure เสมือนเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของ Azure ได้โดยตรง
- Windows Admin Center
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการเพิ่มเติมโดยเพิ่มความสามารถในส่วนของการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Secured-Core และอื่นๆ อีกมากมาย
- Azure Automanage – Hotpatch
ความสามารถใหม่บน Windows Server 2022 Datacenter: Azure Edition ที่จะช่วยให้สามารถอัปเดต Windows Server Azure Edition VM ได้โดยไม่ต้องทำการ Reboot ระบบ

3. Flexible Application Platform
ภายใน Windows Server 2022 นี้ได้มีการเสริมความสามารถใหม่ๆ ให้ระบบสามารถรองรับ Workload ใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น
- Performance รองรับการใช้หน่วยประมวลผล Intel Ice Lake สามารถใช้งานหน่วยความจำได้ 48TB, 64 CPU socket และ 2048 logical core ได้
- Windows Container ลดขนาดของ Windows Container Image ลงถึง 40% และบูทเร็วขึ้น 30%
- Azure Active Directory with group Managed Services Accounts (gMSA) สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีการทำ Domain Joining สำหรับ Container Host และเพิ่มการรองรับ Microsoft Distributed Transaction Control (MSDTC) และ Microsoft Message Queuing (MSMQ)
- Kubernetes รองรับการบริหารจัดการร่วมกับ Kubernetes ได้ง่ายขึ้น รองรับการทำ Node Configuration, IPv6 และการทำงานร่วมกับ Calico เพื่อให้กำหนด Network Policy ได้จากศูนย์กลาง
- Windows Admin Center เพิ่มความสามารถในการทำ Containerize ให้กับ .NET Application ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าความสามารถใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาอย่างมากมายบน Windows Server 2022 นี้ สามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรทำงานได้อย่างสะดวก ยืดหยุ่น และมั่นใจยิ่งขึ้น ทั้งด้วยความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เพิ่มเข้ามา, การตอบโจทย์ด้าน Hybrid Cloud และการรองรับ Workload ใหม่ๆ ในองค์กรได้อย่างดียิ่งขึ้น
Dell PowerEdge Servers 15G: วางระบบ IT Infrastructure ที่ยืดหยุ่น, คุ้มค่า และมั่นคงปลอดภัย
ในส่วนของ Hardware ทาง Dell Technologies ก็ได้มีการเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปใน Dell PowerEdge Servers 15G อย่างหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์สำหรับเหล่าผู้ดูแลระบบ IT ในการบริหารจัดการ และภาคธุรกิจที่ต้องการลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน ด้วยการชูแนวคิด 3 ประการ ได้แก่
1. Adaptive Compute – การรองรับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องแม่ข่าย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย
อุปกรณ์ในปัจจุบันต้องสามารถรองรับ Workload หรือการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ดังนั้น เครื่องแม่ข่ายที่นำมาใช้ ต้องสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย และ รองรับในปริมาณที่ทำให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น CPU รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ, ความจุของหน่วยเก็บความจำ RAM ที่ใส่ได้เพิ่มมากขึ้น, การรองรับ GPU ที่เพิ่มมากขึ้น ซี่ง GPU เป็นอุปกรณ์ที่หลายๆ Workload ต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงระบบการจัดการความร้อนที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อนด้วยของเหลว หรือ พัดลมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies นั้นได้ออกแบบเครื่องแม่ข่ายให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดตามที่กล่าวมาข้างต้น

2. Autonomous Compute Infrastructure – ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยเหลือในการใช้งาน
ระบบอัตโนมัติเริ่มแพร่หลายเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอีกด้วย ในปัจจุบัน
Dell Technologies จึงมีระบบอัตโนมัติในหลากหลายรูปแบบเพื่อเข้ามาช่วยทำให้การดูแลระบบเป็นไปอย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ส่วนแรกจะกล่าวถึงระบบจัดการที่ใช้งานควบคู่ไปกับเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies คือ Dell OpenManage Enterprise ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานดังนี้
- Day 0 เริ่มตั้งแต่ติดตั้งเครื่อง (Day 0) มีระบบช่วยในการติดตั้ง และทำการกระจายการติดตั้งไปที่เครื่องอื่นๆแบบอัตโนมัติ
- Day 1 หลังจากการติดตั้งเรียบร้อยและเริ่มการใช้งาน ก็มีระบบช่วยในการดูแลจัดการ (Monitoring), การเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ (Inventory) เพื่อช่วยตรวจสอบว่าในเครื่องมีอุปกรณ์ใด รวมถึงการใช้งานเป็นเช่นไร
- Day 2 ++ หลังจากใช้งานไป มีระบบช่วยในการช่วย Update ต่างๆ จะทำการช่วยเช็คว่าระบบที่ใช้งานมีตัวใดต้องทำการ Update Firmware ของอุปกรณ์นั้นๆหรือไม่, สามารถเช็คและทำการส่งสัญญาณเตือนเมื่อการรับประกันใช้ถึงเวลาสิ้นสุด รวมถึงการส่งปัญหาไปที่หน่วยให้ความช่วยเหลือ (Tech Support) แบบอัตโนมัติ ทำให้การเปิดเคสปัญหา ทำได้อย่างง่ายดาย, มีประสิทธิภาพและรวดเร็วอีกด้วย

ส่วนถัดมาคือระบบประสานงานกับหน่วยปฏิบัตการ (Operating Systems) และระบบการจัดการอื่นๆ (Management Tools) เพื่อช่วยเหลือในการบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายผ่านหน้าบริหารจัดการของระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่เพียง Console เดียว เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการบริหารจัดการ รวมถึงยังสามารถใช้งานคุณสมบัติ (Feature) ต่างๆ ผ่านหน้าระบบจัดการได้อย่างมีประสิทธภาพ และมีหลากหลายตัวดังนี้
- Dell OpenManage Integration with Windows Admin Center ส่วนเชื่อมต่อและประสานงานกับ Windows Admin Center เพื่อช่วยเหลือในการดูแลและจัดการระบบปฏิบัติการ Windows แม้กระทั่ง Windows Server 2022 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดของ Microsoft ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้
- Dell OpenManage Integration with VMware vCenter ส่วนเชื่อมต่อและประสานงานกับ VMware vCenter เพื่อช่วยเหลือในการดูแลและจัดการเครื่องแม่ข่ายผ่านหน้าจอ VMware vCenter
- Dell OpenManage Ansible Modules ส่วนเชื่อมต่อและประสานงานกับ RedHat Ansible เพื่อช่วยในเรื่องระบบอัตโนมัติต่างๆ และทำให้ระบบสามารถรองรับการทำงานแบบ Infrastructure as Code ได้อีกด้วย
- Dell OpenManage Integration with ServiceNow ส่วนเชื่อมต่อและประสานงานกับโปรแกรม ServiceNow ซึ่งช่วยเหลือในการเปิดเคส แก้ปัญหาระบบต่างๆ และยังสามารถเชื่อมต่อไปยัง Dell SupportAssist เพื่อทำการเปิดเคสไปที่หน่วยให้ความช่วยเหลือ (Tech Support) ได้อย่างอัตโนมัติ
- Dell OpenManage Enterprise RESTful APIs รองรับการเขียนชุดคำสั่งผ่านภาษา RESTful APIs ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
- Dell CloudIQ ระบบการดูแลจัดการอัจฉริยะผ่านระบบ Cloud ซึ่งผู้ใช้งานไม่ต้องมีเครื่องแม่ข่ายในการลงระบบนี้ เพียงเปิดระบบ Call Home ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลความผิดปกติไปที่ Dell TechSupport ก็สามารถเปิดใช้งานระบบ Dell CloudIQ จุดเด่นอยู่ที่สามารถใช้งานผ่านทั้งหน้า Web และผ่าน Application บนมือถืออีกด้วย

3. Proactive Resilience – ระบบรักษาความปลอดภัยและการป้องกันเชิงรุก
ระบบรักษาความปลอดภัยและการป้องกันเป็นสิ่งที่ต้องตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีการโจรกรรมข้อมูลและทำให้ระบบและธุรกิจมีความเสียหาย เราจึงต้องมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันเป็นอย่างมาก Dell Technologies จึงมีระบบที่ติดตั้งมาให้พร้อมกับเครื่องแม่ข่าย เพื่อป้องกันและจัดการความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น
- Secure Component Verification ระบบที่ช่วยให้สามารถมั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ออกจากโรงงานผลิตของ Dell ไม่ได้มีการฝังโปรแกรมหรือมีการแก้ไขโปรแกรมก่อนถึงมือลูกค้า
- iDRAC Telemetry Streaming and Analytics Solutions ระบบทำงานส่งข้อมูลการทำงาน (Log) ออกไปให้ระบบภายนอกทำการประมวลผลและวิเคราะห์ระบบต่างๆ
- System Lockdown ผู้ดูแลระบบสามารถปิดไม่ให้มีการ Update Firmware ต่างๆของระบบได้
ที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงบางส่วนของระบบการรักษาความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่าย Dell Technologies เท่านั้น จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies นั้นสามารถตอบโจทย์และมีระบบช่วยเหลือ จัดการให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นใจในระบบความปลอดภัยสูงสุด

สำหรับ Dell PowerEdge Servers 15G รุ่นที่ผ่านการรองรับการทำงานร่วมกับ Windows Server 2022 ได้นั้น สามารถตรวจสอบได้ที่ https://dl.dell.com/manuals/all-products/esuprt_solutions_int/esuprt_solutions_int_solutions_resources/s-solution-resources_white-papers2_en-us.pdf
สนใจโซลูชัน Windows Server 2022 และ Dell PowerEdge Servers 15G ติดต่อทีมงาน
Dell Technologies ประจำประเทศไทยได้ทันทีที่ อีเมล DellTechnologies@kkudos.com โทร 090-949-0823 (วศิน)